LMR ร่วมเดินหน้าเป็นศูนย์กลางอนุรักษ์ป่าอย่างยั่งยืน

• การส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้จากป่าธรรมชาติในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงไปยังประเทศจีนลดลงจากการสูญเสียทรัพยากร และภาครัฐมีมาตรการควบคุมการตัดไม้ • ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่สนใจถึงปัญหาความรุนแรง ผลกระทบและความเสียหายของอาชญากรรมป่าไม้ • ความร่วมมือกัน เทคโนโลยีการตรวจจับ และการบังคับใช้กฎหมาย ช่วยจำกัดการลักลอบตัดไม้ แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการลดอาชญากรรมาป่าไม้ตามแนวชายแดน • การอนุรักษ์และการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนมีความสำคัญต่อการบรรเทาผลกระทบจากภาวะโลกร้อน 23 พฤษภาคม 2566, กรุงเทพ, ประเทศไทย: ในปัจจุบันภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกำลังก้าวสู่การเปลี่ยนผ่าน จากพื้นที่ที่เต็มไปด้วยการลักลอบตัดไม้และการค้าไม้ผิดกฎหมายสู่ยุคของการค้าป่าไม้อย่างยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นก้าวสำคัญในการอนุรักษ์ระบบนิเวศของป่าไม้ การป้องกันสัตว์ป่าจากการรุกราน และการบรรเทาผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ในอดีตการค้าผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ไปยังประเทศจีนมีบทบาทสำคัญต่อการลักลอบตัดไม้ภูมิภาคนี้อย่างมาก แต่ในช่วง 2-3 ปีหลังการส่งออกผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ไปยังประเทศจีนลดลงต่อเนื่อง จากการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดประกอบกับจำนวนป่าไม้ที่ลดลงเหลือเพียง 1 ใน 3 จากที่เคยมีอยู่ ขณะที่ประเทศไทยและเวียดนามเติบโตอย่างรวดเร็วสู่การเป็นศูนย์กลางของการค้าผลิตภัณฑ์ป่าไม้อย่างถูกกฎหมายระดับโลก “การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกำลังส่งผลดีต่อการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ของการค้าไม้ในภูมิภาคนี้ และสร้างโอกาสให้เกิดการปรับเปลี่ยนของการค้าไม้และการอนุรักษ์ป่าไม้ในภูมิภาค” อะกิโกะ อิโนะกูจิ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กล่าวและเพิ่มเติมว่า “อย่างไรก็ตามภายใต้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังมีความท้าทายที่มากมาย เช่น การยกระดับระบบการติดตามตรวจสอบของอุตสาหกรรมการค้าป่าไม้และการทำงานร่วมกับเกษตรกรรายย่อยที่ประกอบธุรกิจขายผลิตภัณฑ์และเส้นใยที่ได้จากป่าไม้ในภูมิภาค” หนึ่งในความท้าทายที่สำคัญอีกประการ คือ การรับรู้ของประชาชนต่อการลักลอบตัดไม้และอาชญากรรมป่าไม้ โดยผลสำรวจความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติ (KAP: Knowledge, Attitude, and […]