ในฐานะผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) หัวเว่ยได้เผยโฉมโซลูชันทางรถไฟอัจฉริยะแห่งอนาคตที่ล้ำสมัยที่งานนิทรรศการขนส่งทางรางระดับเอเชียแปซิฟิก ประจำปี 2566 (Asia Pacific Rail 2023) ซึ่งเป็นอีเวนต์ที่ทรงอิทธิพลด้านทางรถไฟมากที่สุดในภูมิภาค ในฐานะผู้สนับสนุนระดับเพชรของงานนี้ หัวเว่ยได้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะส่งมอบระบบทางรถไฟอัจฉริยะ มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC)
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ 4.2 พันล้านคน (61% ของประชากรโลก) กำลังเป็นสักขีพยานถึงการขยายเขตเมืองอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้เกิดเสียงเรียกร้องบริการขนส่งที่ดีขึ้นเพิ่มมากขึ้น เป็นที่คาดกันว่าภายในปี 2573 ค่าใช้จ่ายด้านไอที (IT) ในระบบทางรถไฟจะแตะที่ 57.9 ล้านดอลลาร์ โดยมีการลงทุนเชิงรุกด้านการพัฒนาทางรถไฟในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ชาติต่าง ๆ ในภูมิภาคกำลังใช้ประโยชน์จากโซลูชัน ICT ใหม่ ๆ เพื่อสร้างรถไฟที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และทรงประสิทธิภาพมากขึ้น
“ด้วยประสบการณ์ในอุตสาหกรรมรถไฟกว่า 20 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของเราเมื่อไม่นานมานี้ หัวเว่ยได้กำหนดพันธกิจของเราในอุตสาหกรรมนี้อย่างชัดเจน นั่นคือ เพื่อพลิกโฉมการเชื่อมต่อ ก่อสร้างแพลตฟอร์มใหม่ และเปิดทางสู่ระบบอัจฉริยะ” คุณเซียง สี (Mr. Xiang Xi) รองประธานหน่วยธุรกิจการขนส่งระดับโลกของหัวเว่ย (Huawei Global Transportation BU) กล่าวระหว่างการปาฐกถา
อุตสาหกรรมรถไฟกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และหัวเว่ยได้ทุ่มเทเพื่อยกระดับความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านรถไฟและการบำรุงรักษา ด้วยโซลูชัน ICT ล่าสุด และด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลชั้นสูงต่าง ๆ เช่น การจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล, ระบบอัตโนมัติ, ปัญญาประดิษฐ์ (AI), แมชชีนเลิร์นนิง (Machine Learning), ระบบสื่อสารทางไกลทางรถไฟแห่งอนาคต (FRMCS), เอ็มเอสเอ็น (MSN), เครือข่ายสถานี, ที่เก็บข้อมูล และอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (IoT) หัวเว่ยกำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการ ใช้งาน และปรับปรุงภาพลักษณ์ของระบบขนส่ง หัวเว่ยมุ่งผลักดันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีโดยเน้นไปที่การบูรณาการการขนส่งในรูปแบบต่าง ๆ อย่างราบรื่นไร้รอยต่อ เช่นเดียวกับการบูรณาการกับด้านอื่น ๆ ของสังคม
“สถานีอัจฉริยะเป็นโซลูชันนวัตกรรมเพื่อยกระดับประสบการณ์ของผู้โดยสารและประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยตัวสถานีสามารถรวบรวมข้อมูลและสารสนเทศทั้งหมดจากทุกแอปพลิเคชันในสถานี โครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ชนิดใหม่คือรากฐานสำหรับสถานีอัจฉริยะ เราควรยกเลิกระบบ ICT ที่ทำงานแยกกัน อย่างเซิร์ฟเวอร์, ที่เก็บข้อมูล และเครือข่าย หรือแม้กระทั่งข้อมูลและอื่น ๆ แล้วแทนที่ด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยระบบคลาวด์” คุณสตีเวน สฺยง (Mr. Steven Xiong) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมรถไฟของกลุ่มธุรกิจหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ (Rail Industry of Huawei Enterprise BG)
หัวเว่ยใช้เทคโนโลยี ICT ล่าสุดเพื่อช่วยเหลือเมืองต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิกในการยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน สร้างแรงผลักดันใหม่สำหรับการพัฒนาเมืองและเอเชียแปซิฟิกดิจิทัลขึ้นมา โดยมุ่งเน้นไปที่การรับมือกับความท้าทายและโอกาสต่าง ๆ ที่สำคัญทั้งในระบบเส้นทางรถไฟสายสำคัญและรถไฟใต้ดิน
“ทุกวันนี้ ระบบทางรถไฟเกือบทั้งหมดยังคงดำเนินงานโดยใช้เครือข่ายแบนด์วิดท์ไร้สายความถี่แคบ สำหรับการส่งข้อมูลและการส่งสัญญาณบนราง เช่น จีเอสเอ็ม-อาร์ (GSM-R) หรือวิทยุสื่อสารภาคพื้นดิน (Tetra Radio) และเทคโนโลยีเหล่านี้ตกยุคไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วและไม่อาจรองรับความต้องการของระบบรถไฟอัจฉริยะได้ FRMCS คือระบบสื่อสารไร้สายตัวใหม่สำหรับทางรถไฟ ซึ่งใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 4G ที่เดิมทีมาจากผู้ให้บริการเครือข่าย เพื่อให้บริการรถไฟที่มีความน่าเชื่อถือและแบนด์วิดท์สูงสำหรับการเชื่อมต่อกับภาคพื้นดิน” คุณแจ็คกี เมียว (Mr. Jackie Miao) ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีขององค์กรการขนส่งประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย (Huawei Asia Pacific Enterprise Transportation Account Department)
งานนี้ หัวเว่ยได้แสดงแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดมากมายและโซลูชันต่าง ๆ ที่ล้ำหน้าของบริษัท เช่น แกนหลักด้านไอพี (IP) และการสื่อสารด้วยแสง (Optical communication) ซึ่งก่อตัวเป็นโครงสร้างของระบบทางรถไฟในอนาคต ระบบสื่อสารทางไกลทางรถไฟแห่งอนาคต (FRMCS) และไวไฟ 6 (Wi-Fi 6) ซึ่งช่วยสร้างการเชื่อมต่อบรอดแบนด์ไร้สายระหว่างรถไฟและภาคพื้นดิน ระบบไอทีอัจฉริยะ (Intelligent IT) ที่นำมาซึ่งประสบการณ์การทำงานร่วมกันรูปแบบใหม่และพื้นที่เก็บข้อมูลขั้นสูงด้วยเทคโนโลยีใหม่ของหัวเว่ยเพื่อต่อสู้กับแรนซัมแวร์ และโซลูชันสถานีอัจฉริยะซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและการซ่อมบำรุง (O&M) และประสบการณ์ของผู้โดยสาร
“เครือข่ายทางรถไฟสมัยใหม่ต้องการความปลอดภัยที่สูง แบนด์วิดท์ที่สูง และระบบอัตโนมัติอัจฉริยะ เทคโนโลยีออปติคัลอันเป็นนวัตกรรมใหม่ของหัวเว่ยจะมีส่วนช่วยให้เกิดการอัปเกรดอย่างง่ายดายและราบรื่น” คุณแพน ช็อค เต็ก (Pan Chock Teck) ผู้จัดการอาวุโสด้านโซลูชันทางรถไฟขององค์กรการขนส่งประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย (Huawei Asia Pacific Enterprise Transportation Railway Solution)
ในงานปีนี้ หัวเว่ยได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมระดับสูงร่วมกับเหล่าผู้นำทางความคิด ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายใหญ่ ลูกค้าคนสำคัญ และองค์กรที่มีอำนาจในภูมิภาค เพื่อสำรวจความก้าวหน้าที่อาจเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมรถไฟในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
หัวเว่ยได้จัดตั้งหน่วยธุรกิจการบินและรถไฟ (Aviation & Rail BU) ขึ้น ซึ่งคอยสำรวจการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของอุตสาหกรรมและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นไปที่สถานการณ์ต่าง ๆ ของอุตสาหกรรม ปัจจุบันหัวเว่ยให้บริการแก่สนามบินและสายการบินกว่า 130 แห่งทั่วโลก และทางรถไฟมากกว่า 300 สายในมากกว่า 70 เมือง และมีความยาวทางรถไฟรวมกันมากกว่า 150,000 กิโลเมตร
รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/2090459/Huawei_Asia_Pacific_Rail_2023.jpg