CGTN: ภาคเอกชนมีส่วนช่วยผลักดันเศรษฐกิจจีนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

เหล่าผู้นำจีนได้ให้คำมั่นอย่างหนักแน่นว่า จะสนับสนุนภาคเอกชนเพื่อช่วยผลักดันเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เนื่องจากภาคเอกชนที่เติบโตอย่างรวดเร็วมีส่วนสำคัญในการสร้างงานสร้างอาชีพ ส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยี และช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ

การประชุมงานด้านเศรษฐกิจส่วนกลางของจีน (Central Economic Work Conference) ซึ่งจัดขึ้นในช่วงกลางเดือนธันวาคม มีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดลำดับความสำคัญของงานด้านเศรษฐกิจในปี 2566 โดยในที่ประชุมได้เรียกร้องให้มีการปฏิบัติต่อองค์กรเอกชนอย่างเท่าเทียมกัน และให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายในทรัพย์สินขององค์กรเอกชนและผลประโยชน์ของผู้ประกอบการ

ที่ประชุมคาดว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นโดยภาพรวมและจะมีการสนับสนุนอย่างแข็งแกร่งในการประชุมตลาดในปีหน้า โดยที่ประชุมสนับสนุนให้ภาคเอกชนลงทุนเพิ่มขึ้นในการก่อสร้างโครงการสำคัญ ๆ ระดับชาติ

แม้เผชิญกับอุปสรรคจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เศรษฐกิจในภาคเอกชนของจีนก็ยังเติบโตแกร่งอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่เดือนม.ค. 2563 – ส.ค. 2565 จำนวนองค์กรเอกชนจีนเพิ่มขึ้นจาก 35.2 ล้านแห่ง สู่ 47.0 ล้านแห่ง และในปี 2564 องค์กรเอกชนมีสัดส่วนคิดเป็น 92.1% ขององค์กรทั้งหมดในจีน

ในปี 2564 ภาคเอกชนคิดเป็นสัดส่วนในการค้ากับต่างประเทศถึง 48.6%, การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร 56.5%, รายได้ทางภาษีอากร 59.6%, GDP มากกว่า 60%, นวัตกรรมทางเทคโนโลยีมากกว่า 70% และการจ้างงานในเมืองมากกว่า 80%

ธุรกิจเอกชนในจีนมีมูลค่าทางการค้ากับต่างประเทศอยู่ที่ 19 ล้านล้านหยวน (2.7 ล้านล้านดอลลาร์) ในปี 2564 โดยเพิ่มขึ้น 26.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี สูงกว่าของวิสาหกิจที่ลงทุนโดยต่างชาติ (FIE) ซึ่งอยู่ที่ 14.03 ล้านล้านหยวน และของรัฐวิสาหกิจที่ 5.94 ล้านล้านหยวน

องค์กรเอกชนที่ใหญ่ที่สุด 500 แห่งของจีน

องค์กรเอกชนที่ใหญ่ที่สุด 500 แห่งของจีนมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งขึ้น โดยเกณฑ์สำหรับการติดอันดับ ซึ่งคิดจากรายได้จากการดำเนินงาน เพิ่มขึ้นจาก 2.02 หมื่นล้านหยวนในปี 2562 เป็น 2.64 หมื่นล้านหยวนในปี 2564

นอกจากนี้ องค์กรเหล่านี้ยังได้ส่งเสริมการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในการค้ากับต่างประเทศ โดยมูลค่าการส่งออกขององค์กรเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจาก 1.212 แสนล้านหยวนในปี 2562 เป็น 2.454 แสนล้านหยวนในปี 2564

ในปี 2564 รายได้รวมขององค์กรเอกชน 500 อันดับแรกแตะที่ 38.3 ล้านล้านหยวน โดยมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1.73 ล้านล้านหยวน ซึ่งองค์กรเหล่านี้จ่ายภาษีสูงถึง 1.37 ล้านล้านหยวน และสร้างงาน 10.9 ล้านตำแหน่ง

มากกว่า 60% ขององค์กรเอกชนชั้นนำ 500 แห่งมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมทุติยภูมิ โดยมีจำนวนที่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตคิดเป็น 60.2% และมีรายได้คิดเป็น 58.8%

ในบรรดาองค์กร 500 อันดับแรก มีองค์กร 393 แห่งที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของจีน โดยองค์กร 107 แห่งอยู่ในมณฑลเจ้อเจียง และ 92 แห่งอยู่ในมณฑลเจียงซู ขณะที่องค์กรอีก 60 แห่งอยู่ทางตอนกลางของจีน 40 แห่งอยู่ทางตะวันตกจีน และอีก 7 แห่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน

นอกจากนี้ องค์กรเอกชน 500 อันดับแรกของจีนได้ขับเคลื่อนนวัตกรรมทางเทคโนโลยี โดยถือครองสิทธิบัตรอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นจาก 398,215 รายการในปี 2562 สู่ 633,922 รายการในปี 2564 ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว จำนวนสิทธิบัตรที่ถูกต้องทั้งหมดเพิ่มขึ้น 53.6% จากปีก่อนหน้า ขณะที่สิทธิบัตรระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น 474.7% เมื่อเทียบปีเป็นรายปี

บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีนอย่างหัวเว่ย (Huawei), อาลีบาบา (Alibaba) และเทนเซ็นต์ (Tencent) เป็นผู้ลงทุน 3 อันดับแรกในด้านการวิจัยและพัฒนาเกือบทั้งหมดในปี 2564 โดยหัวเว่ยลงทุน 1.427 แสนล้านหยวน อาลีบาบาลงทุน 5.78 หมื่นล้านหยวน และเทนเซ็นต์ลงทุน 5.19 หมื่นล้านหยวน

https://news.cgtn.com/news/2022-12-29/Graphics-Private-sector-helps-boost-COVID-19-hit-economy-in-China-1g9TpKJsCXK/index.html

รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1975421/image_5009787_56177457.jpg