มูลนิธิศุภนิมิตฯ ร่วมสะท้อน เด็กหลุดจากระบบการศึกษา สู่ตลาดแรงงานก่อนวัยวิกฤติเงียบที่หยั่งรากลึก และหนทางแห่งความหวังในการฟื้นคืนสู่สังคมไทย
เดือนนี้ถือเป็นเดือนแห่งการให้ความสำคัญกับสิทธิ ความเท่าเทียม และคุณภาพชีวิตของแรงงาน แต่เบื้องหลังแรงงานเหล่านี้ คือ แรงงานเด็กในวัยเรียนจำนวนมากที่ต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา นี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของวงจรที่นำไปสู่การหมดโอกาสและกลายเป็นแรงงานที่ขาดศักยภาพในอนาคต ด้วยเหตุนี้ เราควรหันมาตระหนักถึงความสำคัญ หากต้องการแรงงานที่มีคุณภาพในวันข้างหน้า เราควรเริ่มจากวันนี้ ด้วยการสร้างโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมให้กับเด็กทุกคน มีข้อมูลจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ระบุว่าในปี 2567 ประเทศไทยมีเด็กและเยาวชน 9.8 แสนคน ที่ไม่มีชื่อในระบบการศึกษา และในจำนวนนี้เป็นการรายงานของเด็กกลุ่มใหม่ถึง 391,747 คน นี่คือชุดข้อมูลสถานการณ์เด็กและเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา ที่ผู้เชี่ยวชาญจากมูลนิธิศุภนิมิตฯ นำมาใช้เป็นข้อมูลตั้งต้น เพื่อหาทางออกของปัญหาร่วมกับเครือข่ายในท้องถิ่น ตามพันธกิจของมูลนิธิศุภนิมิตฯ กับบทบาทด้านพัฒนาเยาวชน ให้มีทักษะชีวิตและมีต้นทุนชีวิตที่ดี ซึ่งเผยให้เห็นถึงปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ ที่ทำให้เด็กไทยต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา นั่นก็คือ ปัญหาความยากจนและรายได้ครอบครัวที่ไม่แน่นอน การทำงานนอกถิ่นฐานของพ่อแม่หรือผู้ปกครอง ซึ่งส่งผลต่อการเลี้ยงดูเด็ก อีกทั้งความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงสถานศึกษาที่อยู่ห่างไกล คุณภาพของการศึกษาที่ไม่เท่าเทียม อาจส่งผลให้เด็กเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเรียนลดลง รวมไปถึงค่าใช้จ่ายแฝงต่าง ๆ ที่ตามมาในแต่ละวัน ทำให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้ ตัดสินใจออกจากโรงเรียน และเบนเข็มเข้าสู่ตลาดแรงงานก่อนวัยอันควรไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเด็กและเยาวชนที่ต้องทำงานตั้งแต่อายุยังน้อย มักจะขาดทักษะและความรู้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานที่มีคุณภาพในอนาคต วงจรความยากจน จึงถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซ้ำเติมปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมให้หยั่งรากลึกและรุนแรงยิ่งขึ้น นางรสลิน โกแวร์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย สะท้อนถึงสถานการณ์และแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยว่า […]