องค์กรโรคหลอดเลือดสมองแห่งยุโรป เผยความเชื่อมโยงระหว่างจุลินทรีย์ในลำไส้กับอาการที่รุนแรงขึ้นและการฟื้นตัวที่ช้าลงหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
ผลการศึกษาครั้งใหม่พบว่าจุลินทรีย์ในลำไส้หลายสายพันธุ์มีความสัมพันธ์กับอาการของโรคหลอดเลือดสมองที่รุนแรงขึ้นและการฟื้นตัวที่ช้าลงหลังเกิดโรค บ่งชี้ว่าจุลินทรีย์ในลำไส้อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความเสี่ยงและผลของโรคหลอดเลือดสมอง ผลการศึกษาครั้งใหม่ซึ่งได้รับการนำเสนอในการประชุมขององค์กรโรคหลอดเลือดสมองแห่งยุโรป (European Stroke Organisation Conference หรือ ESOC 2022) ได้ชี้ให้เห็นถึงแบคทีเรียกลุ่มหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับการฟื้นตัวของระบบประสาทที่ช้าลงหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด (Ischemic Stroke) ทั้งในระยะแรก (24 ชั่วโมง) และหลังผ่านพ้นไป 3 เดือน ผลวิจัยระบุว่ามีแบคทีเรียหลายชนิดที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด ซึ่งรวมถึงแบคทีเรียฟิวโซแบคทีเรียม (Fusobacterium) และแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ส่วนทางด้านแบคทีเรียเนกาทิวิบาซิลลัส (Negativibacillus) และเลนทิสเฟเรีย (Lentisphaeria) มีความสัมพันธ์กับอาการของโรคหลอดเลือดสมองที่รุนแรงขึ้นในระยะแรก (ณ 6 ชั่วโมง และ 24 ชั่วโมงตามลำดับ) ขณะที่แบคทีเรียแอซิดามิโนคอคคัส (Acidaminococcus) มีความสัมพันธ์กับการทำงานของระบบประสาทที่ย่ำแย่เมื่อผ่านไป 3 เดือน ดร. มิเกล เลดอส (Dr. Miquel Lledos) จากห้องปฏิบัติการพันธุศาสตร์และเภสัชพันธุศาสตร์โรคหลอดเลือดสมองแห่งสถาบันวิจัยซานเปา (Sant Pau Research Institute) ในเมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัยครั้งนี้ กล่าวว่า […]