การฝึกอบรมหลักสูตร เรื่อง “ผู้ตรวจสอบการเชื่อมสากล” (International Welding Inspection Personnel (IWI-C)ภายใต้คณะอนุกรรมการบริหารโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เพื่อสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงสำหรับอุตสาหกรรม New Growth Engineer ตามนโยบาย Thailand 4.0และการปฏิรูปการอุดมศึกษาไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้รับอนุมัติจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการเข้าร่วมโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ปีงบประมาณ 2564 ดำเนินการฝึกอบรมโดยสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส และที่ผ่านมาโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ได้รับความสนใจจาก ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงภาคการบริการของประเทศให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเกิดการสร้างงานที่มีคุณภาพตลอดจนมีการสนับสนุนเศรษฐกิจภูมิภาคอย่างเป็นระบบ มีความต่อเนื่องและเกิดความยั่งยืน การลงทุนใน EEC จะช่วยดึงดูดนักลงทุนในโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกในกลุ่มอุตสาหกรรมเดิม หรือ First S-Curve
นายสมศักดิ์ ปามึก ตำแหน่ง วิศวกร ฝ่ายเทคโนโลยีงานเชื่อม หัวหน้าโครงการสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศสมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เปิดเผยว่า การจัดฝึกอบรมหลักสูตร หลักสูตร “ผู้ตรวจสอบการเชื่อมสากล” รุ่นที่ 11/2564 (International Welding Inspection Personnel (IWI-C) จัดฝึกอบรมในรูปแบบออนไลน์ (Online) ตามรูปแบบวิถีใหม่ (New Normal) ผ่านโปรแกรมGoogle meet เป็นไปตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด– 19หลักสูตร “ผู้ตรวจสอบการเชื่อมสากล” รุ่นที่ 11/2564 และหลักสูตร“ผู้ตรวจสอบแบบไม่ทำลาย ระดับ 2” รุ่นที่ 3/2564 (Non Destructive Testing Operator Level 2Class 3/2021) มีผู้เข้ารับการอบรมรวมทั้ง 2 หลักสูตรจำนวน 130 คน
โดยหลักสูตร “ผู้ตรวจสอบการเชื่อมสากล” รุ่นที่ 11/2564 (International Welding Inspection Personnel (IWI-C) อบรมระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม- 10 กันยายน 2564 เวลา 08.00-17.00 น. รวมระยะเวลา 10 สัปดาห์ หรือ 52 วัน อบรมวันจันทร์-วันศุกร์ เป็นเวลา 416 ชั่วโมง โดยสัปดาห์ที่ 1-4 และหลักสูตร “ผู้ตรวจสอบแบบไม่ทำลาย ระดับ 2” รุ่นที่ 3/2564 (Non Destructive Testing Operator Level 2Class 3/2021) อบรมระหว่างวันที่ 2 สิงหาคม–24 กันยายน 2564 เวลา 08.00-17.00 น. รวม 8 สัปดาห์ อบรมวันจันทร์-วันศุกร์
อย่างไรก็ตามหลักสูตร “ผู้ตรวจสอบการเชื่อมสากล” และ หลักสูตร“ผู้ตรวจสอบแบบไม่ทำลาย ระดับ 2” เป็นการยกระดับฝีมือ มุ่งปั้นบัณฑิตพันธุ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จริงเกิดความเชี่ยวชาญ ตอบโจทย์ความต้องการในภาคอุตสาหกรรม เมื่อรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ซึ่งตรงกับทิศทางการพัฒนาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือมหาวิทยาลัยจึงได้นำนโยบายนี้มาต่อยอดในการขับเคลื่อนการผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัย โดยสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส มจพ. ร่วมกับ สถาบันการเชื่อมแห่งประเทศไทย ได้จัดโครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านงานเชื่อมในระดับสากล ให้กับบุคลากรในประเทศไทยและประเทศในแถบอาเซียนมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้หลักสูตรยังมีความโดดเด่นด้านการสร้างบุคลากรทางด้านงานเชื่อมในระดับผู้ตรวจสอบแบบไม่ทำลายสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อให้ได้การรับรองมาตรฐานการผลิตที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เป็นผู้นำด้านการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ตามแผนยุทธศาสตร์ของสมาคมกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยมีผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning outcomes) ภายหลังการอบรมในหลักสูตรนี้ โดยผู้เข้ารับการอบรมจะมีความสามารถในการจัดการควบคุมการปฏิบัติงาน แก้ปัญหาและตัดสินใจ ในระดับผู้ตรวจสอบด้านการเชื่อมในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยมีขั้นพัฒนาการเรียนรู้ ด้าน (1) จัดการ (Organize) ดำเนินการตรวจสอบได้อย่างเหมาะสม (2) วิเคราะห์ (Analyze) ตัดสินใจแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการปฏิบัติการตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ (3) ประเมินผล (Evaluate) การตรวจสอบให้สอดคล้องตามเกณฑ์ตัดสินตามมาตรฐานสากล และ (4) รายงาน (Report) ผลการตรวจสอบได้อย่างถูกต้อง
โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ประจำปี 2564 หลักสูตร “ผู้ตรวจสอบการเชื่อมสากล”และหลักสูตร“ผู้ตรวจสอบแบบไม่ทำลาย ระดับ 2” อบรม Online ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส หรือที่เว็บไซต์ www.tfii.kmutnb.ac.th
ขวัญฤทัย ข่าว/อัชณี ถ่ายภาพ