องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ และการห้ามใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคเข้าสู่แผนปฏิบัติการด้านการดื้อยา ต้านจุลชีพแห่งชาติ ฉบับที่ 2

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก เรียกร้องภาครัฐให้บรรจุประเด็นเรื่องการพัฒนามาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ฟาร์มให้สูงขึ้นตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายการห้ามใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคแบบรวมกลุ่มอย่างเข้มงวด ในแผนปฏิบัติการด้านการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 อย่างเร่งด่วน พร้อมทั้งแสดงความผิดหวังต่อร่างล่าสุดของแผนดังกล่าวที่ยังคงไม่ได้ให้ความสำคัญต่อสวัสดิภาพสัตว์ซึ่งเป็นต้นตอของการเกิดและแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาจากฟาร์มอุตสาหกรรมสู่ห่วงโซ่อาหาร สิ่งแวดล้อมและแหล่งน้ำสาธารณะ ปัญหาสวัสดิภาพสัตว์เชื่อมโยงกับวิกฤตเชื้อดื้อยาอย่างแยกออกจากกันไม่ได้ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection) ร่วมกับอาสาสมัครได้ลงพื้นที่สำรวจแหล่งน้ำรอบๆฟาร์มหมูอุตสาหกรรมพร้อมพูดคุยกับชุมชนที่ได้รับผลกระทบเพื่อสรุปและเผยผลงานวิจัย “มัจจุราชดื้อยาแฝงในแหล่งน้ำใกล้ตัวคุณ” ที่แสดงหลักฐานสำคัญของการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาในเนื้อสัตว์ สิ่งแวดล้อมและแหล่งน้ำสาธารณะในประเทศไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสมในฟาร์มอุตสาหกรรม ผลการวิจัยดังกล่าวยังชี้ให้เห็นถึงปัญหาการจัดการสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มอุตสาหกรรมที่ย่ำแย่ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาดังกล่าว ปัจจุบันกว่า 3 ใน 4 ของปริมาณยาปฏิชีวนะที่มีอยู่ทั่วโลกถูกใช้กับสัตว์ฟาร์ม การใช้ยาปฏิชีวนะจำนวนมหาศาลนี้มีสาเหตุหลักมาจากการเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีสวัสดิภาพ สัตว์ในระบบฟาร์มอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะถูกขัง อยู่ในกรงอย่างทุกข์ทรมาน เช่น แม่หมูถูกขังอยู่ในกรงแคบ ๆ ลูกหมูโดนตัดตอนอวัยวะอย่างเจ็บปวด รวมถึงการถูกแยกจากแม่ตั้งแต่ยังเล็ก หรือแม้กระทั่งไก่ที่มีการเลี้ยงรวมกันอยู่อย่างหนาแน่น ฯลฯ แม้ว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เสนอแนะว่ายาปฏิชีวนะไม่ควรถูกใช้เพื่อป้องกันโรคแบบรวมกลุ่มในสัตว์ฟาร์ม และมีการคาดการณ์ว่าการใช้ยาปฏิชีวนะในภาคการปศุสัตว์นี้เพิ่มสูงขึ้นถึง 67% ระหว่างปี พ.ศ. 2553 – 2573 ผลกระทบจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างมหาศาลในภาคการเกษตรร่วมกับแหล่งอื่นก่อให้เกิดวิกฤติด้านสุขภาพระดับโลก เนื่องจากเชื้อดื้อยามีการแพร่กระจายจากฟาร์มไปสู่คนได้โดยช่องทางต่างๆ เช่นการสัมผัสโดยตรงของคนงาน การปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหารและปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมแหล่งน้ำสาธารณะ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ได้เข้าร่วมในกระบวนการพัฒนาแผนปฏิบัติการด้านการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง โดยได้นำเสนอผลงานวิจัย รายงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ตลอดจนสะท้อนเสียงของชาวบ้าน ในชุมชนที่อยู่แวดล้อมฟาร์มอุตสาหกรรมที่มีความกังวลต่อสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวและถามหาหน่วยงานรับผิดชอบที่จะช่วยสร้างความมั่นใจในชีวิตและความปลอดภัยของพวกเขาได้ นอกจากนั้นยังได้มีการนำเสนอ […]

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก เผยประเทศไทย เป็นหนึ่งในเส้นทางการค้าสัตว์ป่าระดับโลก

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection) เผยรายงานล่าสุดชี้สายการบินเอธิโอเปียนแอร์ไลน์ (Ethiopian Airlines) ขนส่งสัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตจากแอฟริกาไปสู่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย เพื่อนำไปขายต่อเป็นสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ (Exotic Pets) สร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดใหม่ในอนาคต ทำลายสวัสดิภาพสัตว์และความพยายามในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่า รายงาน ‘Cargo of Cruelty’ ได้สรุปผลการวิเคราะห์การมีส่วนเกี่ยวข้องของสายการบินในส่งเสริมขบวนการค้าสัตว์ป่าทั่วโลกผ่านการตรวจสอบความเคลื่อนไหวบนโซเชียลมีเดีย พบว่าการส่งออกสัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตข้ามทวีปเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการนำสัตว์ป่ามาเป็นสัตว์เลี้ยง แม้ว่าผู้ค้าไม่มีใบอนุญาต ขณะที่มาตรการควบคุมและกำกับดูแลที่มีอยู่ในปัจจุบันก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ นอกจากนี้ รายงานยังพบการค้าที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดและกฎหมายระหว่างประเทศ สะท้อนให้เห็นว่า การมีกฎหมายไม่สามารถช่วยให้กระบวนการค้าสัตว์ป่าเป็นไปอย่างปลอดภัย ยั่งยืน และมีมนุษยธรรม เอธิโอเปียนแอร์ไลน์เป็นสายการบินขนาดใหญ่ของภูมิภาคเเอฟริกาที่เอื้อประโยชน์ต่อการสร้างเครือข่ายลักลอบค้าสัตว์ป่า โดยรายงาน Cargo of Cruelty ระบุว่า เอธิโอเปียนแอร์ไลน์เป็นสายการบินที่ขนส่งสัตว์ออกจากทวีปแอฟริกาตะวันตกมากที่สุด ซึ่งสัตว์ป่าที่ถูกจับมาเป็นสินค้ารวมถึงสัตว์ที่อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ สายพันธุ์ที่ไม่เคยค้นพบมาก่อน หรือสายพันธุ์ที่ประชากรมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง การกระทำดังกล่าวทำให้สัตว์ป่าต้องทุกข์ทรมานจากการถูกกักขังในสภาพแวดล้อมย่ำแย่ ตกอยู่ในสภาวะตึงเครียด เสี่ยงต่อการล้มป่วย และอาจตายจากอาการติดเชื้อ สัตว์ป่าเหล่านี้ถูกเสนอขายบนโซเชียลมีเดียและถูกขนส่งประมาณ 9 ครั้งต่อเดือน ไปยังอย่างน้อย 18 ประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศไทย การขนส่งเกิดขึ้นอย่างน้อยบน 13 เส้นทางผ่านสายการบินหลายเจ้า โดยจากรายงานพบว่า ในการขนส่งผ่านเอธิโอเปียนแอร์ไลน์อย่างน้อย 5 […]

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก พบเชื้อดื้อยาอันตราย ในแหล่งน้ำใกล้ฟาร์มอุตสาหกรรมในไทย

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก พบเชื้อดื้อยาอันตราย ในแหล่งน้ำใกล้ฟาร์มอุตสาหกรรมในไทย องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก เผยรายงาน “มัจจุราชเชื้อดื้อยาแฝงในแหล่งน้ำใกล้ตัวคุณ”   (Silent superbugs killers in a river near you) พบเชื้อดื้อยาที่มีอันตรายต่อสุขภาพของคนอย่างรุนแรง      ในประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา สเปนและไทย เชื้อดื้อยาเหล่านี้มีต้นตอมาจากน้ำและของเสียที่ถูกปล่อยมาจากฟาร์มสัตว์อุตสาหกรรม ปนเปื้อนในแหล่งน้ำสาธารณะและสิ่งแวดล้อมรอบฟาร์มอุตสาหกรรม ซึ่งอาจสร้างผลเสียอย่างรุนแรงในวงกว้างหากยังไม่เร่งแก้ไข รายงานชิ้นนี้ทำการสำรวจแหล่งน้ำรอบๆฟาร์มหมูอุตสาหกรรมใน 4 ประเทศ พบเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะเป็นจำนวนมาก โดยในประเทศไทยพบเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะชนิดรุนแรง ได้แก่ colistin plus co-trimoxazole, gentamicin, amikacin, trimethoprim-sulfamethoxazole หรือ amoxicillin ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากยาปฏิชีวนะกลุ่มนี้เปรียบเสมือนปราการด่านสุดท้ายที่ใช้รักษาอาการติดเชื้อทั่วไปและผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อชีวิตจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ในกรณีที่ยาปฏิชีวนะชนิดอื่นใช้ไม่ได้ผล การเกิดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะในฟาร์มอุตสาหกรรม มีสาเหตุหลักมาจากการเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีสวัสดิภาพ สัตว์ในระบบฟาร์มอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะถูกขังอยู่ในกรงอย่างทุกข์ทรมาน เช่น แม่หมูถูกขังอยู่ในกรงแคบๆ ลูกหมูโดนตัดตอนอวัยวะอย่างโหดร้าย สร้างความเจ็บปวดทรมานเป็นอย่างมาก รวมถึงการถูกแยกจากแม่ตั้งแต่ยังเล็ก วิธีการเหล่านี้ก่อให้เกิดความทรมานอย่างที่เราคาดไม่ถึง ซึ่งนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะจำนวนมหาศาลเพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์ที่เต็มไปด้วยความเครียดเหล่านี้เจ็บป่วย เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มระบบอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ทางองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกจึงได้ทำการรณรงค์เพื่อห้ามใช้ยาปฏิชีวนะในการป้องกันโรคแบบรวมกลุ่มในสัตว์ฟาร์ม ซึ่งก่อให้เกิดเชื้อดื้อยาและปนเปื้อนไปยังสิ่งแวดล้อม วิกฤติเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ […]