แร่ธาตุสำคัญเป็นวัตถุดิบที่จำเป็นสำหรับเศรษฐกิจคาร์บอนหมุนเวียนแห่งอนาคต
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โรหิเตช ดาห์วัน ซีอีโอของสภาระหว่างประเทศด้านการทำเหมืองและโลหะ (International Council on Mining and Metals: ICMM) ได้ให้สัมภาษณ์ในการเสวนาก่อนการประชุมสุดยอดแร่แห่งอนาคต (Future Minerals Summit: FMS) ว่า อุตสาหกรรมเหมืองทั่วโลกกำลังเผชิญกับ “ทศวรรษที่สำคัญที่สุด” ในขณะที่ทั่วโลกเริ่มเปลี่ยนผ่านจากเชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่พลังงานหมุนเวียน
คุณดาห์วันเน้นย้ำว่า การทำเหมืองจะเป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ เนื่องจากโลหะที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม รวมถึงในแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า กำลังเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นอย่างมาก
คุณดาห์วันยืนยันอย่างหนักแน่นว่าจะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดแร่แห่งอนาคต ณ กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย พร้อมกับเน้นย้ำถึงสารที่เรียบง่ายของ ICMM นั่นคือ “การทำเหมืองอย่างมีหลักการ” เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดจากการทำเหมือง รวมถึงลดอันตรายที่มีต่อคนและสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด คุณดาห์วันยังกล่าวด้วยว่า ICMM กำลังพยายามสร้างความเชื่อมั่นว่า ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองจะมีชีวิตที่ดีขึ้น ขณะที่การทำเหมืองจะมีความปลอดภัย เป็นธรรม เท่าเทียม ถูกต้อง และยั่งยืน
องค์กร 28 แห่งซึ่งเป็นสมาชิกของ ICMM คิดเป็นหนึ่งในสามของอุตสาหกรรมเหมืองทั่วโลก และ ICMM มีอิทธิพลทางอ้อมต่อแทบทุกส่วนของอุตสาหกรรมผ่านทางองค์กรสมาชิก
ประเด็นที่กล่าวถึงข้างต้นจะได้รับการพูดคุยในการประชุมสุดยอดแร่แห่งอนาคต ณ กรุงริยาด ระหว่างวันที่ 11-13 มกราคม 2565 ซึ่งจัดโดยราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย โดยผู้นำทางการเมืองและผู้นำทางธุรกิจระดับสูงจะมาร่วมพูดคุยในประเด็นสำคัญ ๆ ที่อุตสาหกรรมเหมืองทั่วโลกกำลังเผชิญ และคาดว่าบริษัทสำรวจ ขุดเจาะ และพัฒนาเหมืองกว่า 150 แห่งจะส่งตัวแทนเข้าร่วมการประชุม โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมการประชุมในสถานที่จริงกว่า 2,000 คน การประชุมครั้งนี้จะกำหนดอนาคตของการทำเหมืองโดยมุ่งเน้นไปที่สามหัวข้อหลัก ได้แก่ ประโยชน์ของการทำเหมืองที่มีต่อสังคม การพลิกโฉมหน้าการทำเหมือง และการลงทุนในการทำเหมืองใหม่และเหมืองเกิดใหม่ในภูมิภาคต่าง ๆ
ภูมิภาคตะวันออกกลาง เอเชียกลาง และแอฟริกา มีแหล่งแร่และสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับการเป็นศูนย์กลางของห่วงโซ่คุณค่าแร่ และจะมีบทบาทสำคัญในการตอบสนองความต้องการแร่สำคัญที่เติบโตอย่างมหาศาลทั่วโลก สำหรับรองรับสังคมคาร์บอนต่ำ
ผู้นำและซีอีโอบริษัทเหมืองหลายแห่งจากทั่วโลกยืนยันว่าจะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดแร่แห่งอนาคต เช่น มาร์ก บริสโตว์ จากบริษัท Barrick Gold, รอย ฮาร์วีย์ จากบริษัท Alcoa, โรเบิร์ต ฟรีดแลนด์ จากบริษัท Ivanhoe Mines, แอนดรูว์ ฟอเรสต์ จากบริษัท Fortescue Metals, เจเรมี เวียร์ จากบริษัท Trafigura และเจฟฟรีย์ ดอวส์ จากบริษัท Komatsu Mining
การประชุมสุดยอดซึ่งเตรียมจัดขึ้นที่กรุงริยาดในช่วงต้นปีหน้าจะมีบทบาทสำคัญในการส่งสารว่า การทำเหมืองมีส่วนในการแก้ปัญหาการปล่อยคาร์บอนทั่วโลก ขณะเดียวกันก็ควรเปิดกว้างแหล่งแร่ใหม่ ๆ เพื่อส่งมอบวัตถุดิบที่จำเป็นอย่างเพียงพอ
เกี่ยวกับการประชุมสุดยอดแร่แห่งอนาคต
วันจัดงาน: 11-13 มกราคม 2565 ณ กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย
การประชุมสุดยอดแร่แห่งอนาคต คือโครงการริเริ่มระดับนานาชาติซึ่งจัดขึ้นโดยซาอุดีอาระเบีย โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาการทำเหมืองแร่และปลดล็อกโอกาสทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง เอเชียกลาง และแอฟริกา
ภายใต้การอุปถัมภ์ของสมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุล อาซิซ อัล ซาอูด ในฐานะผู้พิทักษ์แห่งสองมหามัสยิดอันศักดิ์สิทธิ์ (Custodian of the Two Holy Mosques) การประชุมสุดยอดแร่แห่งอนาคตจะรวบรวมผู้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมเหมืองจากทั่วโลก และผู้ที่ลงทุนในอนาคตของอุตสาหกรรม เพื่อมาพูดคุยเกี่ยวกับภูมิภาคตะวันออกกลาง แอฟริกา และเอเชียกลาง รวมถึงศักยภาพของภูมิภาคเหล่านี้ในการดึงดูดการลงทุนและผลักดันการเติบโตของอุตสาหกรรมตามมาตรฐานความยั่งยืนระดับโลก
การประชุมสุดยอดแร่แห่งอนาคตคือประตูสู่ศูนย์กลางการทำเหมืองใหม่และเหมืองเกิดใหม่ในประเทศต่าง ๆ ที่มีศักยภาพมหาศาลสำหรับนักลงทุนในอุตสาหกรรมเหมือง
การประชุมสามวันคาดว่าจะดึงดูดผู้เข้าร่วมการประชุมกว่า 2,000 คน จากกว่า 95 ประเทศ รวมถึงนักลงทุน 150 ราย, วิทยากรระดับโลก 100 คน, บริษัทเหมือง 100 แห่ง ตลอดจนรัฐมนตรีและผู้นำประเทศ 15 ท่าน
www.FutureMineralsSummit.com