รายงานข่าวโดย Huanqiu.com
ในยุคแห่งความอัจฉริยะ ข้อมูลทำหน้าที่เป็น “สินทรัพย์หลัก” ในการขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ทั้งยังเป็นกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจในมณฑลกุ้ยโจว
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มณฑลกุ้ยโจวมีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่พิเศษขึ้นมาหลายแห่งสำหรับบริษัทชั้นนำอย่างไชน่า โมบาย (China Mobile), ไชน่า ยูนิคอม ( China Telecom), ไชน่า เทเลคอม (China Telecom), หัวเว่ย (Huawei), เทนเซ็นต์ (Tencent) และแอปเปิ้ล (Apple) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้าอย่างจริงจัง โดยที่องค์กรที่เกี่ยวข้องกับบิ๊กดาต้า อาทิ เอสกิน (Esgyn) แซดเค-วิชัน (ZK-Vision) และไพล็อต อินฟอร์เมชัน (Pilot Information) ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ก็ได้ปล่อยพลังขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่อง
บิ๊กดาต้าได้เข้ามาขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจของมณฑลกุ้ยโจวเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยข้อมูลทางสถิติแสดงให้เห็นว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยของมณฑลแห่งนี้อยู่ในระดับสูงสุดของประเทศจีนในช่วงเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี 2554-2564 โดยมีการเติบโตขึ้นถึง 248.8% และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของมณฑลกุ้ยโจวในปี 2565 อยู่ที่ 2.01646 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้น 7.060 หมื่นล้านหยวนจากระดับของปี 2564
ในปี 2565 มณฑลกุ้ยโจวได้กลายมาเป็นหนึ่งในโหนดศูนย์ประมวลผล (computing hub) ระดับชาติอย่างเป็นทางการในโครงการ “East Data & West Computing” และเมืองกุ้ยอันก็กลายเป็น 1 ใน 10 กลุ่มศูนย์ข้อมูลระดับชาติของจีน ในส่วนของการก่อสร้างเขตพัฒนานวัตกรรมเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น มณฑลกุ้ยโจวกำลังเร่งความเร็วในการดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลรุ่นใหม่ ๆ เช่น ศูนย์ข้อมูล เครือข่ายการประมวลผล และ 5G โดยมุ่งเน้นไปที่โครงการ “East Data & West Computing” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเค้าโครงอุตสาหกรรมของศูนย์ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
ในด้านศูนย์ข้อมูล ณ สิ้นเดือนมีนาคม มณฑลกุ้ยโจวมีศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่และใหญ่มากทั้งหมด 18 แห่งที่ตั้งอยู่ภายในมณฑล ในจำนวนนี้เป็นศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่มาก 8 แห่ง โดยความจุเซิร์ฟเวอร์รวมกันแล้วมากกว่า 2.25 ล้านเครื่อง และมีอัตราการโหลด (rack loading rate) สูงถึง 60.53%
ในแง่ของโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล ณ สิ้นเดือนมีนาคม มณฑลกุ้ยโจวได้ติดตั้งสถานีฐาน 5G แห่งใหม่ไปทั้งสิ้น 2,362 แห่ง โดยมีจำนวนสถานีฐาน 5G รวมทั้งหมดมากถึง 87,000 แห่ง และวางสายเคเบิลใยแก้วไปแล้ว 1.916 ล้านกิโลเมตร
เมื่อช่วงสิ้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ฐานประมวลผลหลักสำหรับเฟสแรกของโหนดศูนย์ประมวลผลระดับชาติ (กุ้ยโจว) ในเครือข่ายประมวลผลรวมแห่งชาติ (National Integrated Computing Network) ได้เข้าสู่ขั้นตอนของการแก้ไขข้อบกพร่องขั้นสุดท้ายและเตรียมที่จะเปิดใช้งานในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะกลายมาเป็นหน้าต่างของการส่งพลังการประมวลในมณฑลกุ้ยโจว พร้อมทั้งให้บริการประมวลผลคุณภาพสูงสำหรับองค์กรที่เกี่ยวข้องในมณฑล หรือแม้แต่ในพื้นที่ทั่วประเทศ
นอกจากนี้ มณฑลกุ้ยโจวยังให้การส่งเสริมโครงการสำคัญอีก 2 โครงการในเมืองใหม่กุ้ยอันควบคู่ไปด้วย ซึ่งได้แก่ ศูนย์ข้อมูลเน็ตอีส (NetEase Data Center) และศูนย์ข้อมูลคลาวด์ไมเดีย (Midea Cloud Data Center) ซึ่งทั้งสองโครงการใช้เงินลงทุนมากกว่า 1 พันล้านหยวน เพื่อจะมาช่วยเสริมศักยภาพการก่อสร้างโครงการ “East Data & West Computing” และวางรากฐานในการสนับสนุนการประมวลผลระดับชาติ
รากฐานการวางเค้าโครงอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้สถานการณ์การลงทุนของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในมณฑลกุ้ยโจวเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจากสำนักงานบิ๊กดาต้าของมณฑลกุ้ยโจว (Guizhou Big Data Bureau) ชี้ว่า ในไตรมาสแรกของปี 2566 มณฑลกุ้ยโจวมีการลงทุนในด้านบิ๊กดาต้าไปแล้ว 8.078 พันล้านหยวน รวมการลงทุนสำหรับโครงการ “East Data & West Computing” ที่ดำเนินการไปแล้วมูลค่า 1.499 พันล้านหยวน
มณฑลกุ้ยโจวเตรียมจัดกิจกรรม “ปีแห่งการก่อสร้างโครงการบิ๊กดาต้า” (Construction Year of Big Data Projects) ทุกพื้นที่ทั่วมณฑลในปีนี้ โดยตั้งเป้าจะทำให้โครงการลงทุน 2 หมื่นล้านหยวนในด้านบิ๊กดาต้าเสร็จสมบูรณ์ และเปิดตัวโครงการเศรษฐกิจดิจิทัลที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งให้ได้มากกว่า 200 โครงการ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล
รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/2084334/Tencent_Seven_Star_Data_Center_in_Guizhou_Source_IC_photo.jpg
คำบรรยายภาพ – ศูนย์ข้อมูลเทนเซ็นต์ เซเวน สตาร์ ในมณฑลกุ้ยโจว (ที่มา: IC photo)