สปาร์คยู ปลุก-ใจ-เมือง #อีสานม่วนสุข 5+1 ( “เฮ็ด ฮัก ฮัก” Head Hug Heart)

โครงการสปาร์คยูปลุกใจเมืองอีสานม่วนสุขโดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. จัดงานสปาร์คยู ปลุก-ใจ-เมือง #อีสานม่วนสุข 5+1 ( “เฮ็ด ฮัก ฮัก” Head Hug Heart) ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นหนึ่งในโครงการที่ สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดทำขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ให้ชุมชนได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมวิถีชีวิตสุขภาวะร่วมกัน โดยนายดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. กล่าวว่า โครงการสปาร์คยู อีสาน เป็นโครงการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2560 โดยมีพื้นที่ทำงาน 5 พื้นที่ 3 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเลย จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดขอนแก่น โดยทุกพื้นที่นำเสนอประเด็นการทำงานเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งสารเคมี ยาปราบศัตรูพืช ขยะ และตลาดปลอดขยะ และในส่วนการทำงานในพื้นที่ของจังหวัดขอนแก่น ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นกล่าวว่า โครงการนี้สามารถสร้างพลเมืองให้ตื่นรู้และมีส่วนร่วมในการ ปลุก-ใจ-เมือง อีสานบ้านเฮาม่วนสุข คือ ปลุกพลังชุมชนในพื้นที่ให้ลุกขึ้นมาร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาและสร้างการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม โดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากภาครัฐที่อาจจะไม่ทั่วถึงหรืออาจไม่มีคุณภาพเท่าชุมชนจัดการตัวเอง อย่างที่เครือข่ายจังหวัดเลย, จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดขอนแก่นทำออกมานั้น […]

“ก็อต-จิรายุ” แชร์ไอเดีย “สร้างภูมิคุ้มใจ” รับมือความเครียดจัดการอารมณ์ เรียนรู้อยู่กับโควิดด้วยใจที่แข็งแรง ในเสวนาออนไลน์ “ล็อกบ้านไม่ล็อกใจ How to สร้างภูมิ (คุ้มใจ)”

สาวน้อยสาวใหญ่ สาวแท้สาวเทียม มารวมกันตรงนี้!!! มีกำลังใจดีๆ จากสามีแห่งชาติ “ก็อต-จิรายุ ตันตระกูล” ที่อาสามาส่งพลังบวก แชร์ไอเดียในการ “สร้างภูมิคุ้มใจ” รับมือกับความเครียด จัดการกับความทุกข์ เรียนรู้อยู่กับโควิดด้วยใจที่แข็งแรง จากงาน ThaiHealth WATCH Online เวทีออนไลน์ทิศทางสุขภาพคนไทย “ล็อกบ้านไม่ล็อกใจ How to สร้างภูมิ (คุ้มใจ)” จัดโดยศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่าย ธนาคารจิตอาสา ความสุขประเทศไทย และกลุ่ม WeOneness “ผมอยากแบ่งปันในสิ่งที่ผมปฏิบัติเป็นประจำอยู่แล้ว นั่นคือการหมั่นสังเกตตัวเอง และจดบันทึกในทุก ๆ วัน ว่าตาเห็นอะไร หูได้ยินอะไร จมูกได้กลิ่นอะไร ลิ้นสัมผัสอะไร กายสัมผัสอะไร ใจนึกคิดอะไร ที่ทำสิ่งนี้ทำเพื่อให้เราเข้าใจตัวเองอย่างแท้จริง บางความคิดที่ทำให้เรากดดัน คั่งแค้น เราก็ยังสวมความคิดนั้นไว้เหมือนว่ามันเป็นรางวัล ใส่ไปวันแล้ววันเล่า ยิ่งใส่ยิ่งหนักๆ โดยไม่คิดจะปลดมันออก จริง ๆ แล้วเราก็มีความคิดบวกเข้ามาในหัวเราเหมือนกันนะ แต่เราก็เพิกเฉยต่อมัน นั่นเป็นเพราะเราไม่เคยสังเกตเห็นว่าความคิดที่ผุดขึ้นมาในใจเราน่ะมันขึ้นมาอย่างไรบ้าง ความคิดมันทำงานตลอด เพราะตราบใดที่มีประสาทสัมผัสทั้งหมด […]

สสส. ร่วมกับ แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และภาคีเครือข่าย เชิญชวนประชาชนทุกเพศ/วัย ส่งผลงานภาพถ่าย-ภาพวาด เป็นสื่อกลางส่งกำลังใจ ถึงพี่น้องชาวไทย ในโครงการ “ศิลปะยาใจ ฝ่าภัยโควิด-19″

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ,สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย , ธนาคารจิตอาสา , พลังวรรณกรรมเพื่อสร้างพลังชีวิต จัดโครงการ “ศิลปะยาใจ ฝ่าภัยโควิด-19″ หวังใช้งานศิลปะเป็นสิ่งปลอบประโลมใจให้แก่ประชาชนที่กำลังท้อแท้สิ้นหวังในภาวะวิกฤติ “โควิด-19” โดยเชิญชวนศิลปิน นักวาด นักการ์ตูน ช่างภาพ หรือประชาชนคนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ร่วมส่งผลงานเพื่อปลุกพลังใจให้แก่เพื่อนร่วมสังคม โดย “นางสุดใจ พรหมเกิด” ผจก.แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. เล่าถึงที่มาโครงการนี้ว่า ในช่วงภาวะวิกฤติโรคระบาดหนัก เป็นห้วงเวลาที่ยากลำบากของทุกคนในเวลานี้ กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญนะคะ เราในฐานะคนทำงานด้านการรณรงค์เรื่องการอ่านการเขียนมาโดยตลอด ที่แม้จะเป็นเพียงฟันเฟืองเล็กๆ ในสังคม แต่เราก็อยากให้งานของเรานี้เป็นส่วนหนึ่งในการมอบสิ่งดีๆ ให้กับเพื่อนพี่น้องคนไทยด้วยกัน จึงคิดว่าใช้งานศิลปะเป็นสื่อกลางในการส่งต่อกำลังใจดีๆ น่าจะเป็นสิ่งที่เข้าถึงทุกคนได้ง่าย เพราะภาพเพียงหนึ่งภาพ บางทีอาจให้ความรู้สึกมากมายต่อผู้ที่ได้เห็น คนเราสามารถสัมผัสภาพได้ทันทีที่เห็น แม้จะไร้คำพูดก็จริง แต่เห็นแล้วเข้าใจ-เข้าถึงได้ทันที เป็นสิ่งที่ทรงพลัง ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด ภาพถ่ายก็ตาม แล้วถ้าภาพมาบวกกับถ้อยคำ บทกลอนต่างๆ ก็จะยิ่งช่วยในเรื่องจิตใจมากขึ้นอีก แนวคิดนี้จึงได้เกิดเป็น “ศิลปะยาใจ ฝ่าภัยโควิด-19” ขึ้นมาค่ะ จากนั้นเราก็ได้ชวนกลุ่มนักวาดการ์ตูน “เครือข่ายการ์ตูนไทยสร้างสรรค์สังคม” […]

สสส. ร่วมกับ นิเทศศาสตร์ ม.หาดใหญ่ ส่งแคมเปญ ‘ขอ 1 นาทีเติมใจให้กัน’ ชวนคนไทยมาเป็นจิตอาสาช่วยกัน ‘เพิ่มพลังใจคิดดีสู้โควิด-19’

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จับมือกันส่งแคมเปญ ‘ขอ 1 นาทีเติมใจให้กัน’ ด้วยการชวนคนไทยมาร่วมกันเป็นจิตอาสาด้วยการสร้างสรรค์สื่อ อัดคลิป 1 นาทีเพิ่มพลังบวกให้สังคม ภายใต้แนวคิด ‘เพิ่มพลังใจ คิดดีสู้โควิด-19’ นายฮาริส มาศชาย ผู้จัดการโครงการคิดดีชีวิตวิถีใหม่ สื่อเท่าทันสุขภาวะ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. ได้กล่าวว่า “จากสภาพปัญหาของสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 แต่ละวันมีข้อมูลมาจากหลายภาคส่วน จากทั้งในและต่างประเทศที่พูดถึงความน่ากลัว และการกลายพันธุ์ของไวรัสตัวนี้ ข่าวสารเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อผู้คนในสังคมทุกมิติ เกิดความเครียดและความวิตกกังวล การดูแลสุขภาพใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น ทางโครงการฯ จึงได้เกิดความคิดจัดตั้งกลุ่ม Club Health สร้างสรรค์สื่อ เพื่อสร้างสรรค์สังคม ภายใต้แนวคิดเพิ่มพลังใจ คิดดีสู้โควิด-19 โดยขอชวนเยาวชน คนไทยทุกคนช่วยกันเป็นจิตอาสาอัดคลิป 1 นาทีภายใต้แนวคิด ขอ 1 นาที เติมใจให้กัน เพื่อเป็นการสร้างพลังบวกให้กับสังคม สร้างพลังใจให้เราทุกคนสามารถผ่านพ้นวิกฤติทั้งกายและใจนี้ไปด้วยกัน” ขณะที่ ผศ.นิติยา ศรีพูล รักษาการคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ กล่าวว่า […]

สสดย. – สสส. แนะทางออกเผชิญหน้า ‘วิกฤติสุขภาพใจที่อ่อนล้าโควิด’ ด้วยหลัก 3i เน้น ‘สร้างพลังบวก – เปิดพื้นที่รับฟัง – รู้เท่าทันสื่อ’ พาสังคมผ่านพ้นวิกฤติไปด้วยกัน

สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.) ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงานเสวนาออนไลน์ FAM TALK : สื่อสารสร้างสรรค์กับประเด็นสำคัญที่ครอบครัวควรรู้ เพื่อรับมือและเผชิญหน้ากับสถานการณ์โควิดที่ยังคงวิกฤติทั้งสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยมีการจับคู่ซักถามพูดคุยอย่างออกรสใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็นหนี้สาธารณะวิกฤตจริงหรือ โดย ดร.ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะเอนก นายกสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.) ซักถาม คุณแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ประเด็นครอบครัวอ่อนล้าจากวิกฤต…มีทางออกอย่างไร โดยคุณนภาพร ไตรวิทย์วารีกุล (ดีเจพี่อ้อย) ซักถาม นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิตและที่ปรึกษาสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ประเด็นสื่อสารทันสมัย สำหรับคนรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัล โดยคุณปราชญา ศิริ์มหาอาริยะโพธิ์ญา รองประธานสภาเด็กและเยาวชน กรุงเทพฯ ซักถาม ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงประเด็นแรกของการเสวนา คุณแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้ให้ความรู้ด้านภาวะหนี้สาธารณะของประเทศในขณะนี้ว่า หนี้สาธารณะอธิบายง่ายๆ คือหนี้ของประเทศ เป็นหนี้ของรัฐบาลที่กู้มาเพื่อเติมเต็มและช่วยให้ประเทศสามารถใช้มาตรการทางการคลังได้ดีขึ้น ขณะนี้สัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศไทยอยู่ที่ 55% […]

สสส. เปิดผลวิจัย 1 ปีโคแฟค (ประเทศไทย) พบประชาชน 97% เผชิญหน้าข่าวลวง ห่วง 3 อันดับข่าวลวงแรกส่งผลกระทบสุขภาพคนไทย จัดวงนักคิดดิจิทัลร่วมถกหาทางแก้ไขและรับมือ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ โคแฟค (Cofact) และภาคีเครือข่าย เปิดผลสำรวจเนื่องในวาระครบรอบ 1 ปีของโคแฟค (ประเทศไทย) พบประชาชน 97% รับว่าเคยพบเห็นข้อมูลข่าวลือข่าวลวง โดยข่าวลวง 3 อันดับแรกอยู่ในแวดวงสุขภาพทั้งหมด ประชาชนขอสื่อมวลชนและแพลตฟอร์มออนไลน์ช่วยคัดกรองข้อเท็จจริง ขณะที่วงเสวนาออนไลน์ นักคิดดิจิทัลครั้งที่ 17 เปิดประเด็น “How to รับมือปัญหาข้อมูลสับสน/ข่าวสารลวงหลอก บทเรียนไทยและเทศ” ตัวแทน จากหลากหลายสาขาร่วมกันเปิดมุมมอง ชี้ทางแก้ไขระยะสั้นสื่อมวลชนและแพลตฟอร์มมีบทบาทสำคัญ แต่ในระยะยาวต้องสร้างพลเมืองรุ่นใหม่ที่มีทักษะการสื่อสารรับผิดชอบต่อสังคม ดร.จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. มีเป้าหมายในการสร้างสังคมสุขภาวะ และตระหนักดีว่าการจะเกิดสังคมสุขภาวะได้นั้น จำเป็นจะต้องเกิดสังคมแห่งปัญญาก่อน เรื่องของข้อมูลข่าวสารเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งของการสร้างความรู้และปัญญา สสส. ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนนวัตกรรมโคแฟค (Collaborative Fact Checking : Cofact) อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดกลไกในการทำให้ข้อมูลสารสนเทศที่กระจายอยู่ในสังคม เป็นข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง เพราะหากสังคมไทยยังเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารที่สับสน ไม่ใช่ข้อเท็จจริง นอกจากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งกายและใจแล้ว ยังนับเป็นบ่อนทำลายปัญญาและจิตวิญญาณตั้งแต่ในระดับปัจเจกไปจนถึงสังคมโดยรวม คุณสุภิญญา […]