แนวร่วมปฏิบัติด้านขยะพลาสติกของ CGF ได้เปิดตัว “กฎทองด้านการออกแบบ” อย่างเต็มรูปแบบเพื่อจัดการกับปัญหาขยะพลาสติก

แนวร่วมปฏิบัติด้านขยะพลาสติกของประชาคมสินค้าอุปโภคบริโภค (CGF) ซึ่งมีวิสัยทัศน์ร่วมกันในการพัฒนาโลกที่ขยะพลาสติกจะไม่เล็ดรอดเข้าสู่ธรรมชาติ ไม่ว่าจะบนบกหรือในน้ำ ได้ประกาศขั้นตอนสำคัญล่าสุดของสมาชิกประชาคมในการพลิกโฉมความสัมพันธ์ของอุตสาหกรรมกับบรรจุภัณฑ์พลาสติกในวันนี้ สมาชิกทั้ง 42 รายของประชาคมได้เผยแพร่ “กฎทองด้านการออกแบบ” เจ็ดข้อที่เหลือ ซึ่งตามหลังการเปิดตัวกฎสองข้อแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2020 สมาชิกประชาคมมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามกฎเหล่านี้ หลังจากได้ระบุและจัดลำดับความสำคัญของโอกาสในกลุ่มบรรจุภัณฑ์ที่สมาชิกสามารถสร้างผลกระทบที่ตรงจุดและมีคุณค่าได้ ประชาคม ซึ่งมีวิสัยทัศน์ของ มูลนิธิเอลเลน แม็กอาร์เธอร์สำหรับระบบเศรษฐกิจพลาสติกแบบใหม่ชี้นำ ที่ CGF ได้สนับสนุนเมื่อเดือนตุลาคม 2018 มุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนให้เกิดพัฒนาการสู่การสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน ระหว่างการเปิดตัวในช่วงปีที่แล้ว ประชาคมจึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ของพัฒนาการ ซึ่งอยู่ในด้านสำคัญๆ สี่ด้านด้วยกัน ได้แก่: การออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ การจัดทำกรอบโครงการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (EPR) ที่เหมาะสมที่สุด การส่งเสริมให้มีการรังสรรค์นวัตกรรมด้านการรีไซเคิล และการนำร่องโครงการใหม่ๆ ในตลาดขั้นสูงและตลาดที่กำลังเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มอัตราการรีไซเคิล และเพื่อเป็นการผลักดันสิ่งที่มีความสำคัญอันดับแรก สมาชิกของแนวร่วมปฏิบัติก็ได้กำหนด “กฎทองคำสำหรับการออกแบบ”สองข้อแรกขึ้นมาสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์พลาสติก เพื่อเร่งรัดการบรรลุเป้าหมายของการใช้พลาสติกที่ดีขึ้นและน้อยลง พันธกรณีชุดนี้ที่มีกำหนดเวลา อิสระและโดยสมัครใจจะสร้างคุณค่าอย่างมีนัยสำคัญต่ออุตสาหกรรมและระบบในวงกว้าง และเป็นการสร้างแรงกระตุ้นที่จำเป็นในการเปลี่ยนแปลงการออกแบบเพิ่มเติม เพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในพันธกรณีระดับโลกด้านระบบเศรษฐกิจพลาสติกใหม่ กฎระเบียบด้านการออกแบบล่าสุดเน้นที่การกำจัดบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่จำเป็น ด้วยการลดช่องว่างเหนือผลิตภัณฑ์ในบรรจุภัณฑ์และห่อชั้นนอกพลาสติก รวมถึงการเพิ่มคุณค่าการรีไซเคิลพลาสติกประเภทต่างๆ ตลอดจนบรรจุภัณฑ์ PET โดยใช้เทคนิคเทอร์โมฟอร์ม บรรจุภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคที่ยืดหยุ่นและ HDPE และ PP ชนิดแข็งตัว นอกจากนี้ […]