คุณเหลิง เว่ยฉิง (Leng Weiqing) ซีอีโอและประธานหญิงของบริษัท เซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก (Shanghai Electric) (SEHK: 2727, SSE:601727) เป็นหนึ่งในคณะผู้แทนระดับสูงจากวิสาหกิจรายใหญ่ 6 แห่งในนครเซี่ยงไฮ้ ภายใต้การนำของคุณกง เจิ้ง (Gong Zheng) นายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้ ที่เข้าร่วมการประชุมว่าด้วยการลงทุนต่างประเทศเซี่ยงไฮ้-จาการ์ตา (Shanghai-Jakarta Overseas Investment Symposium) ในโอกาสนี้ คุณเหลิงได้บรรยายและแบ่งปันความรู้ร่วมกับสถาบันในท้องถิ่นเกี่ยวกับการดำเนินงานโรงไฟฟ้าหลายแห่งในอินโดนีเซีย รวมถึงโรงไฟฟ้าถ่านหินชวา 7 (Java 7 Coal Fired Power Plant) โรงไฟฟ้าชิลาซา (Chilaza Power Station) และ นิคมอุตสาหกรรมชิงซาน (Qingshan Industrial Park) ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการเสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพด้านพลังงานในท้องถิ่นและในระดับโลก อีกทั้งยังมีส่วนอย่างมากในการผลักดันการใช้พลังงานสีเขียวและความยั่งยืน
“เราภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรของเราในอินโดนีเซีย ซึ่งช่วยรับประกันเสถียรภาพด้านพลังงาน ตลอดจนสร้างโอกาสในการทำงานและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนหลายแห่งทั่วอินโดนีเซีย” คุณเหลิง กล่าว “อุปกรณ์จำนวนมากที่ใช้งานอยู่ในอินโดนีเซีย ซึ่งจัดหา ดำเนินงาน และบำรุงรักษาโดยเซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก มีส่วนช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงาน พร้อมทั้งช่วยเพิ่มปริมาณและปรับปรุงการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งยกระดับความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นด้วย”
นอกจากนี้ บริษัทยังพัฒนาธุรกิจในหลากหลายด้าน ครอบคลุมถึงการดำเนินงานและบำรุงรักษาหน่วยผลิตไฟฟ้าพลังงานความร้อนสามหน่วยในนิคมอุตสาหกรรมเวดาเบย์ (Weda Bay Industrial Park) ไปจนถึงโครงการวิศวกรรมถ่านโค้กของหนานจิง ไอรอน แอนด์ สตีล กรุ๊ป (Nanjing Iron and Steel Group) ซึ่งมีกำลังการผลิต 2.6 ล้านตันต่อปี และกิจการร่วมค้ากับโรงงานผลิตเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนสำหรับระบบปรับอากาศในรถยนต์
โครงการผลิตไฟฟ้าคาร์บอนต่ำของเซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก สร้างประโยชน์มหาศาลให้ชุมชนในอินโดนีเซีย
โรงไฟฟ้าถ่านหินชวา 7 คือโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 2,100 เมกะวัตต์ในจังหวัดบันเติน ประเทศอินโดนีเซีย โดยเซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก ได้เริ่มก่อสร้างโครงการเมื่อปี 2559 และเริ่มดำเนินงานเชิงพาณิชย์ในเดือนธันวาคม 2562 ขณะที่โรงไฟฟ้าชิลาซา ซึ่งเซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก เป็นผู้ดำเนินงานและบำรุงรักษาในเฟสที่สองนั้น ถือเป็นผู้นำในด้านประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าในบรรดาโรงไฟฟ้าถ่านหินบนเกาะชวา ซึ่งความสำเร็จอันน่าทึ่งนี้ตอกย้ำสถานะของบริษัทในฐานะโรงไฟฟ้าเอกชนชั้นนำของประเทศ และหลังจากที่เชื่อมกับโครงข่ายไฟฟ้าเมื่อต้นเดือนนี้ โรงไฟฟ้าแห่งนี้ได้กลายเป็นเสาหลักที่แข็งแกร่งในการรับประกันเสถียรภาพของโครงข่ายไฟฟ้าในท้องถิ่น ส่วนโครงการใหญ่อีกโครงการ นั่นคือ นิคมอุตสาหกรรมชิงซาน ถือเป็นการรุกเข้าสู่ตลาดถ่านโค้กขนาดใหญ่ระหว่างประเทศเป็นครั้งแรก จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด และเป็นการส่งเสริมกลยุทธ์การขยายธุรกิจในต่างประเทศของเซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก อย่างเต็มรูปแบบ
นอกจากนี้ ธุรกิจของเซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก ยังครอบคลุมสายการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียม ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องบินขนาดใหญ่ ลิฟต์ และคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศ ขณะเดียวกัน การที่บริษัทให้ความสำคัญกับนวัตกรรมทางเทคโนโลยี และการมีส่วนร่วมในการผลิตและดำเนินงานระบบขนส่งทางรางและอุปกรณ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ รวมถึงการให้บริการแบบบูรณาการ ได้ก่อให้เกิดโอกาสในการสร้างความร่วมมือในตลาดระหว่างประเทศ ไปจนถึงการพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำทั่วโลก
เซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก กำลังรุกขยายธุรกิจวิศวกรรมนอกประเทศจีน โดยได้ดำเนินโครงการวิศวกรรมไฟฟ้ากำลังเสร็จสิ้นแล้วกว่า 100 โครงการ มูลค่าสัญญารวมกว่า 250,000 ล้านหยวน (ราว 35,760 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งคิดเป็นหนึ่งในสามของยอดขายอุปกรณ์ไฟฟ้าในต่างประเทศ นอกจากนี้ บริษัทยังได้เข้าซื้อหุ้น 100% ของ Nedschroef ในเนเธอร์แลนด์ เพื่อขยายเข้าสู่อุตสาหกรรมสลักภัณฑ์ยานยนต์ระดับไฮเอนด์ และได้เข้าซื้อหุ้น 100% ของ Broetje Automation ในเยอรมนี เพื่อขยายเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์การบินระดับไฮเอนด์
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประชุมได้ที่ https://www.chinadailyhk.com/article/328064 หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก และธุรกิจทั่วโลกได้ที่ https://www.shanghai-electric.com/group_en/
เกี่ยวกับเซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก
บริษัท เซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก กรุ๊ป จำกัด (Shanghai Electric Group Company Limited) (SEHK: 2727, SSE:601727) คือผู้นำระดับโลกด้านการจัดหาโซลูชันระบบอัจฉริยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมระดับอุตสาหกรรมซึ่งดำเนินธุรกิจทั่วโลก บริษัททุ่มเทให้กับพลังงานอัจฉริยะ การผลิตอัจฉริยะ และการบูรณาการความฉลาดทางดิจิทัล นอกจากนี้ บริษัทยังมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาคาร์บอนต่ำและการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ด้วยการบุกเบิกภาคส่วนใหม่ ๆ และส่งเสริมกลไกขับเคลื่อนการเติบโตใหม่ ๆ โดยมุ่งมั่นที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำในการบรรลุเป้าหมายปล่อยคาร์บอนถึงเพดานสูงสุดภายในปี พ.ศ. 2573 ก่อนที่จะลดลงจนบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2603 รวมถึงในด้านการผลิตอุปกรณ์พลังงานใหม่ระดับไฮเอนด์ในท้องถิ่น โดยอาศัยโอกาสอันไร้ขอบเขตในระบบนิเวศอุตสาหกรรมที่ทันสมัยไปพร้อมกับพันธมิตรทั่วโลก