หัวเว่ย เร่งพลิกโฉมอุตสาหกรรมการเงินสู่ระบบดิจิทัล สร้างคุณค่าใหม่ร่วมกัน

วันนี้ (3 มิ.ย.) เป็นวันแรกของการจัดงาน Huawei Intelligent Finance Summit 2021 ที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ภายใต้ธีม “Accelerate Financial Digitization, New Value Together” งานนี้จัดขึ้นสองวันและดึงดูดลูกค้าในอุตสาหกรรมการเงิน พันธมิตร ผู้เชี่ยวชาญ และสื่อมวลชนรวมกว่า 3,000 คนจากทั่วโลก โดยหัวเว่ยได้แจกแจงรายละเอียดว่า สถาบันการเงินสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่ออัปเกรดอุตสาหกรรมและบริการต่าง ๆ ด้วยการสร้างระบบนิเวศที่คล่องตัวและอัจฉริยะ ซึ่งจะนำไปสู่การพลิกโฉมองค์กรของตนเองให้กลายเป็นองค์กรที่มีความสามารถทางดิจิทัลในที่สุด ในโอกาสนี้ หัวเว่ยได้นำเสนอ 3 กลยุทธ์สำหรับภาคการเงิน ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีคลาวด์-เนทีฟอย่างเต็มรูปแบบ การพัฒนากรณีศึกษาในอุตสาหกรรมอย่างหลากหลาย และการรวบรวมผลิตภัณฑ์ SaaS หลายรูปแบบ เพื่อช่วยให้สถาบันการเงินกลายเป็นองค์กรอิงระบบนิเวศดิจิทัลที่ดีกว่าเดิม

อุตสาหกรรมการเงินต้องปรับตัวและเร่งพลิกโฉม

Peng Zhongyang สมาชิกคณะกรรมการบริษัท และประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย กล่าวสุนทรพจน์เปิดงานว่า ในขณะที่อุตสาหกรรมต่าง ๆ อัปเกรดและหลอมรวมกัน ภาคบริการทางการเงินจะต้องพลิกโฉมเพื่อดำเนินงานบนคลาวด์ผ่านระบบนิเวศอุปกรณ์ที่เชื่อมถึงกันมากขึ้นและรองรับทุกการใช้งาน เขากล่าวเสริมว่า ปัจจุบันหัวเว่ยกำลังร่วมมือกับลูกค้าและพันธมิตรเพื่อช่วยให้พวกเขาก้าวขึ้นเป็นองค์กรอิงระบบนิเวศดิจิทัลที่มีความยืดหยุ่นและยั่งยืนมากขึ้น ผ่านการร่วมกันสร้างเทคโนโลยี รูปแบบการใช้งาน และความยั่งยืน

ในการกล่าวสุนทรพจน์หลักหัวข้อ “Global Economic Recovery: Certainty and Uncertainty” Dr. Fan Gang ศาสตราจารย์สาขาเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง และรองประธานสมาคมปฏิรูปเศรษฐกิจจีน กล่าวว่า “สถานการณ์โรคระบาดยังไม่จบลงง่าย ๆ และเศรษฐกิจดิจิทัลจะเป็นกลไกใหม่ที่ผลักดันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ส่วนสำคัญที่สุดของเศรษฐกิจดิจิทัลไม่ใช่การผลิตอุปกรณ์ดิจิทัลและเทคโนโลยีดิจิทัล แต่เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ในการพลิกโฉมอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยการเงินดิจิทัลถือเป็นกำลังขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงิน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการยกระดับการพลิกโฉมอุตสาหกรรมมากมายสู่ระบบดิจิทัล”

Cao Tong ประธานของ HDFH และประธานของ WeBank, Hou Weirong ผู้จัดการทั่วไปแผนกธุรกรรมธนาคารของ China Merchants Bank, Chen Kunte ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลิกโฉมองค์กรสู่ระบบดิจิทัลประจำหน่วยธุรกิจบริการทางการเงินสากล กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย และ Ye Tan นักวิจารณ์การเงินชื่อดัง ได้เข้าร่วมการอภิปรายแบบคณะในหัวข้อ Intelligent Finance Transformation

“โลกของเรากำลังอยู่ระหว่างการปฏิวัติดิจิทัล ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการเงินและส่งผลต่อเราทุกคน ธนาคารแบบดั้งเดิมกำลังขยายขีดความสามารถของตนเอง ผมตั้งตารอวันที่นายธนาคารและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีจะสามารถปรับแพคเกจบริการทางการเงินให้เข้ากับผู้ใช้งานโดยอิงอายุ ฐานะทางการเงิน และโครงสร้างครอบครัว” Ye Tan กล่าว

หัวเว่ยประกาศ 3 กลยุทธ์เปลี่ยนสถาบันการเงินเป็นองค์กรอิงระบบนิเวศดิจิทัลที่ดีกว่าเดิม

หัวเว่ยประกาศ 3 กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นสำหรับภาคการเงิน เพื่อช่วยให้สถาบันการเงินกลายเป็นองค์กรอิงระบบนิเวศดิจิทัลที่ดีกว่าเดิม ดังนี้

(1) สนับสนุนให้สถาบันการเงินใช้คลาวด์-เนทีฟเต็มรูปแบบ รวมถึงเทคโนโลยีล้ำสมัยต่าง ๆ ที่มีโครงการพื้นฐานประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเร่งให้เกิดการหลอมรวมทางดิจิทัลอัจฉริยะ รวมถึงการสร้างแพลตฟอร์มที่คล่องตัว

(2) ยกระดับการพลิกโฉมสู่ระบบดิจิทัลในทุกสภาพอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยในการส่งผ่านข้อมูล ปลดล็อกคุณค่าของบิ๊กดาต้า และนำเสนอบริการทางการเงินอย่างทั่วถึง

(3) รวบรวมผลิตภัณฑ์ SaaS หลายรูปแบบ เพื่อสร้างระบบนิเวศแบบเปิดสำหรับทุกสภาพการใช้งาน และนำเสนอบริการทางการเงินตามสภาพการใช้งาน

Jason Cao ประธานหน่วยธุรกิจบริการทางการเงินสากล กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย กล่าวว่า “หัวเว่ยได้ทำงานร่วมกับแวดวงการเงินทั่วโลกมาเป็นเวลาถึง 10 ปี และได้กลายเป็นพันธมิตรรายสำคัญในการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมสู่ระบบดิจิทัล หัวเว่ยจะยังคงทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมนี้ต่อไป เพื่อขับเคลื่อนการประมวลผลแบบคลาวด์-เนทีฟ เพื่อทำให้มั่นใจว่า สถาบันการเงินจะได้รับประโยชน์จากระบบนิเวศดิจิทัลที่ทันสมัยและทรงพลัง ที่อัปเดตและพัฒนาต่อยอดได้ตลอดเวลา โดยใช้นวัตกรรมล่าสุดให้เป็นประโยชน์ หัวเว่ยมีหลักการทำงานเพื่อช่วยให้สถาบันการเงินต่าง ๆ เติบโตขึ้นจนกลายเป็นองค์กรที่ทำงานบนระบบนิเวศดิจิทัล และร่วมพัฒนาแวดวงการเงินให้เชื่อมต่อถึงกัน ชาญฉลาด และมีระบบนิเวศรองรับ”

Shi Jilin รองประธานหน่วยธุรกิจ HUAWEI CLOUD BU และประธานแผนกการตลาดและบริการขายระดับสากล กล่าวสุนทรพจน์หลักว่า อุตสาหกรรมการเงินอยู่แถวหน้าของการพลิกโฉมสู่ระบบดิจิทัลมาโดยตลอด และอยู่ในช่วงของการพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมการเงินดิจิทัล จากเดิมที่อยู่ในสถานการณ์เดียวให้กลายเป็นหลายสถานการณ์

เธอกล่าวว่า “หัวเว่ยและอุตสาหกรรมการเงินเติบโตเคียงข้างกัน เพื่อสร้างโซลูชันฟินเทคที่ชาญฉลาดและอเนกประสงค์ เราขอนำเสนอหลักการ 4 ข้อด้วยกัน ข้อแรกคือการน้อมรับนวัตกรรมคลาวด์ โดยแก้ไขปัญหาหลัก ๆ ในการเข้าถึงคลาวด์ระดับองค์กร และนำการพลิกโฉมสู่ระบบดิจิทัลให้อยู่ในหนทางที่ถูกต้อง สองคือการเชื่อมต่ออัจฉริยะในทุกสภาวการณ์ โดยสร้าง “finance+X” เพื่อรองรับอุตสาหกรรมทุกประเภท สามคือการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะตลอดกระบวนการ โดย AI จะเข้าถึงระบบการผลิตและกระบวนการทางธุรกิจหลักของภาคการเงิน และสี่คือการสร้างระบบนิเวศการเงินตามสถานการณ์ต่าง ๆ และสร้างอุตสาหกรรมการเงินที่มีระบบนิเวศรองรับ”

บรรลุคุณประโยชน์ใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมการเงินร่วมกับลูกค้าภาคธนาคารระดับโลก เพื่อร่วมสร้างอนาคตใหม่ให้กับแวดวงการเงิน

ผู้บริหารแวดวงธนาคารหลายราย ได้ร่วมแบ่งปันเรื่องราวและความสำเร็จในการพลิกโฉมองค์กรการเงินจีนสู่ระบบดิจิทัลในการประชุมวันนี้

หัวเว่ยได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับ DBS Bank เพื่อใช้นวัตกรรมดิจิทัลตอบสนองความต้องการของทางธนาคาร โดยเมื่อปี 2020 ที่ผ่านมา หัวเว่ยทำผลงานได้อย่างโดดเด่นเหนือผู้จัดจำหน่ายเทคโนโลยีระดับโลกรายอื่น ๆ อีก 64 ราย จนคว้ารางวัล 2020 Most Valuable Technology Partner Award จาก DBS ไปครอง

Tan Choon Boon หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมและบริการคลาวด์ของ DBS Singapore กล่าวว่า “DBS ได้พัฒนากลยุทธ์โดยให้ความสำคัญกับองค์ประกอบ 5 ประการของการพลิกโฉมสู่ระบบดิจิทัล นั่นคือการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในองค์กรอย่างครอบคลุม ซึ่งรวมถึงองค์กรที่มีความสำเร็จของธุรกิจเป็นตัวนำ, ยกระดับจากโปรเจคเป็นแพลตฟอร์ม, ใช้การออกแบบระบบสมัยใหม่, สร้างทีมที่มีความคล่องตัว และขับเคลื่อนสู่ระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ ในอนาคต ทั้งสองฝ่ายจะเดินหน้าเสริมสร้างความร่วมมือในระบบคลาวด์ ปัญญาประดิษฐ์ และ IoT เราได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับหัวเว่ย เพื่อตอบรับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของทางธนาคาร และขับเคลื่อนการพลิกโฉมสู่ระบบดิจิทัลต่อไป”

อุตสาหกรรมการเงินมีความแตกต่างกันอย่างมากตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก โดยยังมีบุคคลและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวนมากที่ยังไม่มีโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินพื้นฐาน สถาบันการเงินในหลาย ๆ ประเทศได้เร่งสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น โมบายวอลเล็ตและการชำระเงินทางมือถือร่วมกับพันธมิตรอย่างหัวเว่ย โดยใช้แพลตฟอร์มเหล่านี้สร้างระบบนิเวศระดับซูเปอร์แอป เช่น Kenya NCBA เพื่อช่วยให้สถาบันการเงินเหล่านี้บรรลุความก้าวหน้าสำคัญในการยกระดับบริการของตน

ในการประชุมดังกล่าว Sitoyo Lopokoiyit ซีอีโอของ M-PESA Africa กล่าวว่า “เราได้เห็นพลังของ M-PESA และนวัตกรรมเงินมือถือในแอฟริกา ในการพลิกโฉมแนวทางสร้างอิมแพคต่อสังคม วันนี้ เรามีธุรกิจกว่า 350,000 แห่ง และธุรกิจ SME ขนาดย่อมอีกกว่า 5 ล้านแห่งที่ใช้บริการของเรา ในขณะเดียวกัน เรามีลูกค้า 58 ล้านรายที่ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ของเรา หัวใจหลักของสิ่งนี้คือการที่เทคโนโลยีของเราและพันธมิตรอย่างหัวเว่ย ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำให้แน่ใจว่า สถาปัตยกรรมเทคโนโลยีของเราจะตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจและลูกค้าของเราได้”

หัวเว่ย เปิดตัวโครงการ Financial Partner Go Global Program (FPGGP)

ในการประชุมดังกล่าว หัวเว่ยได้ประกาศเปิดตัวโครงการ Financial Partner Go Global Program (FPGGP) อย่างเป็นทางการ โดยบริษัทจะทำงานร่วมกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน เพื่องัดใช้ประสบการณ์และขีดความสามารถทางนวัตกรรมเทคโนโลยีอันล้ำลึกของหัวเว่ยในการยกระดับภาคการเงินสู่ยุคดิจิทัล

FPGGP เบื้องต้นมีสมาชิก 25 ราย โดยสมาชิกคณะกรรมการ 7 รายมาจาก Huawei, Sunline, Tongdun Technology, Netis, Wallyt, Sinosoft และ Chinasoft International

หัวเว่ยมีวิสัยทัศน์ในการสร้างระบบนิเวศอเนกประสงค์อันเปิดกว้าง และเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินทั่วโลกได้ให้บริการผู้ใช้งานในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยภายในการประชุมดังกล่าว หัวเว่ยได้สำรวจข้อตกลงความร่วมมือใหม่ ๆ ร่วมกับสถาบันการเงินอย่าง Temenos และมีแผนเปิดตัวโซลูชันที่มาจากความร่วมมือ 15 รายการ ครอบคลุมกรณีการใช้งานหลากหลายรูปแบบ

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://e.huawei.com/topic/2021-event-fsi-summit/en/index.html

รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1525302/1.jpg
คำบรรยายภาพ – คุณ Peng Zhongyang

รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1525305/2.jpg
คำบรรยายภาพ – หัวเว่ยเปิดตัวโครงการ Financial Partner Go Global Program (FPGGP)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *