ผลสำรวจของ Macromill ชี้แนวโน้มเศรษฐกิจปี 66 ความเชื่อมั่นของ “ผู้บริโภคไทย” ปรับตัวสูงขึ้น เปิดอินไซต์ไลฟ์สไตล์และทัศนคติของผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียทั้ง 7 ประเทศ

Macromill South East Asia Co., Ltd. (ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า MMSEA) จัดทำแบบสำรวจรายสัปดาห์ที่มีชื่อว่า “Macromill Weekly Index Asia (ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า MWIA)” โดยสังเกตการณ์ผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียทั้ง 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน และเกาหลีใต้ เพื่อชี้วัดไลฟ์สไตล์และทัศนคติของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงแนวโน้มของประเทศไทยเป็นหลัก

หัวข้อ

  1. ในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2566 ความเชื่อมั่น และ ความต้องการบริโภคของไทยยังคงสูงขึ้น
  2. ความต้องการบริโภคของไทยมีแนวโน้ม “เติบโต” แต่ยังคงต้องจับตาดูทิศทางในช่วงครึ่งหลังของปีงบประมาณ 2566 ด้วย
  3. ไทย อินโดนีเซีย และไต้หวัน ความต้องการบริโภคยังอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่เวียดนาม และ จีน มีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจต่ำกว่าปีก่อน

ในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2566 ความเชื่อมั่น และ ความต้องการบริโภคของไทยยังคงสูงขึ้น

เมื่อพิจารณาดูความแตกต่างทางด้านไลฟ์สไตล์และทัศนคติของผู้บริโภคในประเทศต่างๆ จากแผนภาพที่ 1 ด้านล่าง จะเห็นว่าข้อชี้วัดเชิงคุณภาพที่ได้จากผลสำรวจ ซึ่งมีการวัดผลจากแนวโน้ม และสถานการณ์ในอดีตของแต่ละประเทศ ไม่ใด้วัดผลเพียงแค่ตัวเลขเพียงอย่างเดียว

เมื่อพิจารณาถึงความเชื่อมั่น ความต้องการบริโภค และความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในประเทศไทย หากไม่นับหัวข้อเรื่องค่าครองชีพ ผลลัพธ์ที่ได้คือ “ดี” ส่วนในประเทศอื่นๆ ยกเว้นอินโดนีเซีย ผลลัพธ์ทั้งหมดคือ “ไม่เปลี่ยนแปลง”

แผนภาพที่ 1 สรุปข้อมูลในแต่ละประเทศ (ข้อมูล ณ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนกรกฎาคม 2566)

*ประเทศที่เป็นกลุ่มเป้าหมายแบบสำรวจของ MMSEA รวมถึงประเทศญี่ปุ่น จะถูกจัดลำดับประเทศให้สอดคล้องกับ MWIA

*สำรวจและสอบถามด้วยรูปแบบ MA (อนุญาตให้ตอบได้หลายข้อ) เกี่ยวกับความเชื่อมั่นในเชิงบวกและเชิงลบอย่างละ 4 ข้อ (ทั้งหมด 8 ข้อ) ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นจะคำนวณจากค่าเฉลี่ยของรายการที่เป็นเชิงบวก 4 ข้อ และเชิงลบ 4 ข้อ โดยจะเป็นค่าที่ได้จากการหารค่าเฉลี่ยของรายการที่เป็นบวกด้วยค่าเฉลี่ยของรายการที่เป็นลบ

ความต้องการบริโภคของไทยมีแนวโน้ม “เติบโต” แต่ทว่ายังคงต้องจับตาดูในช่วงครึ่งหลังของปีงบประมาณ 2566 ด้วย

เมื่อพิจารณาความต้องการบริโภคในแผนภาพที่ 2 พบว่าตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีการฟื้นตัวที่ดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า แม้ว่ามูลค่าการส่งออกไปต่างประเทศของไทยจะชะลอตัวลง แต่นับตั้งแต่ต้นปี 2566 ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้น และความเชื่อมั่นทางภาคธุรกิจก็ดำเนินไปในทิศทางที่ดี อันเนื่องมาจากการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและการบริโภคภายในประเทศที่เติบโตขึ้น

ในทางกลับกัน การส่งออกกลับเหมือนกับประเทศอื่นๆ ที่อยู่บนแนวโน้มการฟื้นตัว (*1) และล่าสุด สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง คาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะปรับตัวลดลงในปี 2566 รวมถึงสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(FTI) ยังประมาณการปริมาณการผลิตรถยนต์ว่าจะลดต่ำลงอีกด้วย จึงมีแนวโน้มว่าสถานการณ์ปัจจุบันยังไม่น่าวางใจ ต้องจับตาดูว่า ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจจะดำเนินต่อไปในทิศทางที่ดีขึ้นหรือไม่

*1 อ้างอิงจาก Nisseikiso Research Institute เศรษฐกิจประเทศไทย “อัตราการเติบโตเดือนมกราคม-มีนาคม 2556 เพิ่มขึ้น 2.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา~ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการฟื้นตัวด้านการท่องเที่ยวและการบริโภค”

แผนภาพที่ 2 ความต้องการบริโภคในแต่ละเดือนต่อจากนี้

*การบันทึกคะแนนรายสัปดาห์ และค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ใน 4 สัปดาห์ จะแสดงแค่ในปี 2566 เท่านั้น

*เนื่องจากคะแนนรายสัปดาห์มีความผันผวนมาก จึงใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สำหรับการเปรียบเทียบกับปีอื่น ๆ

ไทย อินโดนีเซีย และไต้หวัน ความต้องการบริโภคยังคงแข็งแกร่ง ขณะที่ เวียดนาม และ จีน ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจยังคงต่ำกว่าปีก่อน

สรุปแนวโน้มของแต่ละประเทศผ่านการประเมินผลจากแบบสำรวจ

ไทย: เศรษฐกิจกำลังไปได้ดีโดยมีความต้องการบริโภคมากกว่าปีที่แล้ว แต่ยังต้องจับตาดูความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจจะดำเนินต่อไปในทิศทางที่ดีหรือไม่

อินโดนีเซีย: ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจสูงกว่าปีที่แล้ว และความต้องการบริโภคยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นจากปีที่แล้วอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2566

เวียดนาม: ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจยังคงต่ำกว่าปีที่แล้ว ซึ่งอาจเป็นปัจจัยทำให้ความต้องการบริโภคต่ำกว่าปีที่แล้วเล็กน้อยเช่นกัน

ญี่ปุ่น: แม้ว่าเศรษฐกิจจะยังซบเซาตั้งแต่ต้นปี 2566 แต่ ณ เดือนกันยายน 2566 ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจกลับสูงขึ้นกว่าปีก่อนหน้า ในขณะเดียวกันความต้องการบริโภคยังคงทรงตัวไม่         เปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้ว

จีน: ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจยังคงซบเซา ล่าสุดลดลงสู่ระดับเดียวกับเมื่อช่วงสองปีที่ผ่านมา ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจประเภทต่างๆ มีแนวโน้มถดถอย รวมถึงมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินฝืด

ไต้หวัน: แม้ว่าความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ และ ความต้องการบริโภคจะดำเนินไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ความเชื่อมั่นยังคงมีแนวโน้มลดลง แม้ว่าการสำรวจครั้งนี้จะไม่ได้ครอบคลุมถึงเหตุผล แต่มีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นที่ลดลง ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในสังคมหรือสถานการณ์ทางการเมือง เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2567 หรือความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น นำโดยอุตสาหกรรมไอทีที่การส่งออกยังคงตกต่ำ หรือรายงานอุบัติการณ์ทางสังคม (*2) ในเดือนมิถุนายน 2566 เป็นต้น

*2 การเสียชีวิตอย่างลึกลับของนักเรียนมัธยมปลายที่ได้รับมรดก 500 ล้านหยวน และกระแส MeToo ในไต้หวัน

เกาหลีใต้: เศรษฐกิจตกต่ำนับตั้งแต่ต้นปี 2566 แต่ความเชื่อมั่นทางภาคธุรกิจยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยฟื้นตัวจากการส่งออกเซมิคอนดักเตอร์และอุปสงค์ในประเทศ นอกจากนี้ ยังมีสัญญาณความต้องการบริโภคที่ดีขึ้น แม้ว่าจะเป็นไปอย่างช้า ๆ ก็ตาม

แผนภาพที่ 3 ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ (สถานการณ์ปัจจุบัน)

*การบันทึกคะแนนรายสัปดาห์ และค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ใน 4 สัปดาห์ จะแสดงแค่ในปี 2566 เท่านั้น

*เนื่องจากคะแนนรายสัปดาห์มีความผันผวนมาก จึงใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สำหรับการเปรียบเทียบกับปีอื่น ๆ

MMSEA
นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท Macromill, Inc. ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ MMSEA ในปี 2000 Macromill ถือได้ว่าเป็นบริษัทที่เป็นผู้นำวงการด้านการวิจัยออนไลน์ชั้นนำในญี่ปุ่น ปัจจุบัน เรามีฐานธุรกิจ 20 แห่งใน 7 ประเทศ จึงสามารถดำเนินการสำรวจผู้คน 110 ล้านคนในกว่า 90 ประเทศได้ ขณะที่ธุรกิจในประเทศไทยนั้นเราได้เปิดดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2557

MMSEA เป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2562 เพื่อสนับสนุนการตลาดของกิจการที่กำลังพัฒนาธุรกิจโดยมุ่งเป้าไปที่ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรามีสำนักงานในประเทศไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ทำให้เราสามารถให้บริการเพื่อการสำรวจทางการตลาดได้ รวมถึงเรายังมีจุดแข็งด้านกลุ่มเป้าหมายที่มีมากกว่า 17 ล้านคนใน 3 ประเทศเราสามารถช่วยเหลือลูกค้าเพื่อแก้ไขปัญหาทางการตลาดได้ด้วยแบบสำรวจทางออนไลน์ของเรา

Macromill Weekly Index Asia

Macromill Weekly Index Asia เป็นข้อมูลการสำรวจรายสัปดาห์ เพื่อติดตามแนวโน้มการบริโภค และ ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ รวมถึงไลฟ์สไตล์ ฯลฯ ของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชีย (ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน และเกาหลีใต้) ตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 (*3 ) โดย การสำรวจในแต่ละประเทศ จะดำเนินการทุกวันพฤหัสบดี และจะเผยแพร่ข้อมูลในวันศุกร์ของสัปดาห์ถัดมา โดยใช้เครื่องมือ BI “Tableau” เพื่อให้สามารถแยกข้อมูลตามเพศ กลุ่มอายุ และประเทศได้

นอกเหนือการอ้างอิงจากแบบสำรวจแนวโน้มการบริโภคของสำนักงานคณะรัฐมนตรี และการสำรวจ Economy Watcher เรื่อง “การคาดการณ์การบริโภค” และ “การตัดสินใจทางเศรษฐกิจ” แล้ว ตัวชี้วัดยังได้สอบถามรวมไปถึง “อารมณ์ในสัปดาห์ที่ผ่านมา” “อัตราการทำงานที่บ้าน/อัตราการเหลื่อมเวลาไปทำงาน” “สินค้าและบริการที่มีแผนจะบริโภค” และ “อัตราส่วนการบริโภคแบบออน-ออฟ” อีกด้วย

*3 เกาหลีใต้ เริ่มสำรวจในเดือนพฤษภาคม 2563, จีน เริ่มในเดือนมิถุนายน 2563 และไต้หวัน เริ่มในเดือนมิถุนายน 2564

ภาพรวมการสำรวจ

วัตถุประสงค์ของการสำรวจ: แบบสำรวจสังเกตการณ์รายสัปดาห์เพื่อทำความเข้าใจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและแนวโน้มการบริโภค

วิธีการสำรวจ: สำรวจเชิงปริมาณแบบออนไลน์

กลุ่มประเทศเป้าหมาย: ไทย, อินโดนีเซีย, เวียดนาม, จีน, ไต้หวัน, เกาหลีใต้ (ญี่ปุ่นอ้างอิงจากผลสำรวจ Macromill Weekly Index)

เนื้อหาการสำรวจ: การตัดสินใจทางเศรษฐกิจ (สถานการณ์ปัจจุบันและการคาดการณ์) ความผันผวนของค่าครองชีพ (เทียบกับเดือนก่อนหน้าและการคาดการณ์) อารมณ์ในสัปดาห์ที่ผ่านมา การรับประทานอาหารนอกบ้านในวันหยุดสุดสัปดาห์และการซื้อเข้ามากินในบ้าน สัดส่วนการใช้จ่ายในหน้าร้านจริง การทำงานที่บ้าน/ความเหลื่อมของเวลาเข้างาน การคาดการณ์การบริโภคในเดือนหน้า การคาดการณ์สิ่งที่ตั้งใจจะซื้อในสัปดาห์หน้า

องค์กรที่ดำเนินการ: EMBRAIN (เกาหลีใต้), Macromill South East Asia (ไทย, อินโดนีเซีย, เวียดนาม), Insights (ShangHai) Co., Ltd. (จีน), Eastern Online Co., Ltd. (ไต้หวัน)

<วันที่สำรวจ>

●13 กรกฎาคม 2566: ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้  ●12 กรกฎาคม 2566: ญี่ปุ่น

< จำนวน N ต่อครั้ง>

●N=500: ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม ไต้หวัน เกาหลีใต้  ●N=1,000: ญี่ปุ่น จีน

<กลุ่มเป้าหมาย>

●ชายและหญิงอายุ 20-49 ปี: ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม  ●ชายและหญิงอายุ 20-59 ปี: ไต้หวัน เกาหลีใต้  ●ชายและหญิงอายุ 20-69 ปี: ญี่ปุ่น จีน

<กลุ่มตัวอย่าง>

●จัดสรรอย่างเท่าเทียม: ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน ไต้หวัน ●อัตราส่วนตามโครงสร้างประชากร: ญี่ปุ่น เกาหลีใต้

<พื้นที่ของกลุ่มเป้าหมาย>

●กรุงเทพมหานคร: ไทย  ●มหานครจาการ์ตา: อินโดนีเซีย  ●มหานครฮานอย: เวียดนาม  ●ทั่วประเทศ: ญี่ปุ่น  ●เมืองใหญ่ 10 เมือง*: จีน  ●ทั่วทุกพื้นที่: ไต้หวัน เกาหลีใต้

*: เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างมีช่วงอายุและประเทศที่แตกต่างกัน จึงไม่สามารถปรียบเทียบข้อมูลระหว่างประเทศได้

*: สำรวจประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวันครอบคลุมทั้งประเทศ ในขณะที่สามประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะครอบคลุมแค่พื้นที่เมืองใหญ่ ส่วนจีนจะครอบคลุม 10 เมืองใหญ่อันดับ 1 และอันดับ 2

*: สำหรับประเทศจีน จัดสำรวจตั้งแต่สัปดาห์ของวันที่ 18 มิถุนายน 2563 โดยเมืองเป้าหมาย ได้แก่ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางโจว เซินเจิ้น หางโจว เฉิงตู อู่ฮั่น ซีอาน เสิ่นหยาง และซูโจว (ในแต่ละเมือง N = 100)

*: ไม่ได้ดำเนินการสำรวจภาคสนามในทุก ๆ สัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคม

*: สำหรับสัปดาห์ที่ไม่มีข้อมูลเนื่องจากการบำรุงรักษาระบบ จะใช้คะแนนจากสัปดาห์ก่อนหน้าของปีเดียวกันแทน (●ไต้หวัน: สัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ 2565 สัปดาห์ที่สามของเดือนมกราคม 2566 สัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม 2566 ●เกาหลีใต้: สัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม 2566 ●เวียดนาม: สัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม 2564 สัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม 2566 ●ไทย อินโดนีเซีย : สัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม 2566)

 

ข้อมูลเอกสาร

รายงานการสำรวจนี้สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดรายงานการสำรวจ >>

https://www.macromill.com/contact_mmsea/en/reports.php

 

ข้อมูลบริษัท  Macromill South East Asia Co., Ltd

ตัวแทนกรรมการ  : Koike Nao, Representative Chief Executive Officer, Global CEO

สำนักงานใหญ่   : 18th Floor, Two Pacific Place Building, 142 Sukhumvit Road,Klongtoey Subdistrict,

Klongtoey District, Bangkok 10110 Thailand.

ก่อตั้ง        : สิงหาคม ปี 2557

ลักษณะธุรกิจ        : ให้บริการที่หลากหลายโดยเน้นการวิจัยออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

URL          : https://www.macromillsea.com/

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแบบสำรวจ

Macromill South East Asia (Thailand) Co.,Ltd.

Email:info@macromillsea.com