กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว), U2T (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล), วิทยสถานสังคมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ ธัชชา (Thailand Academy of Social Sciences, Humanities and Arts : TASSHA) และ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ต่อยอดความสำเร็จของโครงการ “ไทยทะยาน” ในแนวคิด “ทะยานให้สร้างสรรค์ ปั้นไทยด้วยมือ GEN Z” มอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด พร้อมเปิดให้ชมนิทรรศการ “ไทยทะยาน” จากผลงานนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการและผ่านเข้ารอบ 4 – 6 เมษายนนี้
กรุงเทพฯ – กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว), U2T (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) , วิทยสถานสังคมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ ธัชชา (Thailand Academy of Social Sciences, Humanities and Arts : TASSHA) และ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จัดพิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะกิจกรรมการประกวดสุดยอดผลงานการสร้างมูลค่าเพิ่มทางมรดกวัฒนธรรมไทยด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากคนรุ่นใหม่ ในโครงการ “ไทยทะยาน” ภายใต้แนวคิด “ทะยานให้สร้างสรรค์ ปั้นไทยด้วยมือ GEN Z” พร้อมเปิดนิทรรศการไทยทะยาน การจัดแสดงผลงานของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการและผ่านการคัดเลือก โดยมี รองศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ และโฆษกกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธี
รองศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการและโฆษกกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า โครงการ “ไทยทะยาน” ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ดีสำหรับการทำงานที่ก่อให้เกิดการเป็นหุ้นส่วนภาคีความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งได้แก่ ภาครัฐ
โดยวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (TASSHA) ภาควิชาการ
โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และภาคเอกชน โดยผู้สนับสนุนและวิทยากรที่ได้เข้ามาร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากโดยใช้ศาสตร์ความรู้ทางวิชาการเข้าไปและเพิ่มมูลค่าให้กับศิลปวัฒนธรรมไทย ซึ่งสอดคล้องกับ เป้าหมายของอว.และรัฐบาล ในการใช้ฐานทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างนวัตกรรมต่อยอดให้เกิดเป็นโมเดลเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้กับประเทศไทยของเรา
นิทรรศการ “ไทยทะยาน” ถือเป็นการต่อยอดความสำเร็จของโครงการฯ ด้วยการนำผลงานของนักศึกษามาจัดแสดงเพื่อให้ทุกคนได้เห็นถึงศักยภาพของคนรุ่นใหม่ รวมถึงเห็นถึงภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของชาติไทยผ่านผลงานการสร้างสรรค์ต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคมจนสามารถนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ต่อไป
“ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมกันจัดโครงการ ไทยทะยาน ภายใต้แนวคิด ทะยานให้สร้างสรรค์ ปั้นไทยด้วยมือ GEN Z โดยหวังว่าโครงการ “ไทยทะยาน” จะเป็นอีกหนึ่งพลังที่ช่วยขับเคลื่อนคนรุ่นใหม่ให้กลับมาเชื่อมอดีตและสานต่ออนาคต พร้อมทั้งคิดและลงมือทำเพื่อรักษามรดกของชาติไว้ให้กับคนรุ่นต่อ ๆ ไป และเชื่อว่าพลังความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่จะทำให้ศิลปะวัฒนธรรมของไทยทะยานไปทั่วโลก”
ด้าน รศ.ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กล่าวว่า กิจกรรมการประกวดสุดยอดผลงานการสร้างมูลค่าเพิ่มทางมรดกวัฒนธรรมไทยด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากคนรุ่นใหม่ ภายใต้โครงการ “ไทยทะยาน” ในแนวคิด “ทะยานให้สร้างสรรค์ ปั้นไทยด้วยมือ GEN Z” จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาสามารถออกแบบ สร้างสรรค์นวัตกรรม ต่อยอดให้เกิดโมเดลเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่สามารถนำไปใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และมุ่งเน้นการส่งเสริมคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมไทย โดยได้รับความร่วมมือ อว, U2T,
ธัชชา และ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยตลอดระยะเวลาการรับสมัครมีนักศึกษาทั่วประเทศส่งผลงานเข้าประกวดรวมถึง 683 ผลงาน และมีผลงานที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากแต่ละสาขา ได้แก่
ผู้เข้าประกวดออกแบบเครื่องแต่งกายที่แสดงถึงความเป็นไทยร่วมสมัย 10 คน ,ผู้เข้าประกวดเครื่องประดับสะท้อน
อัตลักษณ์ไทยสู่สากล 10 คน ,ผู้เข้าประกวดสื่อจิตรกรรม ประติมากรรม และสื่อผสมที่แสดงออกถึงความเป็นไทย 10 คน และ ผู้เข้าประกวดภาพยนตร์โฆษณาเพื่อส่งเสริมความเป็นไทยสู่สายตาชาวโลก 5 กลุ่ม
โดยนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกได้เข้าร่วมกิจกรรม Camp hackathon ไทยทะยาน ในวันที่ 6 – 9 มีนาคม
ที่ผ่านมา เป็นเวลา 48 ชม. เพื่อรับการอบรม พัฒนา และสร้างสรรค์ผลงานประกวด พร้อมส่งผลงานที่ทำเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 26 มีนาคม 2565 ตามลำดับ โดยผู้ชนะเลิศในแต่ละประเภทการแข่งขัน จะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท
รองชนะเลิศ 20,000 บาท และ 10,000 บาท ตามลำดับ พร้อมโล่เกียรติยศ พร้อมนำผลงานของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการและผ่านเข้ารอบมาจัดแสดงนิทรรศการ “ไทยทะยาน” ณ อาคารอาเหนกป้าสงค์ ช่างชุ่ย ครีเอทีฟปาร์ค
เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของคนรุ่นใหม่ พร้อมเพิ่มมูลค่าของผลงานเชิงพาณิชย์ และมุ่งสู่ความเป็นสากลในระดับนานาชาติต่อไป