MoEngage เผยรายงานย้ำผลเชิงบวกของการทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคล

MoEngage เผยรายงานตอกย้ำผลเชิงบวกของการทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคลตามพฤติกรรม และการมีส่วนร่วมของลูกค้าที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเชิงลึก
ข้อมูลเชิงลึกจากผู้บริโภคดิจิทัล 6.6 ล้านรายระบุถึงแนวโน้มและโอกาสสำหรับการมีส่วนร่วมทางดิจิทัลและบนมือถือครอบคลุมอุตสาหกรรมสำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
MoEngageแพลตฟอร์มด้านการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคชั้นนำ เปิดเผยผลการวิจัยจากรายงาน 2021 Southeast Asia Consumer Engagement Benchmark Report ที่ประกอบด้วยข้อมูลจากผู้ใช้งาน 6.6 ล้านคนทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะจากอินโดนีเซีย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ไทย และเวียดนาม พร้อมเจาะลึกถึงแนวโน้มและโอกาสที่สำคัญในภูมิภาค
ในรายงานฉบับนี้MoEngage วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคโดยเฉพาะใน 3 ภาคส่วนอุตสาหกรรมที่โดดเด่น ได้แก่ การค้าปลีก การธนาคารและการเงิน และความบันเทิงดิจิทัล โดยพิจารณาว่าลูกค้ามีส่วนร่วมและตอบสนองต่อช่องทางการสื่อสารต่างๆ อย่างไร รายงานจึงนี้นำเสนอเกณฑ์มาตรฐาน กลยุทธ์ และกลวิธีที่จะช่วยให้นักการตลาดปรับขนาดการมีส่วนร่วมของลูกค้าแบบเฉพาะบุคคล
นับตั้งแต่เดือนม.ค.-เม.ย. 2564 MoEngage เฝ้าติดตาม 4 ช่องทางการสื่อสารใน 3 ภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ การแจ้งเตือนแบบพุชบนมือถือ, อีเมล, การส่งข้อความบนแอปพลิเคชัน และการส่งข้อความผ่านเว็บ เนื้อหาส่วนสำคัญของผลการวิจัยระบุว่า
– ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ใช้งานเป็นประจำทุกวัน (DAUs) ของแบรนด์อีคอมเมิร์ซ การค้าปลีก และ D2C เพิ่มขึ้น 13.36% ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2564 เมื่อศึกษาแนวโน้มของผู้ใช้งานเป็นประจำทุกเดือน (MAU) ของแบรนด์เดียวกัน MAU บนเว็บไซต์เพิ่มขึ้น 8.7% ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อเทียบกับบนมือถือ ซึ่งเป็นไปได้ว่ามีสาเหตุมาจากมาตรการจำกัดการเดินทางและเหล่านักช้อปที่ทำงานจากที่บ้าน ซึ่งต่างจากการช้อปปิ้งผ่านมือถือระหว่างที่เดินทาง
– การแจ้งเตือนแบบพุชที่อาศัยลักษณะพฤติกรรม พร้อมด้วยการเพิ่มการปรับแต่งเฉพาะบุคคลจากแบรนด์ช้อปปิ้ง ทำให้ยอดข้อความที่ถูกส่งถึงกล่องข้อความของผู้รับ (Deliverability) เพิ่มขึ้น 85.67% และการเปลี่ยนผู้ชมให้กลายเป็นลูกค้า (Conversion) เพิ่มขึ้นกว่า 27%
– ยอด DAU เพิ่มขึ้นอย่างมาก แตะ 54.9% บนทุกแฟลตฟอร์มของธนาคารดิจิทัล, ฟินเทค, สินเชื่อ P2P, ประกันภัย และคริปโตในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2564
– อีเมลที่ปรับตามพฤติกรรมมีอัตราการคลิกต่อจำนวนการมองเห็น (CTR) และการเปลี่ยนผู้ชมให้กลายเป็นลูกค้าเพิ่มขึ้นในทุกอุตสาหกรรมเมื่อเทียบกับอีเมลทั่วไป กล่าวคือ อัตราการเปิดอีเมลจากแบรนด์ช้อปปิ้งเพิ่มขึ้นแตะ 28.17% และ 0.5% ของอีเมลที่ปรับตามพฤติกรรมในภาคความบันเทิงดิจิทัลมีอัตรา CTR ดีขึ้น 2.4 เท่า ขณะที่ในภาคธนาคาร อีเมลที่ปรับตามพฤติกรรมช่วยเพิ่มอัตราการเปลี่ยนผู้ชมให้เป็นลูกค้า 2.72 เท่า เมื่อเทียบกับการส่งแบบทั่วไป
– แบรนด์สื่อดิจิทัลและความบันเทิงที่ใช้กลุ่มผู้ใช้ที่กำหนดขึ้นเองตามพฤติกรรมและลักษณะของผู้ใช้เพื่อส่งข้อความบนแอปไปยังผู้ใช้งานแอนดรอยด์พบว่าอัตรา CTR เพิ่มขึ้น 2 เท่า และอัตราการเปลี่ยนผู้ชมให้กลายเป็นลูกค้าเพิ่มขึ้นแตะ 50.05% เมื่อเทียบกับการส่งข้อความเดียวกันไปถึงผู้ใช้ทุกราย
ในภาพรวม ผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคอย่างใกล้ชิดในทุกช่องทางที่สำคัญ และพัฒนาการขยายบริการทั้งเชิงรุกและเชิงรับที่มาพร้อมกับข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ การโฟกัสจะช่วยสร้างแนวคิดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ซึ่งทำให้แบรนด์ต่างๆ สามารถตอบสนองและเกินความคาดหวังของลูกค้า และเพิ่มความภักดีต่อแบรนด์ในระยะยาวและการซื้อที่ต่อเนื่อง
Saurabh Madan ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ของ MoEngage กล่าวว่า “MoEngage มุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกค้าของเราในการยกระดับผลการดำเนินธุรกิจผ่านการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมความสำเร็จของการตลาดดิจิทัลและระบบนิเวศด้านโฆษณาทั้งหมด ผ่านการแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกของเรากับชุมชน พฤติกรรมผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงปีที่ผ่านมา มีการนำดิจิทัลมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงการแพร่ระบาด เรามีความยินดีที่จะส่งมอบมุมมองแบบองค์รวมแก่องค์กรทั่วโลกว่าลูกค้าปัจจุบันและผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้ามีพฤติกรรมอย่างไร และแนะนำพวกเขาผ่านการมีส่วนร่วมของลูกค้าที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเชิงลึกและเส้นทางการเติบโตของธุรกิจ”
ข้อมูลที่วิเคราะห์สำหรับรายงาน MoEngage Southeast Asia Consumer Engagement Benchmark Report 2021 เป็นข้อมูลที่เป็นกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์ และมาจากผู้ใช้งานหลายล้านคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีส่วนร่วมโดยองค์กรต่างๆ ที่ใช้แพลตฟอร์ม MoEngage นอกจากผลวิจัยจากข้อมูล รายงานยังเผยข้อมูลเชิงลึกและเคล็ดลับที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จากแบรนด์ชั้นนำ เช่น Zilingo, Kredivo, Homecredit Philippines, Marks & Spencer, OVO และอื่นๆ รับชมรายงานฉบับเต็มได้ที่https://www.moengage.com/industry-reports/customer-engagement-benchmarks-kpis-metrics-2021-southeast-asia/?utm_campaign=seaengagementreport2021&utm_source=prwire&utm_medium=paid&utm_content=seaengagementreport2021
เกี่ยวกับMoEngage
MoEngage เป็นแพลตฟอร์มการมีส่วนร่วมของลูกค้าที่นำข้อมูลเชิงลึกซึ่งสร้างขึ้นสำหรับนักการตลาดและเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจความต้องการของลูกค้า โดยมาพร้อมกับความสามารถในการปรับแต่งหลายช่องทาง ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพและทำให้เป็นอัตโนมัติโดยขับเคลื่อนด้วย AI แบรนด์ต่าง ๆ ยังจะสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้มาเยี่ยมชมและเข้าไปมีส่วนร่วมกับลูกค้าผ่านการสื่อสารแบบส่วนตัวในทุก ๆ ช่องทางการติดต่อได้ตลอดวัฏจักรการใช้งานของพวกเขา แบรนด์ต่าง ๆ กว่า 1,000 แบรนด์ อย่างเช่น CIMB bank,JD.ID, Telecom Malaysia, Blibli, Alodokter, Bigbasket, Flipkart, McAfee, Deutsche telecom และแบรนด์อื่นๆ ใน 35 ประเทศ ใช้แพลตฟอร์ม MoEngage ในการส่งข้อความมากกว่า 5 หมื่นล้านครั้งให้กับผู้บริโภคกว่า 500 ล้านคนในแต่ละเดือน นอกจากนี้ MoEngage ยังได้รับการยกย่องในฐานะ Leader ในรายงานของ Gartner, Forrester และ G2 บริษัทมีสำนักงานอยู่ใน 9 ประเทศ และได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนรายใหญ่ อาทิ Eight Roads, F-Prime Capital, Matrix Partners, Helion Ventures, Exfinity Ventures และ Venture East ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่www.moengage.com