การพัฒนา “สังคมที่มั่งคั่งปานกลางในทุกด้าน” ของจีน มีความหมายต่อประชาชนและประชาคมโลกอย่างไร

สังคม Xiaokang หรือ “สังคมที่มั่งคั่งปานกลางในทุกด้าน” เป็นคำที่สะท้อนความฝันอันเป็นที่ปรารถนาของประเทศจีนมาอย่างยาวนาน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา จีนได้ประกาศบรรลุเป้าหมายครบรอบ 100 ปีแรกของการสร้างสังคมดังกล่าว แต่สิ่งนี้มีความหมายอย่างไรสำหรับประเทศที่มีประชากรกว่า 1.4 พันล้านคน และประชาคมโลกโดยรวม
สมุดปกขาวว่าด้วย “การเดินทางครั้งยิ่งใหญ่ของจีนจากความยากจนสู่ความเจริญรุ่งเรือง” ซึ่งเผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ ได้ให้คำตอบเอาไว้
โดยคนจีน เพื่อชาติจีน
ตามความหมายดั้งเดิมของลัทธิขงจื๊อ Xiaokang คือการที่ทุกคนซึ่งแม้จะไม่ดีเลิศ แต่ก็ได้รับการดูแลอย่างเพียงพอ แนวความคิดนี้ถูกนำกลับมาอีกครั้งสู่วาทกรรมทางการเมืองในยุค 70 โดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน (CPC) ได้นำความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงให้แนวคิดนี้กลายเป็นความจริง
สิ่งนี้คือ “ก้าวสำคัญสู่การฟื้นฟูชาติ” ตามที่ระบุไว้ในสมุดปกขาวฉบับนี้
หลังจากประสบความสำเร็จในการสร้างสังคม Xiaokang ประเทศจีนได้หันไปสู่เป้าหมายครบรอบ 100 ปีอย่างที่สอง ได้แก่การสร้างประเทศสังคมนิยมสมัยใหม่อย่างรอบด้านให้ได้ภายในช่วงกลางศตวรรษ เพื่อเฉลิมฉลองการครบรอบ 100 ปีของสาธารณรัฐประชาชนจีน
การพัฒนาโดยรวมมีความสำคัญต่อความเจริญรุ่งเรืองในระดับปานกลาง โดยรายงานดังกล่าวได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับความคืบหน้าในด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดกระบวนการสร้างสังคมที่เจริญรุ่งเรืองในระดับปานกลาง
ตัวอย่างเช่น ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของจีนได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของจีนทะยานขึ้นแตะ 101.6 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 15.7 ล้านล้านดอลลาร์) ในปีที่แล้ว จากเดิมที่ 6.79 หมื่นล้านหยวน (1.053 หมื่นล้านดอลลาร์) ในปี 2495
บทความนี้ยังเน้นย้ำถึงแนวคิดว่าด้วย “ความเจริญรุ่งเรืองสำหรับทุกคน” ซึ่งทุกคนแบ่งปันผลของการพัฒนาและ “ไม่มีบุคคล ภูมิภาค หรือกลุ่มชาติพันธุ์ใดที่ถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง” ในสังคมประเภทนี้
มาตรฐานการครองชีพของคนจนนั้นปรับตัวดีขึ้นอย่างมาก ความสำเร็จในโครงสร้างพื้นฐานในชนบทอยู่ในระดับยอดเยี่ยม และความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกับชนบทกำลังก่อตัวขึ้น
แบกรับโลกไว้อย่างมหาศาล
ความสำคัญของสังคม Xiaokang ในแง่ความก้าวหน้าของมนุษยชาติ ได้รับการอธิบายในรายงานนี้ไว้ว่า ประเทศกำลังพัฒนาที่มีประชากรมากที่สุดและใหญ่ที่สุดในโลกอย่างจีน ซึ่งมั่งคั่งและมีเสถียรภาพมากขึ้น มีส่วนทำให้เกิดสันติภาพและการพัฒนาของโลกด้วย
ในการบรรลุสังคมที่เจริญรุ่งเรืองในระดับปานกลาง จีนได้ช่วยลดจำนวนประชากรที่ยากจนในโลกลงอย่างมาก
ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้ประกาศขจัดความยากจนขั้นรุนแรงในจีน โดยกล่าวว่าคนยากจนได้รับการปลดปล่อยออกจากสถานะดังกล่าวเฉลี่ยปีละกว่า 10 ล้านคน นับตั้งแต่การประชุมแห่งชาติของพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 18 ในปี 2555
นั่นหมายความว่า จีนได้บรรลุเป้าหมายการขจัดความยากจนที่กำหนดไว้ในวาระแห่งองค์การสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2573 ล่วงหน้าถึง 10 ปี
ในขณะเดียวกัน รายงานดังกล่าวยังระบุว่า นโยบายการเปิดประเทศที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของจีนจะช่วยสร้างเศรษฐกิจที่เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ประเทศอื่น ๆ มีโอกาสมากขึ้นในตลาด การลงทุน และการเติบโต
ประสบการณ์ของจีนนำเสนอทางเลือกใหม่สำหรับประเทศเหล่านั้น และสำหรับผู้ที่กำลังมองหาทั้งการเติบโตอย่างรวดเร็วและความเป็นอิสระ
https://news.cgtn.com/news/2021-09-28/China-issues-white-paper-about-achieving-moderately-prosperous-society-13UWW5MBRD2/index.html