วิธีต่อกรกับภาวะเงินเฟ้อด้วยดิจิทัลเทคโนโลยีของบริษัทผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม

บทความโดย เทอร์รี สมา, รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น, บริษัทอินฟอร์ เงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ส่งให้ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหาการสูญเสียรายได้และเสี่ยงที่จะกระทบต่อความสัมพันธ์กับลูกค้า ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านราคาที่อาจทำให้ยอดขายลดลง บริษัทอาหารและเครื่องดื่มจึงควรตรวจสอบค่าใช้จ่าย พอร์ตโฟลิโอของผลิตภัณฑ์ และกลยุทธ์ด้านกำไรแบบองค์รวม ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นบริบทของความผันผวนทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความตื่นตระหนก และเน้นย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นที่ธุรกิจและซัพพลายเชนจะต้องมีการปรับตัวและความยืดหยุ่นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากธุรกิจจัดการได้อย่างเหมาะสม ความท้าทายด้านเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในปัจจุบันสามารถเปลี่ยนเป็นโอกาสที่ขับเคลื่อนให้เกิดความต้องการด้านนวัตกรรมและระบบอัตโนมัติได้อย่างแท้จริง ปัญหา 4 ประการที่เกิดจากเงินเฟ้อ พร้อมวิธีรับมือ : 1. ความขาดแคลนและการเปลี่ยนแปลงส่วนผสม นอกจากสภาพอากาศที่รุนแรงและความแปรปรวนตามฤดูกาลแล้ว ความขัดแย้ง การหยุดชะงักของซัพพลายเชน และแรงกดดันทางการเมือง ยังมีส่วนทำให้เกิดเงินเฟ้อและราคาวัตถุดิบทางการเกษตรพุ่งทะยานสูงขึ้น ดังที่เห็นได้จากตัวอย่างล่าสุดคือ สงครามยูเครน-รัสเซียที่ก่อให้เกิดความไม่แน่นอนในการส่งออกธัญพืช ข้าวสาลี และน้ำมันพืช ทำให้เกิดการขาดแคลนส่วนผสมอย่างหนัก ส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหารทั่วโลก เพิ่มการมองเห็นทั้งระบบ – ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มสามารถรับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับความล่าช้าในการจัดส่งด้วยการมองเห็นทั้งระบบแบบเรียลไทม์ตลอดระบบซัพพลายเชน ตั้งแต่เกษตรกรและซัพพลายเออร์ต้นน้ำ ผ่านการแปรรูปไปจนถึงผู้จัดจำหน่ายและผู้ค้าปลีกปลายน้ำในระบบ ซึ่งจะช่วยให้ทีมจัดซื้อสามารถจัดรูปแบบและดำเนินการตามแผนทางเลือกได้ ตรวจสอบส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ – ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มสามารถลดความเสี่ยงในการขาดแคลนส่วนผสมได้อีกทางหนึ่ง ด้วยการกระจายทางเลือกด้านวัตถุดิบและซัพพลายเออร์ให้หลากหลายขึ้น หรือหากส่วนผสมขึ้นราคาจนไม่อาจอธิบายได้ (หรือไม่สามารถแบกรับภาระด้านนี้ไว้ได้อีกต่อไป) การลดการผลิตสินค้าบางชนิดอาจเป็นทางเลือกที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ปรับปรุงการวางแผนซัพพลายเชน – โซลูชันสำหรับการวางแผนซัพพลายเชนที่ทันสมัยสามารถช่วยให้บริษัทอาหารและเครื่องดื่มวางแผนและคาดการณ์ได้แม่นยำยิ่งขึ้น โดยควรเป็นแบบที่มีแมชชีนเลิร์นนิง […]

คาดการณ์ 3 อันดับระบบซัพพลายเชนที่จะเกิดในปี 2565

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์ อาเชียน-อินเดีย ปี 2565 นับเป็นปีที่สามในการเผชิญกับภัยพิบัติด้านสุขภาพทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน  ผลกระทบรุนแรงจากความไม่สมดุลระหว่างอุปทานและอุปสงค์กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก  ประเด็นของความไม่แน่นอนและความกังวลที่เกิดขึ้นในปีนี้ จะยังคงเกี่ยวกับปัญหาด้านความพร้อมของแรงงานและต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น พื้นที่สำหรับโหลดสินค้า เซมิคอนดักเตอร์ ความพร้อมใช้งานของรถพ่วงสำหรับลากตู้คอนเทนเนอร์ ตลอดจนพื้นที่จัดเก็บของคลังสินค้า ดังนั้น อนาคตทางสังคมและเศรษฐกิจของเราทุกคนอาจจะยังรางเลือนไม่แน่นอน อันเนื่องมาจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงเทศกาลวันหยุด  อย่างไรก็ตาม เราได้เห็นรูปแบบของซัพพลายเชนแบบใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น อันเป็นผลมาจากความสับสนวุ่นวายทางการค้า และการขนส่งสินค้าทั่วโลกในปัจจุบัน ซึ่งแนวโน้ม 3 ประการที่เราจะต้องเผชิญในปีนี้ ได้แก่ 1) ปัญหาเรือบรรทุกคอนเทนเนอร์ตามท่าเรือสำคัญในอเมริกาเหนือและยุโรปเหนือ จะยังคงดำเนินต่อไปจนถึงปี 2566 เนื่องจากความแออัดและความล่าช้าในปัจจุบันไม่ได้เป็นเพียงปัญหาการขนส่งที่เกิดขึ้นแต่ใน “มหาสมุทร” เท่านั้น แต่ได้กลายเป็นปัญหาของเครือข่ายซัพพลายเชนทั่วโลกไปแล้ว ปริมาณการขนส่งสินค้าขาเข้าที่เพิ่มขึ้นจากเอเชีย (จากความต้องการของผู้บริโภคที่สูงเป็นประวัติการณ์) กอปรกับปัญหาเกี่ยวกับแรงงานที่ท่าเรือ คนขับรถบรรทุก พนักงานขนถ่ายคลังสินค้า ตลอดจนปัญหาตู้คอนเทนเนอร์และรถพ่วงที่ว่างพร้อมใช้งาน ทำให้เกิดความล่าช้าในการขนถ่ายของเรือเดินทะเล และส่งผลกระทบถึงการเคลื่อนย้ายสินค้าออกจากท่าเรือไปยังคลังสินค้า หรือสถานที่แยกสินค้าที่อยู่ภายในประเทศอีกด้วย 2) บริษัทต้องจัดลำดับความสำคัญของการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่ใช้ตั้งแต่ต้นทาง รวมทั้งความสัมพันธ์กับผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่ร่วมมือกัน เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของซัพพลายเชน เพราะการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจจะยังคงเพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง  นอกเหนือจากการมองเห็นสินค้าคงคลังในระหว่างการขนส่งแบบเรียลไทม์แล้ว บริษัทจะต้องมีการตั้งเป้าในการดำเนินงานใหม่ เน้นให้มองเห็นการขนส่งแบบองค์รวมในหลากหลายมิติ แทนการมุ่งแสวงหาต้นทุนที่ต่ำลงเพียงอย่างเดียว เช่น […]