หัวเว่ยจัดประกวดนวัตกรรมไอซีทีประจำปี 2565 ดึงดูดนักเรียนนักศึกษาและครูผู้สอนรวมกันกว่า 5,300 รายจาก 10 ประเทศทั่วเอเชียแปซิฟิก

หัวเว่ย (Huawei) จัดการประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในหัวข้อ “การเชื่อมต่อ ความรุ่งโรจน์ อนาคต” (Connection, Glory, Future) โดยเป็นเวทีประชันทักษะทางไอซีทีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ดึงดูดนักเรียนนักศึกษาและครูผู้สอนในโครงการหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี (Huawei ICT Academy) ได้กว่า 5,300 รายในปี 2565

คุณนิโคลัส หม่า (Nicholas Ma) ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ประจำเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย กล่าวเปิดการแข่งขันว่า “การประกวดนวัตกรรมไอซีทีของหัวเว่ยเป็นหนึ่งในความริเริ่มของโครงการหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี ซึ่งมีไอซีที อะคาเดมี รวมกันถึง 272 แห่งทั่วเอเชียแปซิฟิก การประกวดดังกล่าวเปิดฉากใน 14 ประเทศทั่วภูมิภาค ปัจจุบัน โครงการนี้ได้ฝึกอบรมบุคลากรสายดิจิทัลมาแล้วกว่า 100,000 ราย และหัวเว่ยทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับมหาวิทยาลัย 300 แห่งทั่วเอเชียแปซิฟิก และในอีก 5 ปีข้างหน้า หัวเว่ยจะเดินหน้าลงทุนในภูมิภาคนี้ โดยตั้งใจลงทุนเป็นเงินถึง 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพัฒนาบุคลากรคนเก่งให้ได้ 500,000 คน” และอธิบายเพิ่มเติมว่า หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นในการสร้างระบบนิเวศบุคลากรสายไอซีทีที่มีความเข้มแข็ง ทำงานร่วมกับพันธมิตร ลูกค้า และสังคม เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิศวกรรมและทักษะด้านไอซีที ให้ภูมิภาคนี้พร้อมรับกับอนาคต

การประกวดครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบ่มเพาะบุคลากรคนเก่งในการขับเคลื่อนอนาคตของการพลิกโฉมสู่ดิจิทัล ส่งเสริมการวางแผนซัพพลายและดีมานด์ในเรื่องบุคลากรมากความสามารถ และพัฒนาเครือข่ายบุคลากรที่มีความมั่นคง โดยผู้เข้าประกวดแต่ละรายมาจากมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยชั้นนำรวม 272 แห่งจาก 10 ประเทศ ซึ่งเลือกได้ว่าจะประกวดในหมวดเครือข่ายหรือคลาวด์

การประกวดครั้งนี้ไม่ได้มีขึ้นเพื่อยกย่องและให้รางวัลตอบแทนความสำเร็จของนักเรียนนักศึกษาในสาขาไอซีทีเพียงเท่านั้น แต่ยังให้แนวทางช่วยพัฒนาเส้นทางอาชีพในอนาคตด้วย สำหรับผู้แข่งขันแล้ว การประกวดนวัตกรรมไอซีทีของหัวเว่ยเป็นมากกว่าการแข่งขันอย่างเป็นกันเอง เพราะยังเป็นเส้นทางในการสำรวจที่ครอบคลุมเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ไอซีทีใหม่ ๆ เช่นเดียวกับเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมด้วย

อีเวนต์นี้ได้เชิญศ.ดร. อดิวิจายา อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทลคอม ประเทศอินโดนีเซีย มาร่วมแบ่งปันข้อคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมีด้วย โดยศ.ดร. อดิวิจายา กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยเทลคอมได้ฝึกอบรมนักศึกษามาแล้วหลายพันราย ซึ่งในปี 2564 เพียงปีเดียว มหาวิทยาลัยเทลคอมก็ได้อบรมนักศึกษากว่า 800 ราย ซึ่งมากที่สุดเมื่อเทียบกับพันธมิตรรายอื่น ๆ ในโครงการหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี และเราเชื่อว่า ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรมจะช่วยเพิ่มพูนทักษะของนักศึกษาเพื่อก้าวขึ้นเป็นนักศึกษาชั้นยอด และส่งเสริมขีดความสามารถให้บัณฑิตมีโอกาสในการทำงานมากขึ้น”

เลียม อากัง ริสกี ซันจายา (Liem Agung Risky Sanjaya) ซึ่งเคยเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยเทลคอม ได้เข้าร่วมการประกวดไอซีทีประจำปี 2561-2562 ของหัวเว่ยที่อินโดนีเซีย และคว้ารางวัลอันดับสองมาได้ จากนั้นเขาก็ได้เป็นตัวแทนของทีมอินโดนีเซีย และคว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดนวัตกรรมไอซีทีประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ยมาได้ในปี 2562 เขาเปิดเผยว่า การประกวดนี้ช่วยให้เขามีข้อได้เปรียบเมื่อหางาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีของหัวเว่ย

โจ หยาง อาจารย์และหัวหน้าฝ่ายการศึกษาต่อเนื่องและความร่วมมือภาคอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยสิงคโปร์ โพลีเทคนิค กล่าวว่า “ความร่วมมือกับหัวเว่ยทำให้นักศึกษาระดับอนุปริญญาหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์รวมถึงวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ค้นพบจุดแข็งและจุดอ่อน พัฒนาทักษะไอซีทีของตนเอง และยกระดับความสามารถทางการแข่งขันเมื่อต้องหางานในวันข้างหน้า ความร่วมมือนี้เป็นแพลตฟอร์มในการพัฒนาคนเก่งสำหรับทั้งสิงคโปร์และแวดวงไอซีทีระดับโลก”

จากจำนวนนักศึกษาทั้งหมดที่ลงแข่งในรอบแรกของการแข่งขันปีนี้ มีผู้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาคทั้งสิ้น 114 ราย โดยมี 18 รายคว้ารางวัลเหรียญทองแดง เหรียญเงิน หรือเหรียญทองในสาขาเครือข่ายและคลาวด์ สำหรับสาขาเครือข่ายนั้น มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย (USM) คว้าอันดับหนึ่ง ขณะที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเก๊า (MUST) และวิทยาลัยเอสทีไอ (STI) จากฟิลิปปินส์คว้าอันดับสองและสามในการประกวดนวัตกรรมไอซีทีประจำเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ยในปี 2565 ส่วนสาขาคลาวด์นั้น อันดับหนึ่งเป็นของมหาวิทยาลัยมัลติมีเดีย (MMU) ประเทศมาเลเซีย สำหรับอันดับสองและสามตกเป็นของสถาบันนันยาง โพลีเทคนิค (NYP) ประเทศสิงคโปร์ และมหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคฮ่องกง (PolyU) ทั้งนี้ ผู้ชนะทั้ง 18 สถาบันจะได้ไปต่อในการประกวดไอซีทีของหัวเว่ยในเดือนมิถุนายน 2565 ซึ่งจะมีขึ้นที่เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกวดนวัตกรรมไอซีทีของหัวเว่ยได้ที่ https://bit.ly/3qmrlzj

เกี่ยวกับหัวเว่ย

หัวเว่ย ก่อตั้งขึ้นในปี 2530 เป็นผู้นำของโลกด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และอุปกรณ์อัจฉริยะ เรามีพนักงานกว่า 197,000 คน และดำเนินงานในกว่า 170 ประเทศและภูมิภาค เพื่อให้บริการลูกค้ากว่า 3 พันล้านคนทั่วโลก

วิสัยทัศน์และพันธกิจของเราคือ การนำดิจิทัลไปสู่ทุกคน ทุกบ้าน และทุกองค์กร เพื่อโลกอัจฉริยะที่เชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์ เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ เราจะผลักดันการเชื่อมต่อที่มีอยู่ทุกแห่งและส่งเสริมการเข้าถึงเครือข่ายอย่างเท่าเทียม นำคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ไปยังทุกมุมโลกเพื่อมอบพลังการคำนวณที่เหนือกว่าในที่ที่ต้องการและในเวลาที่จำเป็น สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อช่วยให้ทุกอุตสาหกรรมและองค์กรคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และกระฉับกระเฉงมากขึ้น ตลอดจนเปลี่ยนนิยามประสบการณ์ผู้ใช้ด้วย AI เพื่อมอบความเป็นส่วนตัวที่มากขึ้นสำหรับประชาชนในทุกมุมมองของชีวิต ไม่ว่าจะที่บ้าน ที่ทำงาน หรือขณะเดินทาง ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.huawei.com หรือติดตามเราทาง

http://www.linkedin.com/company/Huawei


https://www.facebook.com/HuaweiEnterpriseAPAC

http://www.youtube.com/Huawei

รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1773831/Nicholas_Ma_President_Huawei_APAC_Enterprise_Business_Group__BG.jpg

คำบรรยายภาพ – คุณนิโคลัส หม่า ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ประจำเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย