พจนานุกรม Collins English Dictionary เลือกให้ ‘NFT’ เป็นคำแห่งปี 2564 (นับรวมทุกภาษาแล้ว) โดยเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ใช้สนับสนุน NFT นั้นถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 2560 แต่สาธารณชนเริ่มให้ความสนใจจริง ๆ ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมานี้เองหลังจากที่เทคโนโลยีดังกล่าวเข้าสู่วงการประมูลงานศิลปะ จนทุกวันนี้ดูเหมือนใคร ๆ ต่างก็พูดถึง NFT กันทั้งนั้น…
ตลาดดิจิทัลแห่งใหม่นี้หลอมรวมกับตลาดงานศิลปะในโลกจริงได้อย่างแนบสนิท โดยคิดเป็น 8% ของมูลค่าการประมูลงานศิลปะในตลาดรองทั่วโลก แต่ทั้ง 2 วงการนี้ยังอาจพัฒนาคู่ขนานกันไปได้อีกด้วย โดยมีการร่วมงานข้ามวงการกันในช่วงสั้น ๆ ระหว่างโลกจริงกับโลกเมตาเวิร์ส… เหมือนหยินกับหยาง
thierry Ehrmann ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Artmarket.com และฝ่าย Artprice กล่าวว่า: “การปรากฏตัวของ NFT ในวงการประมูลนั้นนับเป็นการปฏิวัติโดยแท้จริง โดยความน่าตื่นเต้นของเรื่องดังกล่าวอธิบายได้จากทั้งดีมานด์ที่อัดอั้นมายาวนานและบริบททางเศรษฐกิจที่เป็นใจโดยเฉพาะ ผลงานที่ได้สร้างสถิติครั้งแรกของ Beeple (69.3 ล้านดอลลาร์) ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาเป็นตัวอย่างที่ดีของดีมานด์ที่เก็บกดไว้ ในระดับที่บริษัท Christie’s เองก็คาดไม่ถึง โดย NFT ตั้งคำถามกับวิธีการทำงานแบบดั้งเดิมของตลาดงานศิลปะ เนื่องจากศิลปินที่ไม่เคยมีประวัติในตลาดไหนมาก่อน (แต่มีชุมชนขนาดใหญ่ทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก) สามารถทำราคาถึงระดับที่ปกติแล้วจะสงวนไว้สำหรับศิลปินอย่างเรอเน มากริต และวิลเลิม เดอ โกนิง ได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง”
Artprice โดย Artmarket.com อธิบาย NFT สำหรับปี 2565
Artmarket.com: Perfectly Positioned to Generate Enormous Revenue From Its NFT Marketplace on Artprice-nft.com (Artmarket.com มีสถานะที่ดีในการสร้างรายได้จำนวนมหาศาลจาก NFT Marketplace ใน Artprice-nft.com)
Artmarket.com: Artprice Manifesto – The future of NFTs and the Metaverse (Artmarket.com: Artprice Manifesto – อนาคตของ NFTs และเมตาเวิร์ส)
Artmarket.com: Here’s why the art market, via the NFT revolution, will enjoy exponential growth with Artprice (Artmarket.com เผยเหตุผลที่ NFT จะผลักดันให้ตลาดงานศิลปะเติบโตอย่างทวีคูณบนแพลตฟอร์ม Artprice)
Artprice ย้อนมองพัฒนาการสำคัญในปี 2564 ในแต่ละไตรมาส
ไตรมาส 1: บอตติเชลลี vs. บีเพิล
Sotheby’s เผยภาพวาดขุนนางหนุ่มถือรูปนักบุญในกรอบวงกลม หรือ Portrait of a Young Man Holding a Roundel (ผลงานจากซานโดร บอตติเชลลี จิตรกรชาวฟลอเรนซ์) สู่สาธารณชนในเดือนกันยายน 2563 ก่อนที่โควิด-19 จะระบาดระลอก 2 ได้ไม่นาน แล้วเปิดประมูลในนครนิวยอร์กเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2564 แม้ก่อนหน้านี้จะมีข้อกังขากันในวงการว่าลีโอนาร์โด ดาวินชี เป็นเจ้าของผลงานศิลปะที่แพงที่สุดในโลก (Salvator Mundi) หรือไม่ และถึงแม้จะยังคงมีวิกฤตโควิด-19 ลุกลามไปทั่วโลกก็ตาม ผลงานชิ้นเอกของบอตติเชลลีชิ้นหายากนี้ก็ประมูลได้ถึง 92 ล้านดอลลาร์ นับเป็นราคาประมูลสูงสุดตลอดกาลเป็นอันดับ 2 สำหรับผลงานจากจิตรกรชั้นครู
อย่างไรก็ตาม เซอร์ไพรส์ใหญ่สุดของปีนี้คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ วันที่ 11 มีนาคม 2564 เมื่อแพลตฟอร์มการประมูลออนไลน์ของ Christie’s สามารถขายผลงานที่ดูแวบแรกก็เหมือนกับภาพไฟล์ jpeg ธรรมดา ๆ ด้วยมูลค่าสูงถึง 69.4 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นผลงานของบีเพิล ศิลปินที่ไม่ได้เป็นที่รู้จักในตลาดงานศิลปะ แต่เขาก็มีผู้ติดตามหลายล้านคนในอินสตาแกรมที่รู้จักงานศิลป์ดิจิทัลทั้ง 5,000 ชิ้นที่รวมอยู่ในชิ้นงานที่ Christie’s เปิดประมูลในรูปแบบ NFT ขณะเดียวกัน กระแสตอบรับอันล้นหลามจากนักประมูลหน้าใหม่ ยังทำให้บริษัทประมูลอันทรงเกียรติอย่าง Francois Pinault ประกาศรับชำระเงินด้วยสกุลเงินคริปโตเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ด้วย
ไตรมาส 2: ช่วงเวลาอันน่าตื่นเต้นในฤดูใบไม้ผลิ
ตลาดงานศิลปะใช้เวลาราว 2-3 เดือนกว่าจะเข้าใจถึงธรรมชาติและความหมายของโทเคน NFT ได้อย่างแท้จริง โดยในช่วงเดือนเมษายน 2564 บริษัทประมูลรายใหญ่อีก 2 แห่งได้เปิดตัวการขายผลงานศิลปะในรูปแบบ NFT ซึ่งได้แก่ The Fungible Collection by Pak จาก Sotheby’s และ Replicator ผลงานของ Mad Dog Jones จาก Phillips โดยรายได้ที่ผลงานทั้งสองชิ้นนี้ได้ไปนั้นยังคงสร้างความกังวลให้นักสะสมและนักวิเคราะห์
โชคดีที่ในเดือนพฤษภาคม 2564 การขายผลงานศิลปะสุดยิ่งใหญ่ของนิวยอร์กได้ดำเนินต่อไป และงานศิลปะชนิดที่จับต้องได้นั้นทำเงินทะลุหลัก 100 ล้านดอลลาร์ได้เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี โดยผลงาน Woman Seated Near a Window (Marie-Therese) (1932) จากปาโบล ปิกัสโซ กวาดเงินเม็ดไปได้สูงถึง 103 ล้านดอลลาร์ในการประมูลของ Christie’s เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 ซึ่งในครั้งนั้นผลงานศิลปะชิ้นเอกเกือบทั้งหมดในตลาดงานศิลป์สามารถทำราคาได้อย่างงดงาม ไม่ว่าจะเป็นผลงานของบาสเกีย มอแน แวนโก๊ะ วอร์ฮอล และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งมีผลงานของศิลปินจำนวนมากที่สามารถทำราคาประมูลสูงสุดเป็นประวัติการณ์
5 ผลงานที่ทุบสถิติราคาประมูลสูงสุดให้กับตัวศิลปินเจ้าของผลงานในเดือนพฤษภาคม 2564 ที่นิวยอร์ก
ริชาร์ด ดีเบนกอร์น : จากผลงาน Ocean Park # 40 (2514) มูลค่า 27,265,500 ดอลลาร์ ณ วันที่ 15 พ.ค. 2564 ในการประมูลของ Sotheby’s
ลาร์วา แลบส์: จากผลงาน 9 Cryptopunks มูลค่า 16,962,500 ดอลลาร์ ณ วันที่ 11 พ.ค. 2564 ในการประมูลของ Christie’s
โรเบิร์ต โคเลสคอตต์: จากผลงาน George Washington […] (2518) มูลค่า 15,315,900 ดอลลาร์ ณ วันที่ 12 พ.ค. 2564 ในการประมูลของ Sotheby’s
ชิลด์ แฮสซัม: จากผลงาน Flags on 57th Street, Winter (2461) มูลค่า 12,328,500 ดอลลาร์ ณ วันที่ 12 พ.ค. 2564 ในการประมูลของ Sotheby’s
บาร์บารา เฮปเวิร์ธ: จากผลงาน Parent II (2513) มูลค่า 7,110,000 ดอลลาร์ ณ วันที่ 13 พ.ค. 2564 ในการประมูลของ Christie’s
ไตรมาส 3: ยอดขายงานศิลป์ออนไลน์ทะยานไม่หยุดในช่วงฤดูร้อน
โดยปกติแล้ว บริษัทประมูลรายใหญ่จะพักเปิดประมูลในช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม เนื่องจากเป็นช่วงที่แกลอรี่งานศิลปะและนิทรรศการต่าง ๆ จะปิดทำการชั่วคราว แต่ในปี 2563 หลายบริษัทจำต้องเลื่อนการประมูลออกไปเนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีการสร้างแพลตฟอร์มการขายงานศิลปะออนไลน์ใหม่ขึ้นมาหลายแห่ง ผลักดันให้บริษัทประมูลต้องเปิดอีเวนต์ในช่วงฤดูร้อน และกิจกรรมดังกล่าวก็ดำเนินเรื่อยมาจนถึงปีนี้ ซึ่งการขายงานศิลป์ออนไลน์ได้สร้างหลักประกันถึงการหมุนเวียนของงานศิลปะในทั่วทุกมุมโลก
งานวิจิตรศิลป์ทั้งหมด 121,000 ชิ้นถูกประมูลไปในไตรมาส 3 ของปี 2564 โดยการทำธุรกรรมครั้งประวัติศาสตร์ที่ทวีความร้อนแรงในช่วงฤดูร้อนนี้ส่วนใหญ่แล้วขับเคลื่อนโดยตลาดเอเชีย ไม่ใช่แค่ในฮ่องกงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงจีนแผ่นดินใหญ่ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นอีกด้วย
งานวิจิตรศิลป์ 3 อันดับแรกในเอเชียระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมปี 2564
คุซามะ ยาโยอิ (2472): Pumpkin (2524) มูลค่า 4,290,000 ดอลลาร์ ณ วันที่ 31 ก.ค. 2564 ในการประมูลที่ Mainichi Tokyo
ฟู่ เป้าสือ (2447-2508): Spring (2506) มูลค่า 4,400,000 ดอลลาร์ ณ วันที่ 25 ก.ค. 2564 ในการประมูลที่ Xiling Yinshe Hangzhou
คิม ฮานกี (2456-2517): 1 -VII 71 # 207 (2514) มูลค่า 4,152,720 ดอลลาร์ ณ วันที่ 24 ส.ค. 2564 ในการประมูลที่ Seoul Auction
ไตรมาส 4 : สัญญาณทั้งหมดเป็นไปในเชิงบวก….
ในช่วงเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนถือเป็นนาทีทองในการทำสถิติใหม่สำหรับศิลปินทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็นแจ็กสัน พอลล็อก, กุสตาฟว์ เคลเลอโบต์, ปีเตอร์ ด็อก, ฟรีดา กาโล, แบงก์ซี่, ปีแยร์ ซูลาฌ, แอกเนส มาร์ติน และอีกมากมาย การขายสองผลงานศิลปะอเมริกันอันเลื่องชื่อ ได้แก่ Impressionist Cox Collection ผ่าน Christie’s และ Post-War Macklowe Collection ที่ Sotheby’s ทำให้ไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 เป็นไตรมาส 4 ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดศิลปะอเมริกัน
สถานการณ์น่าจะฟื้นตัวจากการระบาดของโรคโควิด-19 หลังปี 2563 โดย Artprice จะจับตาอย่างใกล้ชิดต่อช่วงขาขึ้นของกิจกรรมต่าง ๆ และเผยแพร่ผ่านรายงาน Annual Art Market Report
นอกเหนือไปจากปรากฎการณ์ NFT แล้ว หนึ่งในกระแสสำคัญของปีนี้คือการผงาดขึ้นของตลาดฮ่องกงซึ่งพิสูจน์แล้วว่ามีศักยภาพแข็งแกร่งสำหรับตลาดศิลปะโลก ไม่เพียงแค่สามารถขายผลงานศิลปะชิ้นสำคัญของฌอง-มิเชล บาสเกียได้เป็นคร้งแรกในเอเชียเท่านั้น แต่ยังทำสถิติใหม่ให้กับผลงานสำคัญได้อีกด้วย ทั้งผลงานจากตะวันตก (ริชาร์ด ปรินซ์) และเอเชีย (คุซามะ ยาโยอิ) แต่นอกเหนือไปจากนั้น ฮ่องกงยังได้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่สำหรับศิลปินสายเลือดใหม่ อาทิ เอเวอรี ซิงเกอร์ ศิลปินชาวอเมริกัน และอาโมโกะ โบอาโฟ ศิลปินจากกานา สุดท้าย แต่ไม่ท้ายสุด….บัดนี้ ฮ่องกงได้กลายมาเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการขาย NFT สำคัญแห่งใหม่ของโลกแล้ว
ภาพ:
[https://imgpublic.artprice.com/img/wp/sites/11/2021/12/image1-artprice-index.png]
[https://imgpublic.artprice.com/img/wp/sites/11/2021/12/image2-boticelli.jpeg]
ลิขสิทธิ์ 2530-2564 thierry Ehrmann www.artprice.com – www.artmarket.com
ติดต่อฝ่ายเศรษฐมิติเพื่อขอข้อมูลสถิติและผลการศึกษารูปแบบเฉพาะได้ที่: econometrics@artprice.com
ลองใช้บริการของเรา (ลองใช้ฟรี): https://www.artprice.com/demo
สมัครสมาชิกบริการของเรา: https://www.artprice.com/subscription
เกี่ยวกับ Artmarket:
Artmarket.com มีชื่ออยู่ใน Eurolist โดย Euronext Paris, SRD long only และ Euroclear: 7478 – Bloomberg: PRC – Reuters: ARTF
สำรวจ Artmarket และฝ่าย Artprice ทางวิดีโอ: www.artprice.com/video
Artmarket และฝ่าย Artprice ก่อตั้งในปี 2540 โดยซีอีโอเธียร์รี แอร์มันน์ Artmarket และฝ่าย Artprice ได้รับการกำกับดูแลโดย Groupe Serveur ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2530
ดูชีวประวัติที่ผ่านการรับรองใน Who’s who (C): Biographie_thierry_Ehrmann_2022_WhosWhoInFrance.pdf
Artmarket เป็นผู้นำระดับโลกในตลาดงานศิลปะ โดยหนึ่งในโครงสร้างนั้นคือฝ่าย Artprice ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกในการสะสม การจัดการ และแสวงหาประโยชน์ของข้อมูลทางตลาดงานศิลปะทั้งในประวัติศาสตร์และปัจจุบันในคลังข้อมูลที่ประกอบด้วยดัชนีและผลการประมูลกว่า 30 ล้านรายการ ครอบคลุมศิลปินกว่า 770,000 ราย
Artprice by Artmarket ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกด้านข้อมูลในตลาดงานศิลปะ ตั้งเป้าหมายที่ทะเยอทะยานให้ตัวเองผ่านตลาดที่เป็นมาตรฐานระดับโลก เพื่อที่จะเป็นแพลตฟอร์ม NFT งานวิจิตรศิลป์ชั้นนำของโลก
Artprice Images(R) ช่วยให้เข้าถึงคลังภาพตลาดงานศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลก: โดยมีภาพดิจิทัลไม่น้อยกว่า 180 ล้านรายการจากภาพถ่ายหรืองานลอกสลักจากงานศิลปะปี 1700 จนถึงปัจจุบัน พร้อมความเห็นจากนักประวัติศาสตร์งานศิลปะของเรา
Artmarket ร่วมกับฝ่าย Artprice สะสมข้อมูลถาวรจากบริษัทประมูล 6300 รายและสร้างข้อมูลตลาดงานศิลปะที่สำคัญสำหรับสื่อและเอเจนซี่ด้านสื่อมากมาย (สิ่งพิมพ์เผยแพร่ 7,200 ชิ้น) ผู้ใช้ 5.4 ล้าน (‘สมาชิกเข้าสู่ระบบ’+โซเชียลมีเดีย) เข้าถึงโฆษณาที่โพสต์โดยสมาชิกอื่น ๆ เป็นเครือข่ายที่ปัจจุบันนับเป็น Global Standardized Marketplace(R) ในการซื้อและขายงานศิลปะด้วยราคาคงที่หรือราคาประมูล (การประมูลกำกับดูแลโดยวรรคที่ 2 และ 3 ของมาตรา L 321.3 ของประมวลกฎหมายแพ่งแห่งฝรั่งเศส)
Artmarket ร่วมกับฝ่าย Artprice ได้รับรางวัล State label “บริษัทแห่งนวัตกรรม” โดย Public Investment Bank (BPI) (เป็นครั้งที่ 2 ในเดือนพฤศจิกายน 2561 สำหรับช่วงใหม่ 3 ปี) ซึ่งสนับสนุนบริษัทในโครงการที่จะสร้างสถานะในฐานะผู้นำระดับโลกในตลาดงานศิลปะ
รายงานตลาดงานศิลปะร่วมสมัยปี 2563/64 ของ Artprice โดย Artmarket.com:
https://www.artprice.com/artprice-reports/the-contemporary-art-market-report-2021
รายงานตลาดงานศิลปะทั่วโลกปี 2563 ของ Artprice by Artmarket เผยแพร่ในเดือนมีนาคม 2564:
https://www.artprice.com/artprice-reports/the-art-market-in-2020
ดัชนีข่าวประชาสัมพันธ์ที่โพสต์โดย Artmarket ร่วมกับฝ่าย Artprice:
serveur.serveur.com/Press_Release/pressreleaseEN.htm
ติดตามข่าวสารตลาดงานศิลปะทั้งหมดแบบเรียลไทม์กับ Artmarket และฝ่าย Artprice ทาง Facebook และ Twitter:
www.facebook.com/artpricedotcom/ (ผู้ติดตามมากกว่า 5.4 ล้านราย)
twitter.com/artmarketdotcom
twitter.com/artpricedotcom
สำรวจการเล่นแร่แปรธาตุและจักรวาลของ Artmarket และฝ่าย Artprice https://www.artprice.com/video มีสำนักงานใหญ่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยชื่อดัง Organe “The Abode of Chaos” (คำนิยม The New York Times): https://issuu.com/demeureduchaos/docs/demeureduchaos-abodeofchaos-opus-ix-1999-2013
L’Obs – The Museum of the Future: https://youtu.be/29LXBPJrs-o
www.facebook.com/la.demeure.du.chaos.theabodeofchaos999
(ผู้ติดตาม 4.4 ล้านราย)
อินโฟกราฟิก – https://mma.prnewswire.com/media/1717224/Artprice_Index_Infographic.jpg
รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1717225/Artmarket_Botticelli.jpg
โลโก้ – https://mma.prnewswire.com/media/1009603/Art_Market_logo.jpg
ติดต่อ Artmarket.com และฝ่าย Artprice ได้ทาง: Thierry Ehrmann, ir@artmarket.com