TD Securities วางใจใช้โซลูชันของ Suade Labs หนุนการจัดทำรายงาน

บริเวณชายฝั่งเป็นพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดสำหรับความสัมพันธ์ที่มีต่อกันระหว่างพื้นดิน มหาสมุทร และชั้นบรรยากาศ เนื่องจากเป็นพื้นที่เปลี่ยนผ่านระหว่างพื้นดินกับทะเลอันอุดมไปด้วยทรัพยากรที่หลากหลาย ซึ่งได้ทำให้บริเวณนี้เป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและมีประชากรหนาแน่น อย่างไรก็ตาม ด้วยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และกิจกรรมของมนุษย์ สภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาของเขตชายฝั่งทะเลจึงมีความเปราะบางอย่างยิ่ง และความเปราะบางดังกล่าวได้กลายเป็นปัญหาร้ายแรงในช่วงที่ผ่านมา

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น แผ่นดินทรุดตัว รวมถึงภัยธรรมชาติต่าง ๆ แนวชายฝั่งของประเทศไทยตลอดแนวทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีระยะทางรวมทั้งสิ้นประมาณ 2,600 กิโลเมตร โดยทะเลกัดเซาะชายฝั่งประมาณ 559 กิโลเมตรไป 5 ถึง 20 เมตรต่อปี นอกจากนี้ สภาพอากาศที่เลวร้ายบ่อยครั้งยังทำให้พื้นที่ชายฝั่งหลายแห่งต้องประสบปัญหาภัยแล้ง อุทกภัย และการรุกล้ำของน้ำทะเลอย่างรุนแรง

จีนและไทยต่างก็เป็นประเทศชายฝั่งทะเลที่สำคัญ ซึ่งเขตชายฝั่งทะเลได้รับผลกระทบอย่างมากจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและภัยธรรมชาติต่าง ๆ เช่น ไต้ฝุ่นกับน้ำท่วม โดยทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลงร่วมกันในการใช้และปกป้องทรัพยากรทางทะเล, การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางทะเล, การอนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเล, การพัฒนาที่ยั่งยืนทางทะเล และด้านอื่น ๆ อีกมากมายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากความแตกต่างของสภาพทางภูมิศาสตร์และกิจกรรมของมนุษย์ในเขตชายฝั่งทะเลของทั้งสองประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเปราะบางของชายฝั่งทะเลในประเทศไทย

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีนด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศทางทะเล ก่อตั้งขึ้นในจังหวัดภูเก็ตเมื่อเดือนมิถุนายน 2556 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเวทีทวิภาคีสำหรับความร่วมมือทางทะเลระหว่างไทยกับจีน การวิจัยร่วมเกี่ยวกับความเปราะบางของชายฝั่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากทั้งสองประเทศในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือนี้

นักวิทยาศาสตร์จากจีนและไทยได้ดำเนินการสำรวจภาคสนามในชายฝั่งประเภทต่าง ๆ เช่น ที่ราบชายฝั่ง, สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ, ที่ลุ่มราบน้ำขึ้นถึง, พื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นต้น โดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการหาประโยชน์และการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลเพื่อแสดงผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มีต่อความเปราะบางของชายฝั่ง นอกจากนี้ยังได้ทำการสำรวจการกัดเซาะชายฝั่งและการรุกล้ำของน้ำทะเลเพื่อเป็นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในการปกป้องเขตชายฝั่งทะเลอีกด้วย

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการข้อมูลได้จัดตั้งขึ้นตามการสำรวจภาคสนามและการรวบรวมข้อมูล โดยระบบดังกล่าวประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับธรณีวิทยาชายฝั่ง, ลักษณะภูมิประเทศ, ธรณีสัณฐานวิทยา, วิชาลำดับชั้นหิน, อุทกวิทยา, นิเวศวิทยา และการวิเคราะห์ข้อมูลภาพระยะไกล ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการประเมินความเปราะบางของชายฝั่งในประเทศไทย

นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังได้เลือกดัชนีการประเมินความเปราะบางชายฝั่งที่มีประสิทธิผล และสร้างแบบจำลองการประเมินความเสี่ยงเพื่อจำแนกระดับความเปราะบางของชายฝั่งตามพื้นที่ จากผลการประเมินนั้นคาดว่าจะมีการเสนอมาตรการที่เหมาะสมสำหรับระดับความเปราะบางที่แตกต่างกัน

คุณหลิว เฉิงฟา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน กล่าวว่า “การวิจัยร่วมในเรื่องความเปราะบางของชายฝั่งทะเลสามารถยกระดับขีดความสามารถในการตอบสนองต่อภัยธรรมชาติของประเทศไทย และเป็นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลอย่างยั่งยืน”

ด้วยการร่วมมือวิจัยในโครงการนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ดำเนินการสำรวจอย่างเป็นระบบในแม่น้ำ ทะเลสาบ และเขตชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันเป็นครั้งแรก แล้วรวบรวมแผนที่ประเภทตะกอนในมาตราส่วน 1:1,000,000 ในบริเวณนี้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับการวิจัยตะกอนพื้นทะเลเพิ่มเติม

คุณหลิว เฉิงฟาประทับใจกับน้ำใจของคนไทยอย่างยิ่ง หลังจากในระหว่างการสำรวจภาคสนาม คณะนักวิจัยไม่พบสถานที่ที่เหมาะสมในการเก็บตัวอย่างตะกอนในแม่น้ำ เจ้าของร้านอาหารในพื้นที่จึงกระโดดลงน้ำเพื่อช่วยเก็บตัวอย่างตะกอนให้จนตัวเปียกโชก

แม้ว่าการระบาดของไวรัสโควิด-19 จะเป็นอุปสรรคต่อนักวิจัยชาวไทยและจีนในการตรวจสอบและการประชุมในสถานที่จริง แต่กลุ่มนักวิจัยก็สามารถประสานงานกันได้ผ่านการประชุมทางวิดีโอ นักวิจัยจากไทยได้รับการฝึกอบรมออนไลน์จากนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนและมุ่งมั่นที่จะดำเนินการวิจัยภาคสนาม โดยสามารถก้าวข้ามผลกระทบด้านลบของโควิด-19 ได้เพื่อการเก็บตัวอย่างและข้อมูลที่จำเป็น

ด้วยการสนับสนุนของศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมไทย-จีน คุณหลิว เฉิงฟาจึงหวังที่จะส่งเสริมและเพิ่มความร่วมมือทางทะเลกับประเทศไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยจะมีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่แหล่งข้อมูลและผลงานวิจัย นอกจากนี้ คุณหลิวยังวางแผนที่จะจัดฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเลในขั้นต่อไป

“เราหวังว่าความร่วมมือของเราจะช่วยเพิ่มการแลกเปลี่ยนระหว่างนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ส่งเสริมการปลูกฝังผู้มีความสามารถ ตลอดจนยกระดับการวิจัยเกี่ยวกับความเปราะบางของชายฝั่งทะเลในที่สุด” คุณหลิว เฉิงฟากล่าว

รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/1700108/Mangrove_survey_Gulf_Thailand_2012.jpg
คำบรรยายภาพ: การสำรวจป่าชายเลนบริเวณอ่าวไทย ปี 2555