ทีซีจีประกาศแผนสร้างมหาวิทยาลัยระดับโลกที่เน้นการวิจัยต่อยอด

เดินหน้าประกอบคอมพิวเตอร์ควอนตัมภาคเอกชนเครื่องแรกของอินเดีย โดยมุ่งส่งเสริมการวิจัยในโกลกาตา

กลุ่มบริษัททีซีจี (TCG) เตรียมสร้างมหาวิทยาลัยแบบพิเศษในเมืองโกลกาตา โดยทางกลุ่มบริษัท ภายใต้การนำของดร.ปูร์เนนดู จัตโตรจี (Purnendu Chatterjee) ได้ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุความปรารถนาของทางมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมการวิจัยระดับโลก กลุ่มบริษัททีซีจีได้จัดตั้งศูนย์การวิจัยต่อยอดในสาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐานขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมหาวิทยาลัยที่จะสร้างขึ้นใหม่นี้จะมีแนวคิดที่ไม่เหมือนใคร เพราะจะเน้นไปที่การวิจัยพื้นฐานเพื่อนำไปต่อยอดอย่างเต็มตัว

มหาวิทยาลัยแห่งนี้มุ่งเน้นที่การวิจัยร่วมกันในระดับโลก โดยจะมีคอมพิวเตอร์ควอนตัมของตัวเอง ซึ่งเป็นครั้งแรกจากภาคเอกชนในอินเดีย คอมพิวเตอร์เครื่องดังกล่าวมีขึ้นเพื่อช่วยในการวิจัยขั้นสูงในโกลกาตา กระบวนการติดตั้งที่ซับซ้อนได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว เมื่อดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบแล้ว โกลกาตาก็จะได้มีโอกาสก้าวนำเหนือผู้อื่นในด้านการริเริ่มทางวิชาการ

มหาวิทยาลัยแห่งใหม่นี้จะมีจุดมุ่งหมายเพื่อ

สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ดีเป็นอันดับต้น ๆ พร้อมส่งเสริมนักการศึกษาและนักวิจัยที่ดีที่สุดจากทั่วโลก เพื่อยกระดับวงการอุดมศึกษา การวิจัย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการให้คำปรึกษาด้านอุตสาหกรรม

พัฒนาเครือข่ายกับมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก ที่จะประสานความพยายามร่วมกันในด้านการศึกษาร่วมสมัยและการผลักดันด้านการวิจัย และนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขในระดับภูมิภาคและระดับโลก

ทำหน้าที่เป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นแกนหลักของภาควิชา ห้องปฏิบัติการวิจัย ศูนย์นวัตกรรม และศูนย์บ่มเพาะธุรกิจชั้นนำของโลก ซึ่งจะประสานงานและร่วมมือกันเพื่อเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน

ส่งเสริมความคล่องตัวและยืดหยุ่นในการออกแบบโปรแกรมและโครงสร้างการปฏิบัติงาน เพื่อให้ทันกับโลกแห่งความรู้ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกันก็รับประกันว่าจะปฏิบัติตามแนวทางการกำกับดูแล

ทางมหาวิทยาลัยได้กลับมาทำหน้าที่ศูนย์วิจัยทีซีจี เครสต์ (TCG CREST) แล้ว โดยมีนักวิชาการระดับปริญญาเอกที่ทำงานด้านเทคโนโลยีแนวหน้า ซึ่งกำลังทำงานในด้านคอมพิวเตอร์ควอนตัม ประสาทวิทยา วิทยาการเข้ารหัสลับ ความชาญฉลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล และพลังงานที่ยั่งยืน งานวิจัยนี้นำโดยนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ซึ่งได้เข้าร่วมโครงการริเริ่มจากสถาบันและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์ (UC Berkeley) ซึ่งมีชื่อเสียงจากความเป็นผู้นำในความพยายามด้านการวิจัยทั่วโลก พวกเขาทั้งหมดกำลังทำงานในแนวคิดที่ต่อยอดสู่การนำไปใช้ในอุตสาหกรรมได้

ในฐานะสถาบันที่ไม่แสวงหาผลกำไรแห่งหนึ่ง ทีซีจี เครสต์ ทุ่มเทให้กับหลักความรู้สามประการ ได้แก่ การสร้างความรู้ การประยุกต์ใช้ความรู้ และการเผยแพร่ความรู้ ให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่งด้วยศูนย์ความรู้ที่มีชื่อเสียงอย่างมากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย องค์กรระดับโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และชุมชนวิชาการ เป้าหมายคือการปลูกฝังวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนความรู้อย่างต่อเนื่อง ผ่านการวิจัย การแลกเปลี่ยนนักศึกษา การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ การทำโครงการร่วมกัน การประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกัน และการสัมมนาแบบมีส่วนร่วม

การวิจัยต่อยอดจะเป็นประเด็นสำคัญของมหาวิทยาลัยทีซีจี เครสต์ (TCG CREST University) ซึ่งคาดว่าจะสร้างโอกาสในการทำงานให้นักวิชาการด้านการวิจัยได้ปีละกว่า 200 คน โดยท้ายที่สุดคาดว่าแต่ละสาขาจะมีบุคลากรรวมกันกว่า 5,000 คน ศูนย์วิจัยเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของอีโคซิสเต็มนวัตกรรมระดับโลก โดยจะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเพื่อช่วยดูแลจัดการฐานทรัพย์สินทางปัญญา (IP) ที่มีศักยภาพนำไปต่อยอดทางธุรกิจและสร้างงานระดับสูงในรัฐได้ นอกจากนี้ยังจะช่วยเพิ่มเทคโนโลยีให้กับภาคเกษตร/บริการด้านอาหารในท้องถิ่น และส่งผลให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างมากในด้านโครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรม และภาครัฐ

สื่อมวลชนติดต่อได้ที่:
ศุภนา พาทัค (Suparna Pathak) – อีเมล: suparna@contentcrankers.com

โลโก้ – https://mma.prnewswire.com/media/1800906/TCG_Logo.jpg