ผลสำรวจ PwC เผย ธุรกิจครอบครัวเสี่ยงพลาดเป้าหมาย ESG

ในปีที่ธุรกิจต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการตอบสนองความต้องการของสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่ผลสำรวจเจ้าของธุรกิจครอบครัว 2,801 รายทั่วโลกกลับพบว่า ธุรกิจครอบครัวมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวไม่ทัน

แม้ผู้ตอบแบบสำรวจมากกว่าครึ่งหนึ่ง (55%) มองว่า ธุรกิจของตนมีศักยภาพที่จะก้าวไปสู่ความยั่งยืน แต่มีเพียง 37% เท่านั้นที่มีการกำหนดกลยุทธ์ไว้อย่างชัดเจน ผลสำรวจเผยให้เห็นว่า ธุรกิจในยุโรปและอเมริกากำลังตามหลังธุรกิจในเอเชียที่มีความมุ่งมั่นที่จะกำหนดให้ความยั่งยืนเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ โดย 79% ของผู้ตอบแบบสำรวจในจีน และ 78% ในญี่ปุ่นระบุว่า ‘ความยั่งยืนเป็นหัวใจสำคัญของทุกสิ่งที่เราทำ’ เทียบกับ 23% ของสหรัฐอเมริกา และ 39% ในสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ดี ธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจที่มีรุ่นลูกรุ่นหลานเป็นเจ้าของนั้นสวนกระแส โดยธุรกิจเหล่านี้ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้น

ผลสำรวจชี้ว่าธุรกิจครอบครัวไม่เต็มใจที่จะดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ทั้งๆ ที่ธุรกิจเหล่านี้มีความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับสูง โดยธุรกิจครอบครัวกว่า 80% มีส่วนร่วมในกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงรุก และ 71% พยายามรักษาพนักงานไว้ให้มากที่สุดในช่วงการแพร่ระบาด และไม่ว่าจะมีมุมมองลบเกี่ยวกับเศรษฐกิจ หรือแม้เกิดโรคระบาด แต่กลับมีผู้ตอบแบบสำรวจไม่ถึงครั้งหนึ่ง (46%) ที่คาดว่ายอดขายจะลดลง โดยผู้ตอบแบบสำรวจมีมุมมองที่เป็นบวกว่าธุรกิจของตนจะสามารถอยู่รอดและเติบโตต่อไปได้ในปี 2564 และ 2565

อย่างไรก็ตาม ประเด็นคือ ธุรกิจครอบครัวมีแนวคิดเกี่ยวกับวิธีการตอบสนองต่อสังคมที่ล้าสมัย โดย 76% ในสหรัฐอเมริกา และ 60% ในสหราชอาณาจักรเน้นการมีส่วนร่วมโดยตรงมากกว่า โดยทำผ่านโครงการด้านการกุศลมากกว่าที่จะดำเนินการผ่านแผนกลยุทธ์ในเรื่อง ESG นอกจากนี้ ธุรกิจครอบครัวยังค่อนข้างได้รับการปกป้องจากแรงกดดันของนักลงทุนที่กำลังผลักดันให้บริษัทมหาชนกำหนดให้ ESG เป็นหัวใจสำคัญของแผนระยะยาวเพื่อความสำเร็จทางการค้า

Peter Englisch หัวหน้าสายงานธุรกิจครอบครัวระดับโลกของ PwC กล่าวว่า

“เป็นที่ชัดเจนว่าธุรกิจครอบครัวทั่วโลกมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ทางสังคมที่กว้างขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็มีแรงกดดันเพิ่มขึ้นจากลูกค้า ผู้ให้กู้ ผู้ถือหุ้น และแม้แต่พนักงานที่ต้องการให้ธุรกิจแสดงผลการดำเนินงานในด้านความยั่งยืน ตลอดจนมิติที่กว้างกว่าอย่าง ESG ซึ่งบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งเริ่มตอบสนองแล้ว แต่การสำรวจนี้บ่งชี้ว่าธุรกิจครอบครัวมีวิธีการช่วยเหลือสังคมในรูปแบบดั้งเดิมมากกว่า

“ธุรกิจครอบครัวต้องปรับตัวให้เข้ากับความคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงไป และการที่ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ กำลังสร้างความเสี่ยงทางธุรกิจ นี่ไม่ใช่แค่การระบุถึงความมุ่งมั่นในการทำความดี แต่ยังเป็นการกำหนดเป้าหมายและการรายงานที่มีความหมาย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณค่าและจุดมุ่งหมายในการช่วยสร้างเศรษฐกิจและสังคมให้กลับมาดีขึ้น”

การเติบโต

ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจครอบครัวเผชิญหน้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดได้ค่อนข้างดี โดยผู้ตอบแบบสำรวจไม่ถึงครึ่งหนึ่ง (46%) คาดว่ายอดขายจะลดลงแม้เกิดโรคระบาด และผู้ตอบแบบสำรวจต่างมีมุมมองที่เป็นบวกว่าธุรกิจของตนจะสามารถอยู่รอดและเติบโตต่อไปได้ในปี 2564 และ 2565

ธุรกิจครอบครัวปรับตัวไม่ทันการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล

แม้ว่า 80% ของธุรกิจครอบครัวปรับตัวให้เข้ากับความท้าทายจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วยการให้พนักงานทำงานที่บ้าน แต่ถึงกระนั้นก็ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับความแข็งแกร่งโดยรวมของธุรกิจ เมื่อพิจารณาในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล

62% ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่าความสามารถด้านดิจิทัลของพวกเขา ‘ไม่แข็งแรง’ ขณะที่อีก 19% ระบุว่าเป็นงานที่อยู่ระหว่างดำเนินการ

ขณะเดียวกัน ผลสำรวจพบว่ามีความแตกต่างของช่วงวัยที่ชัดเจน กล่าวคือ 41% ของธุรกิจที่ระบุว่ามีความแข็งแกร่งทางดิจิทัลคือธุรกิจรุ่นที่ 3 หรือ 4 นอกจากนี้ คนกลุ่ม Next Gens มีบทบาทเพิ่มขึ้นในธุรกิจ 46% ที่มีความแข็งแกร่งทางด้านดิจิทัล

Peter Englisch กล่าวว่า

“เป็นเรื่องน่ากังวลที่ธุรกิจครอบครัวกำลังล้าหลัง โดยมีหลักฐานชัดเจนว่าการมีความสามารถด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่งช่วยให้เกิดความคล่องตัวและประสบความสำเร็จ และธุรกิจครอบครัวมีความกระตือรือร้นแบบเดียวกันในเรื่องของความยั่งยืน

“ธุรกิจควรพิจารณาว่าจะมีส่วนร่วมกับประสบการณ์และข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ ของคนกลุ่ม Next Gens ได้อย่างไร เมื่อพูดถึงการให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล”

ช่องว่างด้านธรรมาภิบาล

แม้ธุรกิจครอบครัวรายงานระดับความไว้วางใจ ความโปร่งใส และการสื่อสารที่ดี แต่การสำรวจชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของโครงสร้างการกำกับดูแลแบบมืออาชีพ โดยถึงแม้ว่า 79% กล่าวว่าพวกเขามีรูปแบบหรือนโยบายธรรมาภิบาล แต่ตัวเลขกลับลดลงอย่างมากเมื่อพูดถึงประเด็นสำคัญๆ โดยมีเพียงหนึ่งในสี่ที่ระบุว่ามีธรรมนูญครอบครัว (family constitution) หรือระเบียบการของครอบครัว (family protocol) ในขณะที่มีเพียง 15% เท่านั้นที่มีการจัดทำกลไกการแก้ไขความขัดแย้ง

Peter Englisch กล่าวว่า

“ความสามัคคีในครอบครัวไม่ควรถูกมองข้าม แต่เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการและวางแผน โดยมีจุดเน้นและความเป็นมืออาชีพแบบเดียวกับที่ใช้ในการดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจและการตัดสินใจในด้านต่างๆ

“มีความกังวลเพิ่มขึ้นจากหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกเกี่ยวกับการสืบทอดธุรกิจครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหนึ่งในสามของธุรกิจรุ่นที่ 1, 2 หรือ 3 ที่คาดหวังว่าผู้สืบทอดธุรกิจรุ่นต่อไปจะกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในอีกห้าปีข้างหน้า

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *