Xu Ziyang ซีอีโอ ZTE ขึ้นเวทีกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ “ขับเคลื่อนการก้าวสู่ดิจิทัล สร้างความอัจฉริยะ”

การกล่าวสุนทรพจน์หลักในงาน Mobile World Congress 2021
ZTE Corporation (0763.HK / 000063.SZ) ผู้ให้บริการรายใหญ่ระดับโลกด้านโซลูชันโทรคมนาคมและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมือถือสำหรับองค์กรและผู้บริโภค ประกาศวันนี้ว่า Xu Ziyang ผู้เป็นซีอีโอของบริษัท ได้กล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ “Fuel the Digitalization, Endow with Intelligence” (ขับเคลื่อนการก้าวสู่ดิจิทัล สร้างความอัจฉริยะ) ในพิธีเปิดงาน Mobile World Congress 2021
ในการนี้ คุณ Xu Ziyang เปิดเผยว่า การประยุกต์ใช้งาน 5G ด้วยการใช้เครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์ระดับใหญ่ ได้เข้าสู่ช่วงของการพัฒนาแบบแบ่งย่อย (iterative development) แม้ว่าจะมีความท้าทายที่ต้องรับมือ อย่างเช่นการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและโมเดลธุรกิจ ทิศทางของนวัตกรรมในด้านนี้เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยการทำงานกับคู่ค้าในอุตสาหกรรมและในระบบนิเวศเป็นระยะเวลากว่าสองปี ZTE ได้พัฒนาทิศทางนวัตกรรมการประยุกต์ใช้งานที่สำคัญสามประการ ตลอดจนรากฐานของการส่งเสริมเชิงดิจิทัล
ทั้งสามทิศทางของนวัตกรรมในการใช้งาน 5G ดังกล่าว ประกอบด้วย การส่งเสริมคนแต่ละคนด้วย 5G เพื่อขยายพรมแดนของการสัมผัสและสร้างความเป็นไปได้ที่ไม่จำกัด การส่งเสริมกลุ่มเป้าหมายด้วย 5G เพื่อปิดช่องว่างดิจิทัล และการส่งเสริมอุตสาหกรรมด้วย 5G เพื่อสนับสนุนการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม
ในขณะเดียวกัน รากฐานของการส่งเสริมเชิงดิจิทัลได้บรรลุความสำเร็จในด้าน “บรอดแบนด์ที่มีอยู่ทุกที่” “ระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในทุกหนทุกแห่ง” “การหลอมรวมหลายมิติ” และ “การประหยัดพลังงานที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม” จึงช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ในการใช้งานแบบเรียลไทม์ที่คล่องตัวและเป็นไปในเชิงนวัตกรรม ตลอดจนทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ทรัพยากรและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
บริษัทยังยินดีที่จะเปิดให้ทั้งอุตสาหกรรมและคู่ค้าในระบบนิเวศสามารถเข้าถึงสมรรถนะเหล่านี้ เพื่อสร้างอนาคตที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน
สุนทรพจน์ของคุณ Xu Ziyang มีเนื้อหาดังต่อไปนี้
สวัสดียามเช้า ยามบ่าย และยามเย็น ท่านแขกผู้มีเกียรติ ท่านสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีทุกท่านครับ
ถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ผมได้เข้าร่วมงานMWC Barcelona 2021 ทางออนไลน์ ซึ่งเป็นรูปแบบที่แตกต่างจากที่เราคุ้นเคย ในการนี้ ผมจะนำเสนอแนวคิด ‘ขับเคลื่อนการก้าวสู่ดิจิทัล สร้างความอัจฉริยะ’ (Fuel the Digitalization, Endow with Intelligence) ร่วมกับคู่ค้าของเราในระบบนิเวศ โดยมุ่งหาหนทางในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและระบบอัจฉริยะของสังคมมนุษย์ด้วยการเสริมสร้างรากฐานดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง
อย่างที่พวกคุณหลายคนคงทราบดี นับเป็นเวลาสองปีแล้วตั้งแต่การเปิดตัว 5G เป็นครั้งแรก จนถึงปัจจุบันนี้ สถานีฐาน 5G กว่า 1.1 ล้านแห่งดำเนินการอยู่ทั่วโลก 5G ไม่เพียงแต่ยกระดับประสบการณ์การใช้งานให้ดียิ่งขึ้น แต่ยังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลและระบบอัจฉริยะในตลาดแนวดิ่ง ที่เราเห็นอยู่นี้คือฐานการผลิต 5G อัจฉริยะของ ZTE ในหนานจิง ซึ่งมีการผลิตสถานี 5G ห้าแห่งในทุก ๆ นาที ก่อนที่จะส่งไปทั่วโลก ถือเป็นตัวอย่างที่ดีมากของการดำเนินการของเราตามแนวคิด ‘การผลิตอัจฉริยะด้วย 5G’ (Intelligent Manufacturing Powered by 5G) ในฐานการผลิตแห่งนี้ ด้วยเครือข่าย 5G ที่ครอบคลุมอย่างทั่วถึงและการใช้งานระบบ MEC เราได้ดำเนินการประยุกต์ใช้ 5G แบบทั่วไปจำนวน 10 วิธีซึ่งจำเป็นต่อการสร้างระบบการผลิตอัจฉริยะ ประกอบด้วย AGV ระบบคลาวด์, ระบบตรวจสอบคุณภาพการผลิต (machine vision) ความคมชัดระดับ 8K, PLC ระบบคลาวด์, พื้นที่จัดเก็บอัจฉริยะ, อุปกรณ์เทคโนโลยีแบบสวมใส่เชิงอุตสาหกรรม การทำสำเนาฝาแฝดดิจิทัล และการตรวจสอบ ณ สถานที่จริง ตัวเลขที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มในเชิงบวก โดยใช้กำลังคนลดลง 40% อัตราการเกิดความสูญเสียจากงานเสียลดลง 20% และวงจรการผลิตลดลง 30% ขณะที่ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น 40%
ยิ่งไปกว่านั้น เราพร้อมทั้งผู้ดำเนินการกว่า 90 รายและคู่ค้ากว่า 500 รายทั่วโลก ได้สำรวจการประยุกต์ใช้งาน 5G เชิงนวัตกรรมในขอบเขตที่ครอบคลุมกว้างขวาง และได้พัฒนากรณีการใช้งานระบบจำนวนมากในกว่า 15 อุตสาหกรรมซึ่งมีผลลัพธ์เชิงบวก เรายินดีที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ด้วย 5G และได้เห็นการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น ๆ อีกมากมายในโรงงานในประเทศไทย ท่าเรือในเบลเยียม ฟาร์มในออสเตรีย ตลอดจนการผลิต การคมนาคมขนส่ง ระบบโครงข่ายไฟฟ้า และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในจีน
แม้การใช้งาน 5G จะยังอยู่ในขั้นแรก แต่ขณะนี้เราก็มองเห็นทิศทางที่เป็นไปได้อยู่บ้าง สิ่งแรกที่ผมนึกออกคือการขยายพรมแดนการสัมผัสและการสร้างความเป็นไปได้ที่ไม่จำกัดให้แก่คนแต่ละคน ในปัจจุบันพรมแดนระหว่างโลกดิจิทัลกับโลกกายภาพเริ่มพร่าเลื่อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเครือข่ายและบริการคลาวด์ใหม่ ๆ บ้านอัจฉริยะทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้น การสวมแว่น AR/VR ทำให้เราสามารถดื่มด่ำประสบการณ์เสมือนจริงในการเดินทาง การเล่นเกม การแข่งกีฬา และการชมคอนเสิร์ตได้จากที่บ้านของตัวเอง ด้วยการใช้งานโดรน เราสามารถขยายทัศนวิสัยของเรา นอกจากนี้การประยุกต์ใช้แบบอัตโนมัติ อย่างเช่น การขับขี่อัตโนมัติ แมชชีนวิชัน การทำเหมืองแร่โดยไม่ใช้มนุษย์ และหุ่นยนต์กู้ภัย ยังทำให้ทรัพย์สินและชีวิตของเราได้รับการคุ้มครองอย่างดียิ่งขึ้น
ประการที่สอง คือเพื่อปิดช่องว่างดิจิทัล โดยมุ่งบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในโลก ตัวอย่างเช่น การแพทย์ทางไกลโดยใช้ 5G ช่วยให้แพทย์และผู้เชี่ยวชาญสามารถวินิจฉัยผู้ป่วยได้จากทางไกล ทำให้ทรัพยากรการแพทย์คุณภาพสูงสามารถเข้าถึงได้อย่างทันที นักข่าวสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ต่อหน้ากันโดยใช้เทคโนโลยีโฮโลแกรม การเรียนระยะไกลช่วยสร้างโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกันสำหรับภูมิภาคต่าง ๆ ที่อยู่ต่างขั้นของการพัฒนา 5G FWA ช่วยให้เกิดการให้บริการบรอดแบนด์ในบางพื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐานจำกัด ผู้คนสามารถทำงานได้จากที่บ้านอย่างมีอิสระและมีประสิทธิผลเช่นเดียวกับอยู่ในสำนักงาน และด้วยเทคโนโลยี 5G จากห้วงอากาศสู่พื้นดิน หรือ 5G Air-To-Ground ผู้โดยสารสามารถใช้บริการการเชื่อมต่อระหว่างอยู่บนเครื่องบินได้อย่างราบรื่นเหมือนกับเวลาอยู่บนพื้นดิน อย่างที่เห็น 5G ช่วยลดระยะทางระหว่างผู้คนและช่วยพาหัวใจให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่สังคมที่มีความสมานฉันท์ยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ เพื่อให้สอดรับกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคใหม่ เราได้พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเร่งการพัฒนาทางสังคม ตัวอย่างเช่น โรงงานอัจฉริยะเป็นการก้าวกระโดดจากการผลิตแบบดั้งเดิม ซึ่งช่วยลดต้นทุนขณะที่เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพ โครงสร้างพื้นฐานการจราจรอัจฉริยะเอื้อต่อการปล่อยก๊าซคาร์บอนในระดับที่ต่ำและการคมนาคมที่มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น 5G ช่วยสร้างโครงข่ายไฟฟ้าฉัจฉริยะที่เชื่อถือได้ ปลอดภัย ประหยัด มีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้งานการเชื่อมต่อความหน่วงต่ำและต้นทุนต่ำในการครอบคลุมที่กว้างขวางซึ่งช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอน 5G ทำให้การบริหารจัดการอัจฉริยะเกิดขึ้นได้จริงในด้านเกษตรกรรม และ 5G ยังช่วยยกระดับสภาพแวดล้อมการใช้ชีวิตของเราด้วยคุณภาพของน้ำและอากาศที่ดีขึ้น จึงเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แน่นอนว่าการประยุกต์ใช้งานเชิงนวัตกรรมที่เรามีในวันนี้ยังจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาต่อไปด้วยการประหยัดต่อขนาดและโมเดลธุรกิจ อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญในระดับพื้นฐาน ได้แก่การมีแพลตฟอร์มส่งเสริมดิจิทัล
อย่างที่หลายคนทราบดีอยู่แล้ว ‘การขับเคลื่อนด้วยข้อมูล’ เป็นกุญแจสำคัญสู่การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลขององค์กรแนวดิ่งหลายแสนแห่ง ผลที่เกิดขึ้นคือการมุ่งเน้นคอมพิวเตอร์ได้มีวิวัฒนาการเป็นการมุ่งเน้นข้อมูล ด้วยความเข้าใจเช่นนี้ รากฐานเชิงดิจิทัลซึ่งมีบทบาทสำคัญจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในแง่ของการเป็น ‘บรอดแบนด์ที่มีอยู่ทุกที่’ ‘ระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในทุกหนทุกแห่ง’ และ ‘การหลอมรวมหลายมิติ’ นอกจากนี้ ยังจะมีการขยายตลาดใหม่หลายแห่งและมุ่งสู่ความยั่งยืนทางธุรกิจ
เราเชื่อว่าสมรรถนะของเครือข่ายที่เพิ่มขึ้นจะช่วยส่งเสริมเครือข่ายในสามด้าน ได้แก่ แบนด์วิดท์ ความคล่องตัว และการจัดการตารางเวลา
ในแง่ของการขยายแบนด์วิดท์ สิ่งสำคัญที่ควรพูดถึงคือการปรับปรุง 5G uplink และการเข้าถึงแบบ gigabit optical สำหรับบรอดแบนด์ที่เชื่อมต่อแบบใช้สาย
ในแง่ของความคล่องตัวของเครือข่ายSRv6 ทำให้เครือช่าย IP มีความยืดหยุ่นและตั้งค่าโปรแกรมได้ สมรรถนะ VPN จาก FlexE และการจัดสรรเครือข่ายแบบ hard slicing ตอบโจทย์ความต้องการความหน่วงต่ำ ความล่าช้าในการรับข้อมูลต่ำ ความเชื่อถือได้สูงพิเศษ และการแยกตัวอย่างปลอดภัย เครือข่ายนำแสงได้ยกระดับ mesh ขึ้นไปอีกขั้นของวิวัฒนาการ ซึ่งช่วยเพิ่มสมรรถนะ ลดความหน่วง และเพิ่ม redundancy แกนหลักที่อยู่ในระบบคลาวด์ช่วยรองรับการใช้งานและปฏิบัติการให้เป็นไปอย่างยืดหยุ่นและคล่องตัวยิ่งขึ้น
เราใช้การบริหารจัดการทรัพยากร การแยกระหว่างcontrol กับ forwarding การจัดสรรเครือข่ายอัตโนมัติแบบครบวงจร การจัดเตรียมอัตโนมัติภายในไม่กี่นาที และการดำเนินการจัดสรรเครือข่ายที่ยืดหยุ่นได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินการ
ข้อมูลเพิ่มสูงขึ้นทั้งในแง่ของปริมาณและความหลากหลายในยุคAIoT ในขณะเดียวกัน การประมวลผลข้อมูลก็ซับซ้อนยิ่งขึ้นเมื่อมีปัญญาประดิษฐ์ ตัวอย่างเช่น อัลกอริทึมการเรียนรู้อัตโนมัติแบบ deep learning ในแง่นี้ สมรรถนะคอมพิวเตอร์แบบรวมศูนย์ไม่สามารถสร้างความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูงสุดได้อีกต่อไป ในทางตรงกันข้าม การประสาน cloud-edge-terminal ถูกมองว่าเป็นวิธีแก้ปัญหาดังกล่าวแบบครอบจักรวาล สมรรถนะที่แตกต่างกันระหว่าง cloud, edge และ terminal และการยกระดับให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และชิปเซ็ต ทำให้ hyper-convergence ที่มีลักษณะ load-sensitive ได้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานที่จะทำให้เกิดความสามารถในการขยายตัว ความคล่องตัว และการพัฒนาที่รวดเร็ว
ในเรื่องนี้ผมต้องพูดถึงคำสำคัญ ประกอบด้วย การบรรจบกันของคลาวด์และเครือข่าย การบรรจบกันของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ไปจนถึงการบรรจบกันของAI เช่นเดียวกับระบบรักษาความปลอดภัยภายในอย่างแท้จริง
เหนือสิ่งอื่นใด เราต้องการระบบคลาวด์แบบออนดีมานด์ และการทำงานแบบประสานกันของเครือข่ายกับคลาวด์ เพื่อให้สอดรับกับความหลากหลาย แนวทางที่เราได้ดำเนินการเมื่อปีที่แล้ว ‘โซลูชั่นคลาวด์และเครือข่ายแม่นยำ’ (Precise Cloud and Network Solution) เป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นถึงพลังของการให้บริการองค์กรแนวดิ่งและเร่งการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล
นอกจากนี้ การหลอมรวมซอฟต์แวร์กับฮาร์ดแวร์ยังช่วยเสริมสร้างทักษะของเราในการทำตามธรรมชาติของธุรกิจและบรรลุประสิทธิภาพด้านต้นทุน ซอฟต์แวร์มุ่งสำหรับการทำงานแบบmicroservice การรองรับการประมวลผลในระบบคลาวด์และองค์ประกอบของคลาวด์ ขณะที่ฮาร์ดแวร์มุ่งให้เกิดสมรรถนะสูงสุด เราสามารถทลายเส้นแบ่งระหว่างทั้งสองสิ่งนี้ด้วยการดำเนินกระบวนการยกระดับประสิทธิภาพร่วมกันระดับโลก ซึ่งมุ่งสำหรับรูปแบบของสถานการณ์การใช้งานที่เฉพาะเจาะจง ตัวอย่างเช่น เราจะได้เห็นทางเลือกการเร่งสู่ดิจิทัลที่ครอบคลุมมากขึ้น ตลอดจนได้เห็นนวัตกรรมชิปเล็ต (chiplet) ที่เพิ่มมากขึ้น
ในแง่ของปัญญาประดิษฐ์ ต้องมุ่งใช้มูลค่าของข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุด บิ๊กดาต้าและการหลอมรวมปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้training model รองรับการทำงานประสานกันข้ามโดเมนระหว่างระบบและ node ต่าง ๆ จึงช่วยให้การทำงานประสานกันจากศูนย์ข้อมูลไปยังจุดเชื่อมต่อทางวิทยุ (radio interface) เป็นไปอย่างราบรื่นยิ่งขึ้น และช่วยให้การปฏิบัติการและการซ่อมบำรุงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ความปลอดภัยภายในอย่างแท้จริงทำหน้าที่เป็นเหมือนระบบภูมิคุ้มกันสำหรับเครือข่ายที่มีสัมผัสของตัวเองและมีการปรับตัวและวิวัฒนาการอยู่เสมอ ระบบความปลอดภัยนี้สร้างขึ้นในระหว่างขั้นตอนการก่อสร้างเครือข่าย และมีฟังก์ชันการรักษาความปลอดภัยที่หลากหลาย ตลอดจนสามารถพัฒนาได้โดยอัตโนมัติระหว่างการทำงานของเครือข่าย จึงรับประกันได้อยู่เสมอในเรื่องความปลอดภัย บริการ และข้อมูล
นอกจากนี้ จากข้อมูลของGSMA อุตสาหกรรมโทรคมนาคมเคลื่อนที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นสัดส่วน 0.4% ของทั้งโลก การลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนถือเป็นเป้าหมายร่วมกันของทั้งอุตสาหกรรม เพื่อสร้างเครือข่ายสีเขียวที่ใช้พลังงานน้อยลง ZTE มุ่งผลักดันให้เกิดการใช้มาตรการที่เหมาะสมตลอดทั้งวงจรชีวิตของเครือข่าย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้วยอินเทอร์เน็ต 5G สำหรับอุตสาหกรรม (5G Industrial Internet), MEC และ AI การผลิตแบบอัจฉริยะอย่างมีประสิทธิภาพสามารถเกิดขึ้นได้โดยมีการบริโภคพลังงานน้อยลง สำหรับนวัตกรรมในสถานีฐาน เราสามารถปรับปรุงการออกแบบชิปเซ็ต ตัวขยายสัญญาณ (power amplifier) และการบูรณาการระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ในระหว่างการก่อสร้างเครือข่ายยังสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ด้วยการใช้พลังงานสะอาดและแหล่งพลังงานสำรองประสิทธิภาพสูงสำหรับสถานีฐาน ตลอดจนเทคโนโลยีการกระจายความร้อนสำหรับศูนย์ข้อมูล อย่างเช่น การออกแบบโมดูลที่กำหนดไว้แล้วและเทคโนโลยีการระบายความร้อนด้วยของเหลว ขณะที่ระหว่างการทำงานของเครือข่ายสามารถใช้โซลูชันอย่างเช่น PowerPilot เพื่อจัดการ traffic แบบอัจฉริยะโดยใช้อัลกอริทึม จึงช่วยลดการบริโภคพลังงานพร้อมทั้งมอบประสบการณ์ผู้ใช้ที่ดี
ด้วยมาตรการเช่นนี้ตลอดทั้งวงจรชีวิตของเครือข่าย เราสามารถช่วยผู้ปฏิบัติในการสร้างเครือข่ายสีเขียวได้อย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
แม้ 5G จะถูกนำมาใช้งานเชิงพาณิชย์มาเป็นเวลากว่าสองปีแล้ว แต่ก็ยังอยู่ในขั้นแรก เพื่อให้เกิดความสำเร็จเชิงพาณิชย์นั้น เราควรร่วมมือกันเพื่อพัฒนาระบบนิเวศและโมเดลธุรกิจ ZTE มีพันธกิจในการพัฒนาอุตสาหกรรมและระบบนิเวศ โดยมีประสบการณ์อย่างลึกซึ้งในเทคโนโลยีที่เป็นแกนหลัก ผลิตภัณฑ์และโซลูชัน E2E DICT องค์ประกอบคลาวด์ และนวัตกรรม 5G เรายินดีที่จะทำให้สมรรถนะเหล่านี้เข้าถึงได้โดยคู่ค้าทั้งหมดในอุตสาหกรรมและในระบบนิเวศ ผมตื่นเต้นที่จะได้เห็นว่าเทรนด์นี้จะพาเราไปในทิศทางใด ขอเราจงมาร่วมมือกันเพื่อสร้างอนาคตที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์แบบวินวิน
ขอบคุณครับ
สื่อมวลชนติดต่อ:
Margaret Ma
ZTE Corporation
โทร: +86 755 26775189
อีเมล: ma.gaili@zte.com.cn
รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1553643/CEO.jpg