รางวัล Global Corporate Sustainability Award (GCSA) รางวัลระดับโลกด้านความยั่งยืนขององค์กร สาขาแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice Award) ประจำปี 2564 ประกาศผู้ได้รับรางวัลแล้ว รางวัลดังกล่าวนี้เชิดชูแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในด้านความยั่งยืน จากการประเมินในด้านกลยุทธ์และเป้าประสงค์ ผลกระทบ ประสิทธิผล ความต่อเนื่อง ผลการดำเนินงาน และความเป็นผู้นำ ในปีนี้มีผู้ชนะทั้งหมด 12 รายจากฝรั่งเศส อินโดนีเซีย ไต้หวัน และไทย
รางวัลแนวปฏิบัติที่ยอดเยี่ยม (Outstanding Practice) (รางวัลอันดับสูงสุดในสาขานี้)
ผู้ได้รับรางวัลแนวปฏิบัติที่ยอดเยี่ยม (Outstanding Practice) ได้แก่ Far Eastern New Century (ระดับโลก) และ PT Impack Pratama Industri Tbk (ตลาดเกิดใหม่)
Far Eastern New Century (FENC) ได้รับรางวัลจากผลงาน “โซลูชันครบวงจรเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน ด้วยเทคโนโลยี TopGreen(R) ChemCycle ที่บุกเบิกวงการของ FENC” ทั้งนี้ FENC ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาวิธีการรีไซเคิลด้วยเคมี เพื่อลดขยะโพลีเอสเตอร์และเปลี่ยนเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตโพลีเอสเตอร์อย่างมีประสิทธิผล โรงงานรีไซเคิลดังกล่าวนี้สร้างในปี 2562 โดยได้มีการทดสอบวิธีการรีไซเคิลประเภทต่าง ๆ เสร็จสมบูรณ์แล้ว อย่างเช่น B2B (Bottle to Bottle – จากขวดเก่าเป็นขวดใหม่) F2F (Fabric to Fabric – จากผ้าเก่าเป็นผ้าใหม่) และ L2L (Label to Label – จากฉลากเก่าเป็นฉลากใหม่) FENC ทำงานร่วมกับแบรนด์ระดับโลกอย่างเช่น Coca-Cola และ Adidas ในด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) และการใช้งานในขั้นปลายน้ำ เพื่อพัฒนาโซลูชันครบวงจรสำหรับขยะจากอุตสาหกรรมโพลีเอสเตอร์ ดูข่าวประชาสัมพันธ์ได้ที่ https://globalcsaward.org/posts/gcsabp2021-06
PT Impack Pratama Industri Tbk ได้รับรางวัลจากผลงาน “Harvest the Power of the Sun – การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน” โครงการนี้มีการติดตั้งเครื่องทำแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบโดม (solar dryer dome – SDD) และเครื่องทำแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบโต๊ะ (solar table dryer – STD) ใน 29 จังหวัดในอินโดนีเซีย ด้วยการร่วมมือกับ Covestro โครงการดังกล่าวได้ติดตั้งเครื่อง SDD กว่า 1,000 เครื่องในระดับภูมิภาค ซึ่งส่งผลครอบคลุมผู้คนกว่า 360,000 ชีวิต การติดตั้งผลิตภัณฑ์เครื่องทำแห้งพลังงานแสงอาทิตย์นี้ได้ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของชุมชนด้อยโอกาส ด้วยการเปลี่ยนอาหารที่มีแนวโน้มเป็นขยะอาหารให้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารแห้งที่มีคุณภาพดีขึ้น ซึ่งมีมูลค่าตลาดสูงขึ้น โครงการนี้ยังช่วยให้เกษตรกรรายย่อยเข้าถึงตลาดที่กว้างขึ้น เทคโนโลยีที่ยั่งยืน และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ดูข่าวประชาสัมพันธ์ได้ที่ https://globalcsaward.org/posts/gcsabp2021-09
รางวัลแนวปฏิบัติที่ดี (Great Practice)
ผู้ได้รับรางวัลแนวปฏิบัติที่ดี (Great Practice Award) มีทั้งหมด 10 โครงการ ดังต่อไปนี้
ระดับโลก (เรียงตามตัวอักษรของชื่อบริษัท)
โมเดลพลังงานไฟฟ้าสีเขียวของ L’Oreal (L’Oreal Taiwan)
“Social Impact Program” (โครงการผลกระทบทางสังคม) (O-Bank Co., Ltd.)
Deeply Rooted in Communities for a Sustainable Future (โครงการหยั่งรากลึกในชุมชนสู่อนาคตที่ยั่งยืน) (Sinyi Realty Inc.)
ระดับตลาดเกิดใหม่ (เรียงตามตัวอักษรของชื่อบริษัท)
Asia Cement SBTi Action (Asia Cement Corporation)
CHT โครงการสร้างซัพพลายเชนด้านไอซีทีที่ปล่อยคาร์บอนต่ำและมีความยั่งยืน (Chunghwa Telecom)
Koh Tao, Better Together โครงการระดมทุนพัฒนาเกาะเต่า (ธนาคารกรุงไทย)
MEA E-FIX : โครงการให้บริการด้านระบบไฟฟ้าในบ้านด้วยช่างไฟฟ้ามืออาชีพจากชุมชน (การไฟฟ้านครหลวง)
Bank BTPN Health Cadre: โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้สูงวัยด้านการศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพ (PT Bank BTPN Tbk)
Gampong Berdaya Tampur Paloh (The Empower Gampung Paloh Program) (Subholding Upstream Pertamina)
TCC DAKA Industrial Eco Park โครงการความยั่งยืนที่ไม่ธรรมดาในด้านการสื่อสารเชิงอุตสาหกรรม การทำงานร่วมกันทางสังคม และการฟื้นฟูชุมชน ในรูปแบบของนิคมอุตสาหกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม (Taiwan Cement Corporation)
รางวัล GCSA ด้านแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศนี้มีคณะกรรมการตัดสิน 9 ท่าน ดังต่อไปนี้
ดร. Naoki Adachi (Response Ability Inc.)
Donald Eubank (Read the Air)
ดร. Juniati Gunawan (มหาวิทยาลัย Trisakti University ประเทศอินโดนีเซีย)
ศ. Tsai Chi Kuo (Taiwan Academy of Corporate Sustainability)
Martin Townsend (BSI Group)
ดร. Miriam Garvi (Vision Pioneers)
ดร. Max Jungmann (Momentum Novum)
รศ. Yung-Shuen Shen (Taiwan Corporate Sustainability Awards)
Keiichi Ushijima (EY Japan)
รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1680622/2021_GCSA_BP_PRNewswire__1.jpg