กรุงเทพฯ 2 สิงหาคม 2564 – วันนี้ องค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากล (Habitat for Humanity) แถลงว่า การประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 8 (8th Asia-Pacific Housing Forum) ภายใต้หัวข้อ “Building forward better for inclusive housing” จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 7 ถึง 9 ธันวาคม 2564 นับเป็นครั้งที่ 3 ที่มีการจัดการประชุมเกี่ยวกับบ้านและที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมที่ได้จัดขึ้นในประเทศไทย โดยการประชุมนี้จะจัดขึ้นในทุก ๆ 2 ปี ทั้งนี้ปัจจัยที่สำคัญในการพิจารณาเลือกประเทศไทยเป็นสถานที่จัดงานในปีนี้ คือ ประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลางทางยุทธศาสตร์ในการรวมตัวของกลุ่มนักพัฒนาชุมชนระดับนานาชาติในกรุงเทพฯ และองค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากลได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างบ้านและที่อยู่อาศัยในประเทศไทยเพื่อคนไทยมานานกว่า 23 ปี
“เป้าหมายของของงานประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกครั้งที่ 8 ในปีนี้ มุ่งเน้นถึงวิธีการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยแบบยั่งยืนและมีต้นทุนที่เหมาะสม โดยมีแนวทางที่ครอบคลุมถึงการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเสริมสร้างความปลอดภัย และความสามารถในการฟื้นฟูในด้านที่อยู่อาศัยของครอบครัวของผู้ด้อยโอกาสและผู้มีรายได้น้อย” ลูอิส โนดะ (Luis Noda) รองประธาน องค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กล่าว
ทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่ยังคงระบาดอยู่อย่างต่อเนื่อง วิกฤตด้านที่อยู่อาศัยจึงต้องเผชิญกับความท้าทายที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และทำให้เห็นได้ชัดว่าการมีที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย มั่นคงแข็งแรง และเพียงพอมีความสำคัญต่อทุกๆคนทั้งในด้านสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี หรือแม้กระทั่งการที่จะมีชีวิตอยู่รอดต่อไป
ผู้คนประมาณ 1.6 พันล้านคนทั่วโลกมีชีวิตอยู่โดยปราศจากที่พักอาศัยอย่างเหมาะสม ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประมาณหนึ่งในสามของคนเมืองอาศัยอยู่ในชุมชนแออัดหรือหลักแหล่งที่ไม่แตกต่างไปจากชุมชนแออัด ตัวอย่างเช่น ในประเทศไทย จำนวนประชากรที่อาศัยในชุมชนแออัดและคนจรจัดเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล คนไทยที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่มีจำนวนอยู่ที่ประมาณ 35.29 ล้านคนในปี 2562 (อ้างอิงจาก Statista.com) จากปี 2561-2562 อัตราความยากจนลดลงเหลือ 6.2% ตามข้อมูลของธนาคารโลก (World Bank) อย่างไรก็ตาม ในปี 2563 อัตราความยากจนกลับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 8.8% อันเนื่องมาจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19
วิทยากรในการประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยครั้งนี้ นำโดย ไมมูนาห์ โมห์ด ชาริฟ (Maimunah Mohd Sharif) กรรมการบริหารโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Settlements Programme: UN-HABITAT) และ โจนาธาน เรคฟอร์ด (Jonathan Reckford) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารขององค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากล (Habitat for Humanity International)
การประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกครั้งที่ 8 ร่วมจัดโดยองค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากลและโครงการ SWITCH-Asia ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (European Union: EU) นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรรายอื่น ๆ อีกด้วย การประชุมครั้งนี้จะเป็นการรวมตัวกันของเหล่าผู้นำในอุตสาหกรรม นวัตกร ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบาย ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อจุดประกายให้เกิดวิสัยทัศน์ใหม่ๆที่จะเพิ่มการครอบคลุมการใส่ใจในการดูแลสุขภาพ ตลอดจนการฟื้นฟูสภาพให้กับสังคมเมืองและชุมชนมากยิ่งขึ้น เวทีนี้จะทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มที่ประกอบไปด้วยหน่วยงานจากหลายภาคส่วนในการสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรที่มีแนวคิดทัศนคติแบบเดียวกันเพื่อสร้างผลในวงกว้างเพื่อให้เข้าถึงเทคโนโลยีต้นทุนต่ำในทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ความสำคัญของบ้านที่อยู่อาศัยในฐานะที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนในการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์จะเป็นหนึ่งในหัวข้อเสวนาใหญ่ในระหว่างการประชุม นอกจากนี้ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความมุ่งมั่นของชุมชนในภูมิภาคต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals) และริเริ่มโครงการที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งถือเป็นวาระแห่งชาติ (National Priorities)
การประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกที่ผ่านมามีผู้เข้าร่วมมากกว่า 7,200 คน นับตั้งแต่การประชุมครั้งแรกในปี 2550 โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิฮิลติ (Hilti Foundation) เวิร์ลพูล (Whirlpool) สำนักงานเพื่อการพัฒนาแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (Agence Française de Développement: AFD) และมูลนิธิซอมฟี (Somfy Foundation) รวมถึงพันธมิตรอื่น ๆ ได้แก่ UN-Habitat, Cities Alliance และบริษัท โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (Total Quality PR: TQPR)
การประชุมครั้งนี้จะจัดขึ้นในรูปแบบไฮบริด โดยมีการจำกัดคนเข้าร่วมงานจริง เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยตามมาตรการที่รัฐบาลกำหนด อย่างไรก็ตาม ด้วยจากสถานการณ์ของโรคระบาดโควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอน ผู้จัดงานจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยจะมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ภายใต้ภาวะวิกฤต (Pivot Strategy) โดยจะพัฒนาเป็นประสบการณ์การประชุมในรูปแบบเสมือนจริงหรือออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องจัดการประชุมออนไลน์แต่เพียงอย่างเดียว ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประชุม และติดตามกิจกรรมอื่น ๆ ได้ที่ aphousingforum.org
******
ข้อมูลเกี่ยวกับ องค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากล
องค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากล(Habitat for Humanity) เริ่มต้นในปี 2519 ด้วยความมุ่งมั่นเริ่มต้นตั้งแต่จากระดับรากหญ้า เติบโตมาสู่การกลายเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรชั้นนำระดับโลกที่มีสาขามากกว่า 70 ประเทศ ขับเคลื่อนด้วยวิสัยทัศน์ที่ว่าทุกคนต้องการที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม องค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากลได้สนับสนุนผู้คนนับหลายล้านในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมาตั้งแต่ปี 2526 เพื่อสร้างหรือพัฒนาสถานที่ที่พวกเขาสามารถเรียกได้ว่าบ้าน จากการช่วยเหลือทางด้านการเงิน การเป็นอาสาสมัคร หรือการเป็นกระบอกเสียงในการเรียกร้องหาการสนับสนุน ทำให้ทุกคนสามารถให้ช่วยเหลือกับหลายๆครอบครัว ให้ครอบครัวเหล่านั้นมีความเข้มแข็งมากขึ้น มีความมั่นคง และสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยที่พวกเขาจะสร้างและพัฒนาชีวิตของตนเองให้ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม บริจาค หรือต้องการร่วมเป็นอาสาสมัคร ได้ที่ habitat.org/asiapacific
เกี่ยวกับ โครงการ SWITCH-Asia ของสหภาพยุโรป
SWITCH-Asia เป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (European Union: EU) ที่ใหญ่ที่สุด เพื่อส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน (Sustainable Consumption and Production: SCP) โดยให้การสนับสนุนประเทศต่าง ๆ จำนวน 24 ประเทศในเอเชียและเอเชียกลาง โครงการ SWITCH-Asia ให้ทุนสนับสนุนโครงการต่าง ๆ กว่า 130 โครงการ ช่วยเหลือสนับสนุนพันธมิตรที่ไม่แสวงหาผลกำไรทั้งในเอเชียและยุโรปกว่า 500 ราย สมาคมภาคเอกชนต่าง ๆ ประมาณ 100 แห่ง รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Micro-entrepreneurs, Small and Medium-sized Enterprises: MSEMs) ในเอเชียจำนวน 80,000 ราย โครงการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนในทวีปเอเชีย (SCP Facility) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ SWITCH-Asia มีจุดมุ่งหมายคือเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินการตามนโยบาย SCP ในระดับชาติ อำนวยความสะดวกในการประสานงานของทุกภาคส่วนของโครงการผ่านการแบ่งปันข้อมูล นอกจากนี้ยังดำเนินการวิเคราะห์ผลของโครงการนำร่องต่าง ๆ ตลอดจนสนับสนุนการเจรจากับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
สื่อมวลชนกรุณาติดต่อ
เมธาวรินทร์ มณีกุลพันธ์ | +66-2260-5820 | mae@tqpr.com