ไลแกนดัล อิงค์ แต่งตั้ง ทูชาร์ นูวาล เป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกิจ

ไลแกนดัล อิงค์ (Ligandal Inc.) บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพด้านเวชพันธุศาสตร์ (Genetic Medicine) ระยะเริ่มต้น ประกาศแต่งตั้งคุณทูชาร์ นูวาล (Tushar Nuwal) เป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกิจ คุณนูวาลสั่งสมประสบการณ์ 20 ปีในแวดวงชีวเภสัชภัณฑ์ โดยดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในบริษัทเภสัชภัณฑ์ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ คุณอองเดร วัตสัน (Andre Watson) ประธานและซีอีโอของไลแกนดัล อิงค์ กล่าวว่า “เรามีความยินดีที่ได้ต้อนรับทูชาร์สู่ไลแกนดัล เขามีประสบการณ์ในการเจรจาธุรกรรมด้านเภสัชภัณฑ์มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ และมีแรงผลักดันที่จะขยายแพลตฟอร์มของไลแกนดัล ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่งต่อการเติบโตของเรา” คุณนูวาลเป็นผู้คร่ำหวอดในแวดวงเภสัชภัณฑ์ระดับโลก เขาเคยเป็นผู้นำทั้งในด้านการวิจัยและพัฒนา การผลิต การจัดการผลิตภัณฑ์และการเปิดตัว การดำเนินงาน การพัฒนาธุรกิจและองค์กร การออกใบอนุญาต และกลยุทธ์เชิงพาณิชย์ โดยบทบาทล่าสุดของเขาคือรองประธานบริษัท โพลีพิด อิงค์ (Polypid Inc.) ในฐานะผู้นำด้านการพัฒนาธุรกิจและการออกใบอนุญาต ก่อนหน้านั้นเขาดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารฝ่ายการพัฒนาธุรกิจและการออกใบอนุญาตของแซนดอส (Sandoz) ซึ่งเป็นธุรกิจมูลค่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ในเครือบริษัทโนวาร์ตีส (Novartis) เส้นทางอาชีพของคุณนูวาลบรรลุผลสำเร็จอย่างน่าประทับใจ โดยเขาประสบความสำเร็จในการเป็นผู้นำและปิดธุรกรรมมูลค่ากว่า 2 พันล้านดอลลาร์ รวมถึงการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ต่อปีมากกว่า […]

สมาพันธ์ตับอักเสบโลกรณรงค์สร้างความตระหนักรู้เรื่องโรคไวรัสตับอักเสบ หลังผลวิจัยชี้ไวรัสตับอักเสบบีและซีเสี่ยงก่อมะเร็งยิ่งกว่าการสูบบุหรี่วันละซอง

เนื่องในวันตับอักเสบโลก (World Hepatitis Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 28 กรกฎาคมของทุกปี สมาพันธ์ตับอักเสบโลก (World Hepatitis Alliance) ได้ร่วมมือกับเครือข่ายทั่วโลกที่ประกอบด้วยสมาชิก 323 ราย ในกว่า 100 ประเทศ จัดแคมเปญรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ระดับโลก “We’re not waiting” หรือ “เราไม่รอ” เพื่อเร่งต่อสู้กับโรคไวรัสตับอักเสบ หนึ่งในโรคและวิกฤตสุขภาพที่ร้ายแรงที่สุดซึ่งคร่าชีวิตผู้ป่วยทุก ๆ 30 วินาที แต่กลับถูกละเลยมากที่สุด ผลวิจัยใหม่ที่มูลนิธิศูนย์วิเคราะห์โรค (Center for Disease Analysis (CDA) Foundation) ได้นำเสนอในการประชุมสมาคมยุโรปเพื่อการศึกษาตับ (EASL Congress) [1] แสดงให้เห็นว่า ไวรัสตับอักเสบบีและซีมีโอกาสก่อมะเร็งสูงในอวัยวะและตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกาย โดยมีรายงานว่าผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี “มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งใกล้เคียงหรือสูงกว่าคนที่สูบบุหรี่วันละซอง” จึงสรุปได้ว่าไวรัสตับอักเสบบีและซี “ควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นการติดเชื้อที่ก่อให้เกิดมะเร็ง และแนวปฏิบัติสากลก็ควรพิจารณาใหม่เช่นเดียวกัน” ผลสำรวจเมื่อเร็ว ๆ นี้ [2] โดยสมาพันธ์ตับอักเสบโลก พบว่า […]

สมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติยื่นคำร้องคัดค้านการระบุสถานะลิงแสมโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ

ในการร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์อิสระซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือ สมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติ (National Association for Biomedical Research หรือ NABR) ยื่นคำร้องต่อองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature หรือ IUCN) เพื่อคัดค้านการระบุสถานะลิงแสม (Cynomolgus macaque) เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ภายใต้เกณฑ์การจัดประเภทสถานะของ IUCN ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานนี้ ทั้งนี้ การระบุสถานะครั้งนี้เป็นผลจากการใช้ข้อมูลอย่างไม่เหมาะสมซึ่งไม่ได้สนับสนุนว่าสปีชีส์ดังกล่าวเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ในการนี้ NABR เรียกร้องให้มีการตรวจสอบโดยทันที ประธานสมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติ คุณแมทธิว อาร์. เบลีย์ (Matthew R. Bailey) กล่าวว่า “วานรที่ไม่ใช่มนุษย์มีสัดส่วนไม่ถึง 0.5% ของสัตว์ทั้งหมดที่ใช้ในการวิจัย แต่กระนั้นก็มีบทบาทสำคัญในการพัฒนายา อุปกรณ์ และวัคซีนใหม่ ๆ สำหรับคนและสัตว์เลี้ยง ยาและวิธีการรักษาหลายหมื่นรายการอาจไม่สามารถผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนาได้เลยหากไม่มีลิงแสมในการวิจัย การจัดสถานะลิงแสม ตลอดจนมาตรการจำกัดการนำเข้าใด ๆ ที่จะตามมา ต้องอิงกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดที่มีอยู่ การจำกัดการนำเข้าลิงแสมโดยพลการอาจส่งผลให้ชีวิตมนุษย์หลายล้านคนตกอยู่ในอันตรายและก่อภัยคุกคามด้านสาธารณสุขระดับโลก” “การจัดประเภทลิงแสมเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์โดย IUCN เป็นการสร้างแบบอย่างที่อันตราย […]

โคอา เฮลท์ จับมือ อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ช่วยพนักงานทั่วโลกเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตอย่างต่อเนื่อง

โคอา เฮลท์ (Koa Health) ผู้นำระดับโลกด้านบริการดูแลสุขภาพจิตแบบดิจิทัล ประกาศความร่วมมือครั้งใหม่กับ อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส (International SOS) ผู้บุกเบิกและผู้นำด้านโซลูชั่นการบริหารความเสี่ยงด้านสุขภาพและความมั่นคงปลอดภัยระดับสากล เพื่อปลดล็อกคุณค่าของการมีสุขภาพและสุขภาวะทางจิตที่ดีในสถานที่ทำงานทุก ๆ แห่ง โคอา ฟาวน์เดชั่นส์ (Koa Foundations) แอปเพื่อสุขภาวะทางจิตที่ผ่านการทดสอบทางการแพทย์ ของโคอา เฮลท์ จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศสุขภาพจิตของอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส เนื่องจากทั้งสองบริษัทจะร่วมมือกันเพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพจิตของพนักงานอย่างต่อเนื่อง โคอา ฟาวน์เดชั่นส์ ซึ่งเป็นแอประดับแนวหน้าที่อิงหลักวิทยาศาสตร์ จะถูกรวมเข้าสู่บริการ Workforce Resilience Subscription ของอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ซึ่งทำให้องค์กรต่าง ๆ สามารถเพิ่มความยืดหยุ่นทางจิตใจและสนับสนุนพนักงานทั่วโลกในการจัดการกับความท้าทายด้านสุขภาพจิตในชีวิตประจำวัน อันจะเป็นการลดความเสี่ยงทั้งต่อตัวบุคคลและองค์กรธุรกิจ ตลอดจนการขับเคลื่อนผลลัพธ์เชิงบวกสำหรับทั้งพนักงานและองค์กร โคอา ฟาวน์เดชั่นส์ มีผู้ใช้งานมากกว่า 3 ล้านคนทั่วโลก เป็นมากกว่าแอปเพื่อสุขภาวะที่ดี ปรับปรุงการเข้าถึงการสนับสนุนด้านสุขภาพจิต และครอบคลุมกิจกรรมจิตบำบัดรูปแบบต่าง ๆ โดยอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy: CBT) การยอมรับและพันธสัญญา (Acceptance […]

ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลเดอะ ชอว์ ประจำปี 2566

รางวัลดาราศาสตร์ เดอะ ชอว์ ( The Shaw Prize in Astronomy) มอบให้บุคคลดังต่อไปนี้ในสัดส่วนเท่ากัน แมทธิว เบลส์ ( Matthew Bailes) ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วง ในสังกัดสภาวิจัยแห่งออสเตรเลีย (ARC) ดันแคน ลอริเมอร์ ( Duncan Lorimer) ศาสตราจารย์และประธานชั่วคราวประจำแผนกฟิสิกส์และดาราศาสตร์ และรองคณบดีฝ่ายวิจัย วิทยาลัยศิลปะและวิทยาศาสตร์เอเบอร์ลี มหาวิทยาลัยเวสต์เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา และ มอรา แม็คลอลิน ( Maura McLaughlin) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ เอเบอร์ลี แฟมิลี ประจำแผนกฟิสิกส์และดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสต์เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา จากการค้นพบการปะทุของคลื่นวิทยุแบบฉับพลัน (FRB) รางวัลวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการแพทย์ เดอะ ชอว์ ( The Shaw Prize in Life Science and Medicine) มอบให้บุคคลดังต่อไปนี้ในสัดส่วนเท่ากัน […]

เมนารินี กรุ๊ป เผยผลการวิเคราะห์ใหม่จากโครงการศึกษาทางคลินิก EMERALD สำหรับออร์เซอร์ดู (อีลาเซสแทรนท์) ในมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย ที่งานประชุมสมาคมมะเร็งวิทยาเชิงคลินิกแห่งสหรัฐฯ ประจำปี 2566

ออร์เซอร์ดู (อีลาเซสแทรนท์) ได้รับการอนุมัติโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ เมื่อเดือนมกราคม 2566 สำหรับการรักษามะเร็งเต้านมระยะลุกลามหรือระยะแพร่กระจาย ชนิดตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นบวกและตัวรับเอชอีอาร์ 2 เป็นลบ ที่มีการกลายพันธุ์ของยีน ESR1 ซึ่งพบในสัดส่วนสูงสุด 40% ของเนื้องอกมะเร็ง ในผู้ป่วยที่เนื้องอกมะเร็งมีการกลายพันธุ์ของยีน ESR1 การวิเคราะห์กลุ่มย่อยภายหลังก่อนหน้านี้ชี้ว่า สำหรับผู้ที่เคยรับยายับยั้ง CDK4/6 อย่างน้อย 12 เดือน การรักษาด้วยอีลาเซสแทรนท์เป็นยาทางเลือกลำดับสอง ส่งผลให้มีค่ามัธยฐานการอยู่รอดโดยโรคสงบ (PFS) 8.6 เดือน เทียบกับ 1.9 เดือนในการรักษาตามมาตรฐานทั่วไป การวิเคราะห์กลุ่มย่อยภายหลังครั้งใหม่นี้ขยายความเข้าใจเกี่ยวกับแนวโน้มบทบาทของอีลาเซสแทรนท์ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิด ER+/HER2- ที่ไม่พบการกลายพันธุ์ของยีน ESR1 ผู้ป่วยที่มีการลุกลามของโรคภายในหกเดือนของการรักษาด้วยยายับยั้ง CDK4/6 มีค่ามัธยธานการอยู่รอดโดยโรคสงบ 5.32 เดือนในการรักษาด้วยอีลาเซสแทรนท์ เทียบกับ 1.87 เดือนในการรักษาตามมาตรฐานทั่วไป ข้อมูลเหล่านี้ แม้จะยังอยู่ในขั้นการสำรวจ แต่ก็ได้ต่อยอดความเข้าใจของเราเกี่ยวกับการใช้อีลาเซสแทรนท์เป็นการรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัดแบบรับประทานในการรักษามะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายด้วยยาทางเลือกลำดับสอง เมนารินี กรุ๊ป (Menarini Group) หรือ “เมนารินี” (Menarini) บริษัทชั้นนำสัญชาติอิตาลีผู้พัฒนาเภสัชภัณฑ์และระบบวินิจฉัยโรค และสเต็มไลน์ เทอร์ราพิวติกส์ […]

ออมรอน เฮสธแคร์ ฉลองครบรอบ 50 ปีประวัติศาสตร์เครื่องวัดความดันโลหิต

บริษัท ออมรอน เฮสธแคร์ จำกัด (OMRON Healthcare Co., Ltd.) ซึ่งในที่นี้จะเรียกว่า “บริษัท” ตั้งอยู่ในเมืองมุโก จังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น มีความภูมิใจที่จะประกาศการเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีในการผลิตเครื่องวัดความดันโลหิตในปีนี้ ออมรอน เฮสธแคร์ เปิดตัวเครื่องวัดความดันโลหิตแบบแมนนวลและแบบมาโนมิเตอร์เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2516 นับตั้งแต่นั้นบริษัทก็ได้พัฒนาและผลิตเครื่องวัดความดันโลหิตที่แม่นยำและเป็นมิตรกับผู้ใช้อย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน บริษัทมียอดขายมากกว่า 350 ล้านเครื่องในกว่า 110 ประเทศทั่วโลก โลโก้: https://kyodonewsprwire.jp/img/202305165636-O5-THg59uEz บริษัทเชื่อมั่นเสมอต่อความสำคัญในการตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้าน แม้การอ่านค่าความดันโลหิตจะสามารถทำได้ที่สถานพยาบาลเท่านั้น โดยในปี 2534 บริษัทได้เปิดตัวเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติเครื่องแรกของโลกที่ใช้เทคโนโลยีฟัซซีลอจิก (fuzzy logic) (*) เพื่อเพิ่มความแม่นยำและใช้งานง่ายกว่าเครื่องวัดแบบแมนนวล ซึ่งนอกจากความก้าวหน้าของเครื่องวัดความดันโลหิตแล้ว บริษัทยังทุ่มเทความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผ้าพันแขนสำเร็จรูปที่ผู้ใช้นำไปพันแขนของตนได้อย่างปลอดภัยและง่ายดาย นอกจากนี้ บริษัทยังมุ่งยกระดับขีดความสามารถในการใช้งานและความแม่นยำในการวัด โดยขยายขอบเขตฟังก์ชันสนับสนุนเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ใช้รักษาท่าทางการวัดที่ถูกต้อง (*) ฟังก์ชันตั้งค่าความดันอัตโนมัติ รูปภาพ 1: ครื่องวัดความดันโลหิตเครื่องแรก: HEP-1 https://kyodonewsprwire.jp/img/202305165636-O1-9z3sXW19 รูปภาพ 2: เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติระบบฟัซซีลอจิกเครื่องแรกของโลก: HEM-706 https://kyodonewsprwire.jp/img/202305165636-O6-uDd2KOhG […]

“เมอร์ค” เปิดตัวโครงการริเริ่มใหม่ ชูความสำคัญในการเพิ่มจำนวนประชากรอย่างยั่งยืนทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

โครงการเฟอร์ทิลิตี เคานต์ส มุ่งชูผลลัพธ์ที่อัตราการเกิดต่ำมีต่อเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียแปซิฟิก ชุดเครื่องมือนโยบายการเจริญพันธุ์ซึ่งอีโคโนมิสต์ อิมแพกต์ เป็นผู้ออกแบบ และเมอร์คให้การสนับสนุน ให้คำแนะนำเรื่องนโยบายอย่างมีหลักฐานรองรับ เพื่อช่วยสร้างสังคมที่เอื้ออำนวยต่อครอบครัวทั่วเอเชียแปซิฟิกมากขึ้น เมอร์ค (Merck) บริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำ ประกาศเปิดตัวโครงการใหม่อย่างเฟอร์ทิลิตี เคานต์ส (Fertility Counts) ซึ่งมุ่งจัดการปัญหาท้าทายด้านสังคมและเศรษฐกิจ อันเป็นผลจากอัตราการเกิดต่ำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) โครงการดังกล่าวออกแบบมาเพื่อให้ผลการศึกษาและทรัพยากร ให้เหล่าผู้กำหนดนโยบายนำไปปรับใช้กับนโยบายของตน เพื่อช่วยให้สร้างสังคมที่เอื้ออำนวยต่อครอบครัวต่าง ๆ ได้มากขึ้น อัตราการเกิดของหลาย ๆ ประเทศในเอเชียแปซิฟิกลดลงอย่างมากในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อทั้งขนาดและโครงสร้างของประชากร จำนวนเด็กที่เกิดโดยเฉลี่ยต่อผู้หญิงหนึ่งคนทั่วทั้งภูมิภาคนั้นลดลงถึงสามเท่ามาตั้งแต่ปี 2503 จาก 5.4 ในปี 2503 เหลือเพียง 1.8 ในปี 2563[1] โดยที่บางประเทศลดลงมากยิ่งกว่านั้น แม้อัตราการเกิดที่ลดลงจะนำไปสู่โอกาสทางสังคมและเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้หญิงทั่วภูมิภาค แต่ปัจจุบันหลายประเทศเผชิญกับความท้าทายในการรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจเมื่อมีกำลังแรงงานลดลง และการสร้างสมดุลกับความต้องการของสังคมสูงวัย[1] “แนวโน้มที่เราเห็นเกี่ยวกับภาวะเจริญพันธุ์ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะส่งผลระยะยาวต่อทุกส่วนของสังคม ทั้งเศรษฐกิจ ระบบการรักษาพยาบาล และการดูแลผู้สูงอายุในอนาคต” ศ.นพ. กำธร พฤกษานานนท์ ประธานคณะอนุกรรมการเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าว […]

16 ม.ค.วันครูแห่งชาติ รำลึกถึงครูแพทย์ผู้ยิ่งใหญ่ ศ.นพ.อวย เกตุสิงห์

ตลอดระยะเวลา 133 ปี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ผลิตบุคลากร ออกมารับใช้สังคมอย่างต่อเนื่องหลายท่านทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างสุขภาพที่ดีของพี่น้องประชาชนในถิ่นทุรกันดาร อีกหลายคนมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนและปฏิรูประบบสาธารณสุขของประเทศ และอีกไม่น้อยที่มีส่วนในการคิดค้น วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ซึ่งไม่ได้ส่งผลดีเฉพาะคนไทยเท่านั้น แต่ยังช่วยแก้ไขปัญหาในระดับโลก หากแต่เบื้องหลังความสำเร็จนี้ล้วนมีครูแพทย์ ผู้อุทิศแรงกายแรงใจ เพื่อปลูกฝังจิตวิญญาณความเป็นแพทย์ที่ดีให้เกิดขึ้นในใจของลูกศิษย์ทุกคน เนื่องในวันครูแห่งชาติ 16 มกราคม พ.ศ. 2565 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล จึงขอชวนรำลึกถึง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ เรือโท นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ร.น. อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็นแบบอย่างและแรงผลักดันให้ลูกศิษย์ เพราะนอกจากความรู้ เรื่องสรีรวิทยา เภสัชวิทยา และชีวเคมี ซึ่งเป็นวิชาหลักที่สอนแล้ว ท่านยังพยายามบ่มเพาะคุณลักษณะของการเป็นแพทย์ ทั้งความกล้าคิดกล้าทำ ระเบียบวินัย ความละเอียดรอบคอบ รวมไปถึงความรับผิดชอบที่มีต่อสังคม ตลอดจนยังเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ด้วยการนำนักศึกษาจากเมืองไปช่วย ก่อสร้างโรงเรียนในชนบท เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เข้าใจและรับทราบถึงความยากลำบากของผู้คนในถิ่นทุรกันดาร และก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาสังคมต่อไป ที่สำคัญท่านยังเป็นนักบุกเบิกคนสำคัญ ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์มาแล้วมากมาย อย่างการผลิตน้ำเกลือ ซึ่งท่านคิดค้นขึ้นในช่วงที่บ้านเรายังต้องนำเข้าน้ำเกลือราคาแพงจากต่างประเทศ จนเมืองไทยสามารถผ่านพ้นวิกฤตอหิวาตกโรคระบาด เมื่อ พ.ศ. 2501 […]

ผลวิจัยใหม่ชี้ ยาแอนติบอดี JMB2002 มีฤทธิ์ต้านโควิดโอมิครอน

ผลการวิจัยร่วมจากสถาบันชีววัตถุของบริษัท Jemincare กับสถาบันมาเทอเรีย เมดิกาแห่งเซี่ยงไฮ้ (SIMM) ภายใต้สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS) ยืนยันว่ายา JMB2002 ซึ่งเป็นแอนติบอดีลบล้าง (NAb) ไวรัส SARS-CoV-2 ที่ค้นพบโดยสถาบันชีววัตถุของบริษัท Jemincare นั้น ยังคงมีประสิทธิผลกับไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์โอมิครอน ทีมนักวิทยาศาสตร์นำโดยดร.ซู-จุน เติ้ง จากศูนย์การวิจัยและพัฒนาแห่งสถาบันชีววัตถุของบริษัท Jemincare ร่วมกับทีมนักวิทยาศาสตร์จาก SIMM สังกัด CAS นำโดยศาสตราจารย์เอช เอริค ซู และดร.ว่านเฉา หยิน ยืนยันว่า JMB2002 มีการยึดจับกับสายพันธุ์โอมิครอนและมีฤทธิ์ลบล้างอนุภาคเทียม (Pseudovirus) อีกทั้งยังแก้ไขโครงสร้างโปรตีนหนาม (Spike Protein) ของโอมิครอนที่จับกับ ACE2 และ JMB2002 ตามลำดับอีกด้วย (รูป 1 และรูป 2) การวิจัยร่วมดังกล่าวเผยให้เห็นกลไกความสามารถในการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นและการหลบภูมิคุ้มกันของสายพันธุ์โอมิครอนที่ระดับโมเลกุล และแสดงให้เห็นกลไกการยึดจับที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของ JMB2002 ที่แตกต่างจาก NAb อื่น ๆ […]

‘ศิริราช’ ปลื้ม! WHO อ้างอิงผลวิจัยวัคซีน ‘สูตรไขว้ เข็ม 3’ เผยแพร่ทั่วโลก

เมื่อเร็วๆ นี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ลงพิมพ์ Interim recommendations for heterologous COVID-19 vaccine schedules ใน Interim guidance โดยเผยคำแนะนำเบื้องต้นในการฉีดวัคซีนโควิด-19 แบบต่างชนิดกัน หรือวัคซีนสูตรไขว้ ทั้งการใช้วัคซีนต่างชนิดกันในเข็มที่สอง หรือเป็นวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันในเข็มที่สาม โดยอ้างอิงเอกสารการศึกษาจากทั่วโลก รวมถึงข้อมูลการศึกษาวิจัยของประเทศไทย ในการใช้วัคซีนเชื้อตาย ตามด้วยไวรัสเวกเตอร์ หรือ mRNA เข้าไปด้วย ซึ่งหนึ่งในข้อมูลสนับสนุนดังกล่าวนี้ มาจากผลการศึกษาวิจัยในโครงการการศึกษาความปลอดภัยและการตอบสนองภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 กระตุ้นเข็มที่ 3 : Booster Study โดยศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล นำโดย รศ.พญ.ณสิกาญจน์ อังคเศกวินัย, ผศ.ดร.นพ.จตุรงค์ เสวตานนท์, ผศ.พญ.ศันสนีย์ เสนะวงษ์, ผศ.ดร.พญ.สุวิมล นิยมในธรรม, ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ และผู้วิจัยจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ดร.สมปอง ทรัพย์สุทธิภาสน์, ดร.สภาพร ภูมิอมร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข […]

LINEPHARMA ยื่นขออนุมัติผลิตและวางตลาดยาเม็ดทำแท้งในญี่ปุ่น

บริษัท Linepharma International Ltd. ผู้นำด้านยาทำแท้งระดับโลก ประกาศว่า Linepharma KK ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ได้ยื่นขออนุมัติผลิตและวางตลาดยาเม็ด MEFEEGO(TM) ในญี่ปุ่นเพื่อใช้ยุติการตั้งครรภ์ภายในระยะมีครรภ์ไม่เกิน 63 วัน โดยยาตัวนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นมาตรฐานหลักในระดับสากลสำหรับการทำแท้งภายใน 3 เดือนแรก(i) และอยู่ในรายชื่อยาหลักสำหรับการทำแท้งขององค์การอนามัยโลก (WHO) อีกด้วย(ii) หากยื่นอนุมัติในญี่ปุ่นได้สำเร็จ ก็จะเป็นยาทำแท้งตัวแรกที่ได้รับการอนุมัติในญี่ปุ่นหลังจากที่ยาดังกล่าวได้เปิดตัวไปแล้วในออสเตรเลียกับแคนาดาและล่าสุดในเกาหลีใต้ที่ทางบริษัทจะยื่นขออนุมัติกับหน่วยงานด้านสาธารณสุขในปลายปีนี้ โดยยาทำแท้งดังกล่าวมีประวัติความปลอดภัยเป็นเลิศใน 80ประเทศทั่วโลก(iii) ยาที่จะวางจำหน่ายในญี่ปุ่นในชื่อ MEFEEGO(TM) นี้คือยามิฟีพริสโตน (Mifepristone) กับยาไมโซพรอสตอล (Misoprostol) ซึ่งทางบริษัทนำมารวมในแพ็คเดียวกันเป็นรายแรกของโลก โดยคำขออนุมัติถึงองค์การเภสัชกรรมและอุปกรณ์การแพทย์แห่งญี่ปุ่น (PMDA) นั้นอิงตามผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วยผู้หญิง 120 คน อายุระหว่าง 18-45 ปี หากยาตัวนี้ได้รับอนุมัติ สตรีชาวญี่ปุ่นจำนวน 156,430 คนที่ทำแท้งด้วยการผ่าตัดในปี2562 เพียงอย่างเดียวก็จะมีตัวเลือกการรักษาเพิ่มเติมตามความต้องการของแต่ละคน แมเรียน อัลแมนน์ ผู้จัดการทั่วไปของ Linepharma International กล่าวว่า “Linepharma เป็นผู้บุกเบิกระดับโลกในด้านยาทำแท้งและมุ่งยกระดับสุขภาพทางเพศและสุขภาพการเจริญพันธุ์ […]

1 2 5