หลิวเจิ้นอวิ๋น (Liu Zhenyun) นักเขียนชาวจีน เกิดที่มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน ในปี พ.ศ. 2501 จบการศึกษาจากภาควิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยปักกิ่ง และเป็นอาจารย์ประจำคณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเหรินหมินแห่งประเทศจีน หลิวมีผลงานเขียนมากมาย อาทิ “Hometown, Regime and Blood”, “The Cook, the Crook, and the Real Estate Tycoon”, “Someone to Talk To”, “Laughter and Tears: A Novel”, “A Small Town: Tapu College”, “Tofu” ผลงานของเขาได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 20 ภาษา รวมถึงภาษาเวียดนาม ไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน ฯลฯ ในปี 2554 ผลงานเรื่อง “Someone to Talk To” ได้รับรางวัลวรรณกรรมเหมาตุน และในปี 2561 หลิวได้รับเหรียญอัศวินแห่งศิลปะและวรรณกรรมจากกระทรวงวัฒนธรรมของฝรั่งเศส นอกจากนี้ ภาพยนตร์หลายเรื่องที่ดัดแปลงมาจากงานเขียนของเขายังได้รับรางวัลทั้งในและต่างประเทศ หลิวได้รับแต่งตั้งเป็นทูตการอ่านของงานหนังสือนานาชาติปักกิ่งมาตั้งแต่ปี 2561
สำหรับงานหนังสือนานาชาติกัวลาลัมเปอร์นั้น หลิวเจิ้นอวิ๋นได้รับเชิญให้เข้าร่วมกิจกรรมมากมายภายในงาน ซึ่งรวมถึงกิจกรรม China as Guest of Honor ซึ่งสำนักงานสื่อและสิ่งพิมพ์แห่งชาติของจีนเป็นเจ้าภาพ และจัดขึ้นโดย (กลุ่ม) บริษัทนำเข้าและส่งออกสิ่งพิมพ์แห่งชาติจีน จำกัด โดยหลิวมีส่วนสนับสนุนและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางด้านวรรณกรรม และการแลกเปลี่ยนระดับประชาชนของจีนกับมาเลเซีย
นอกจากนี้ ในระหว่างวันที่ 26-30 พฤษภาคม หลิวเจิ้นอวิ๋นยังได้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนต่าง ๆ กับสำนักพิมพ์ นักเขียน และนักอ่านในท้องถิ่น รวมถึงงานประชุมแลกเปลี่ยนระหว่างนักวิชาการและนักเขียนของจีนกับมาเลเซีย, งานประชุมความร่วมมือและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน-อาเซียน, การเยี่ยมเยียนเพื่อการวิจัย ณ ศูนย์วิจัยความฝันในหอแดงแห่งมหาวิทยาลัยมาลายา, การประชุมเสวนา “วรรณกรรมจีนร่วมสมัย” และกิจกรรมการอ่านและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือเรื่อง “Laughter and Tears: A Novel”
หลิวเจิ้นอวิ๋นกล่าวในการอภิปรายว่า ความแตกต่างทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่อารมณ์พื้นฐานของผู้คนนั้นเหมือนกัน ในการแลกเปลี่ยนต่าง ๆ นั้น การสื่อสารที่ประหยัดที่สุดคือการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และหนังสือเป็นสื่อกลางที่ขาดไม่ได้ในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
เมื่อพูดถึงนวนิยายเรื่อง “Laugh and Tears: A Novel” เขากล่าวว่า “นักเขียนต้องสนใจอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของชาติ” ในแง่หนึ่ง นักเขียนควรสนใจชีวิต ขณะที่อีกด้านหนึ่ง พวกเขาต้องสอดแทรกความคิดของตนเองและศิลปะ ซึ่งเป็น “สองสิ่งที่ขาดไม่ได้”
คำว่า “อารมณ์ขัน” ในความคิดของหลิวนั้น ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ “อารมณ์ขันที่มีเหตุผล” เพราะอารมณ์ขันในแต่ละภาษาอาจมีข้อจำกัดในการแปล แต่อารมณ์ขันที่มีเหตุผลสามารถทำลายข้อจำกัดของประเทศและเชื้อชาติได้ ด้วยอารมณ์ขันนี้เองที่ทำให้ผลงานของเขาโดนใจผู้อ่านทั่วโลก กลายเป็นจุดเชื่อมโยงการแลกเปลี่ยนวรรณกรรมและการสื่อสารทางวัฒนธรรมระหว่างจีนกับต่างประเทศ
ที่งานหนังสือนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ หลิวเจิ้นอวิ๋นยังได้เชิญชวนสำนักพิมพ์และนักอ่านจากทั่วโลกไปที่ปักกิ่งเพื่อร่วมงานหนังสือนานาชาติปักกิ่ง (BIBF) ครั้งที่ 29 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-18 มิถุนายน โดยงานนี้จะ “เปิดโลกแห่งการอ่าน และสร้างการเชื่อมต่อใหม่”