การประชุมอินโนเวทีฟ ดาต้า อินฟราสตรักเจอร์ (Innovative Data Infrastructure Forum หรือ IDI Forum) ประจำปี 2566 ในธีม “New Apps ? New Data ? New Resilience” (การใช้งาน ข้อมูล และความยืดหยุ่นในรูปแบบใหม่) ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา ในเมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี การประชุมดังกล่าวได้เชิญชวนบรรดาผู้เชี่ยวชาญและพันธมิตรในอุตสาหกรรมทั่วโลก เพื่อร่วมสำรวจอนาคตของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในยุคยอตตะไบต์ (หนึ่งยอตตะไบต์เท่ากับหนึ่งล้านล้านล้านล้านกิกะไบต์) โดยในการประชุมนี้ หัวเว่ยได้เจาะลึกหัวข้อต่าง ๆ มากมาย เช่น การเปิดรับระบบนิเวศของแอปพลิเคชันที่เกิดขึ้นใหม่ การจัดการข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างจำนวนมหาศาลอย่างมีประสิทธิภาพ และการปรับปรุงความยืดหยุ่นของข้อมูลอย่างครอบคลุม เพื่อปลดล็อกคุณค่าของข้อมูลสู่วิวัฒนาการของอุตสาหกรรมการจัดเก็บข้อมูล
หัวเว่ยเชื่อว่า การจัดเก็บข้อมูลเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ แต่ก็มีโอกาสดี ๆ ด้วยเช่นกัน เมื่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ประการแรก องค์กร 56% เลือกใช้แอปพลิเคชันปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในขณะที่องค์กร 96% มีแผนสร้างแอปพลิเคชันบนคลาวด์ เพื่อจัดการกับรูปแบบการใช้ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
เมื่อข้อมูลมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ 80% ของข้อมูลใหม่เป็นข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง โดยมีอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 38%
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ความยืดหยุ่นของข้อมูลก็เผชิญกับความท้าทายรุนแรง เมื่อแรนซัมแวร์พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่จำนวนการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ก็เพิ่มขึ้นถึง 98% ต่อปี และที่น่าเป็นห่วงคือ องค์กรต่าง ๆ กว่า 14% กู้คืนข้อมูลหลังโดนแรนซัมแวร์ไม่ได้
รูปแบบการใช้บิ๊กดาต้าและปัญญาประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นใหม่นั้นทำให้เกิดความต้องการที่สูงขึ้นในการประมวลผลข้อมูลที่หลากหลายในแบบขนาน โดยรูปแบบการทำงานร่วมกันระหว่างการจัดเก็บข้อมูลกับแอปพลิเคชันข้อมูลกำลังก่อร่างขึ้นใหม่ เพื่อรองรับกระบวนทัศน์ข้อมูลใหม่ แอปพลิเคชันบนคลาวด์เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในศูนย์ข้อมูลขององค์กร การจัดเก็บแบบคอนเทนเนอร์ที่เชื่อถือได้และมีประสิทธิภาพสูงจะเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อจัดการกับความท้าทายเหล่านี้
เมื่อข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้างที่ใช้ในระบบการผลิตและการตัดสินใจเริ่มร้อนแรงมากขึ้นจากการเข้าถึงแบบเรียลไทม์ แบนด์วิดท์การอ่าน/เขียนและประสิทธิภาพการเข้าถึง I/O ของระบบจัดเก็บแบบขยายขนาดได้นั้นต้องปรับปรุงอีกมาก โดยการจัดเก็บข้อมูลไม่มีโครงสร้างจำนวนมากอย่างคุ้มค่านั้นต้องอาศัยนวัตกรรมด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และอัลกอริทึม เพื่อพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลแบบขยายขนาดได้ นอกจากนี้ ปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เกิดความท้าทายด้านแรงโน้มถ่วงของข้อมูล จึงจำเป็นต้องมีโครงสร้างข้อมูลอัจฉริยะ เพื่อใช้มุมมองข้อมูลครอบคลุมทั้งโลกและจัดกำหนดการข้อมูลแบบรวมศูนย์ทั่วทั้งระบบ ภูมิภาค และระบบคลาวด์ต่าง ๆ
ภัยคุกคามต่อความยืดหยุ่นของข้อมูลกำลังเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่อยู่ในรูปแบบภัยธรรมชาติและความเสียหายทางกายภาพ ไปเป็นภัยพิบัติจากฝีมือมนุษย์ เช่น แรนซัมแวร์ เป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนจากการตอบสนองเชิงรับเป็นการป้องกันเชิงรุก เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อมูลให้ได้ การเพิ่มขึ้นของช่องโหว่แบบ Zero-day และความสูญเสียจำนวนมากที่เกิดจากข้อมูลที่กู้คืนไม่ได้นั้นเผยให้เห็นว่า ภาคธุรกิจองค์กรยังมีระบบความยืดหยุ่นของข้อมูลไม่มากพอ ระบบดังกล่าวประกอบด้วยเครือข่าย แอปพลิเคชัน และโฮสต์ และไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความยืดหยุ่นของข้อมูลล่าสุดจากธุรกิจองค์กรต่าง ๆ อีกต่อไป การจัดเก็บข้อมูลกำลังกลายเป็นแนวป้องกันสุดท้ายในการดูแลความยืดหยุ่นของข้อมูล โดยมีการนำคุณสมบัติความยืดหยุ่นมารวมอยู่ในผลิตภัณฑ์การจัดเก็บข้อมูลมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตรวจจับแรนซัมแวร์ การเข้ารหัสข้อมูล สแน็ปช็อตที่ปลอดภัย และการกู้คืนข้อมูลแบบแอร์ แก็ป (Air Gap)
ดร.ปีเตอร์ โจว (Peter Zhou) รองประธานของหัวเว่ย และรองประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ไอทีของหัวเว่ย ได้กล่าวไว้ว่า โซลูชันจัดเก็บข้อมูลของหัวเว่ยมาพร้อมผลิตภัณฑ์และโซลูชันมากมายหลายรุ่น เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของลูกค้าและพาร์ทเนอร์ โดยระบบจัดเก็บข้อมูลออลแฟลชซีรีส์โอเชียนสตอร์ โดราโด (OceanStor Dorado) และระบบจัดเก็บข้อมูลแบบขยายได้ในซีรีส์โอเชียนสตอร์ แปซิฟิก (OceanStor Pacific) ล้วนได้รับการยอมรับว่าเป็นโซลูชันในดวงใจของลูกค้า จากรายงานการ์ทเนอร์ เพียร์ อินไซต์ส (Gartner Peer InsightsTM) ประจำปี 2566
เพื่อให้เห็นภาพอุตสาหกรรมการจัดเก็บข้อมูลได้มากขึ้นนั้น ผู้จำหน่ายอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบใช้ตัวควบคุมภายนอก (ECB) 5 อันดับแรกของโลกในปี 2565 มียอดจัดส่งรวมสูงกว่าในปี 2555 ถึง 3 เท่า อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้ถือว่าน้อยกว่าที่จำเป็นอย่างมากในการตอบสนองความต้องการในยุคยอตตะไบต์ หัวเว่ยคาดการณ์ว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้น 10 เท่าภายในปี 2575 จนทะลุหลัก 100 เอ็กซาไบต์ โดยโซลูชันการจัดเก็บข้อมูลต้องไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญกับความจุและประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังต้องส่งเสริมกระบวนทัศน์ข้อมูลใหม่ โครงสร้างข้อมูลอัจฉริยะ และความยืดหยุ่นของข้อมูลที่แท้จริง เพื่อปลดล็อกศักยภาพของข้อมูลจำนวนมาก พร้อมส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการจัดเก็บข้อมูลพัฒนาอย่างรวดเร็ว
รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/2084157/Huawei.jpg
คำบรรยายภาพ – ดร.ปีเตอร์ โจว รองประธานของหัวเว่ย และรองประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ไอทีของหัวเว่ย กล่าวสุนทรพจน์