เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา การประชุมกลุ่มพันธมิตรผู้นำระดับโลกว่าด้วยความมั่นคงทางนิวเคลียร์และโลกปลอดอาวุธนิวเคลียร์ (GAL) ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของผู้นำทางการเมือง นักการทูต ผู้เชี่ยวชาญ ผู้คว้ารางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และผู้นำองค์กร NGO ระดับนานาชาติจาก 45 ประเทศ ได้มีขึ้นที่การประชุมไดอะล็อก ออฟ คอนทิเนนต์ส (Dialogue of Continents) ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ผู้เข้าร่วมการประชุมต่างพูดคุยเรื่องความท้าทายต่าง ๆ เกี่ยวกับสงครามในยูเครนระหว่างช่วง “How to avoid nuclear war?” (เราจะหลีกเลี่ยงสงครามนิวเคลียร์ได้อย่างไร)
อังเกลา เคน ( Angela Kane) อดีตรองเลขาธิการสหประชาชาติ เน้นย้ำขณะกล่าวสุนทรพจน์ว่า วิกฤติทางภูมิศาสตร์การเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้อาจยกระดับจนนำนิวเคลียร์มาใช้สู้กันได้
ผู้เชี่ยวชาญรายนี้กล่าวว่า “ปัจจุบันมีความเสี่ยงอยู่ 2 กรณี กรณีแรกคือการทำลายโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซเซียจนทำให้เกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ กรณีที่สองคือความเป็นไปได้ในการใช้อาวุธนิวเคลียร์ ปัญหาขัดแย้งนี้เข้ามาทำให้ความคืบหน้าทั้งหมดที่มีมาตลอด 60 ปีที่ผ่านมาในการควบคุมอาวุธนั้นหันกลับไปอีกทาง”
ขณะเดียวกัน เออร์บัน รุสนัค (Urban Rusnak) อดีตเลขาธิการกฎบัตรพลังงาน เอกอัครราชทูต กระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐสโลวัก เปิดเผยว่า เมื่อประเมินจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกแล้ว สิ่งที่คาซัคสถานได้ทำไว้ในการปลดอาวุธนิวเคลียร์โดยสมัครใจนั้นมีคุณค่าเป็นพิเศษ
คุณรุสนัคกล่าวว่า “สถานการณ์ในยูเครน ซึ่งมีแนวโน้มยกระดับถึงขั้นนิวเคลียร์และผ่านการปลดอาวุธนิวเคลียร์เหมือนกับคาซัคสถานนั้น เป็นสิ่งที่น่ากังวลเป็นพิเศษ จนกระทั่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ เป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการว่าโครงสร้างพื้นฐานนิวเคลียร์อาจกลายเป็นเป้าหมายของการโจมตีได้”
แอเรียล โคเฮน ( Ariel Cohen) นักวิจัยอาวุโสประจำสภาแอตแลนติก ผู้อำนวยการโครงการพลังงานและความมั่นคง (ITIC) ได้ดึงความสนใจของผู้ฟังให้รับรู้ผลที่ตามมาของเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในเขตสงคราม
ผู้เชี่ยวชาญรายนี้กล่าวว่า “หากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ซาปอริซเซียอยู่ในอันตราย ก็จะทำให้เกิดหายนะตามมา ไม่เพียงแต่สำหรับยูเครนเท่านั้น แต่รวมถึงความมั่นคงทางนิวเคลียร์โดยทั่วไปด้วย กลไกระหว่างประเทศเพื่อรับประกันความปลอดภัยของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ถูกทำลาย”
ไครัต อบูไซทอฟ ( Kairat Abuseitov) นักการทูตชื่อดังชาวคาซัคสถานจากมูลนิธินูร์ซุลตัน นาซาร์บาเยฟ กล่าวสรุปการประชุมว่า คาซัคสถานเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นเรื่องการปลดอาวุธนิวเคลียร์โดยสมัครใจ
คุณอบูไซทอฟ กล่าวว่า “คาซัคสถานเคยมีคลังแสงนิวเคลียร์ที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก (ในปี 2534) คาซัคสถานมีสิทธิที่จะเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์ แต่เลือกทางอื่น”
ในช่วงท้ายนั้น ผู้เข้าร่วมการประชุมเห็นพ้องต้องกันว่า การขาดเจตจำนงทางการเมืองในการแก้ไขปัญหาการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์นั้นเต็มไปด้วยการลุกลามบานปลาย โดยเวทีการเจรจาเพื่อฟื้นฟูความไว้วางใจที่สูญเสียไประหว่างรัฐนิวเคลียร์นั้นมีความสำคัญอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
การประชุมดังกล่าวมีขึ้นขณะที่นายคาซึม โจมาร์ท โทคาเยฟ ประธานาธิบดีสาธารณรัฐคาซัคสถาน ได้เดินทางเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ โดยคาซัคสถานซึ่งผลิตยูเรเนียมเป็นสัดส่วน 42% ของทั้งโลก กำลังร่วมมืออย่างแข็งขันกับฝรั่งเศสและสหภาพยุโรปในด้านอะตอมเพื่อสันติภาพและการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์
รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1960003/Global_Alliance_of_Leaders.jpg
โลโก้ – https://mma.prnewswire.com/media/1960038/Astana_Club_Logo.jpg