ประกวดนางนพมาศ ปี ๒๕๖๔ วัดหัวกระบือ

ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับ “วันลอยกระทง” ประเพณีไทยที่สืบทอดกันมาอย่างช้านาน ในปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) ซึ่งมีการจัดงานและจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทั่วไทย โดย วัดหัวกระบือ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร  ได้ร่วมจัดงานดังกล่าวภายใต้ชื่อ “สืบสานประเพณีวัฒนธรรมทางสายน้ำ ลอยกระทง ๒๕๖๔” โดยมี ดร.พระครูวิบูลพัฒนกิตติ์ (สละ กตปุญโญ) เจ้าอาวาสวัดหัวกระบือ เป็นประธานจัดงาน ร่วมกับทีมกูรูนางงาม นำโดย กูรูหนุ่ม-นันท์นภัทร เจิมจุติธรรม,อิสริยาร์ อภิชัย มิสไทยแลนด์เวิลด์ ปี ๑๙๙๑,คุณคริส ปัญญา International Pageant Agency,คุณทรงสิทธา จันทรา ออแกไนเซอร์มือทอง,ดร.เมลิสา มหาพล มิสไทยแลนด์เวิลด์ ปี ๒๐๐๖,ดร.จุมพล โพธิสุวรรณ บรรณาธิการข่าว สำนักข่าวบางกอกทูเดย์,ดร.กัญฐณา สนเจริญ พีอาร์บันเทิง  และ คุณวชิรวิชญ์ ปิติศิริธนบูรณ์ ผู้บริหาร SETTAPICHPERFORMING ARTS ACADEMY  พร้อมผู้ร่วมให้การสนับสนุนหลายราย

โดยหนึ่งในกิจกรรมที่เป็นสีสันนั่นคือ การประกวดในประเภทต่าง ๆ ทั้งหนูน้อยนพมาศ (หญิงและชาย),นางนพมาศ,เทพบุตรเดือนเพ็ญ,นางนพมาศจำแลง และการประกวดกระทงจากวัสดุธรรมชาติ ซึ่งคณะกรรมการผู้ทรงวุฒิ ประกอบด้วย อาทิ  คุณอิสริยาร์ อภิชัย มิสไทยแลนด์เวิลด์ ปี ๑๙๙๑,ดร.เอกกฤต นารายณ์รักษา  ประธานองค์กรส่งเสริมอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย1,Hotin Author Lo นายแบบ,คุณกนกพร ชาวดร Mrs.Grand Prix ๒๐๑๙,คุณวชิรวิชญ์ ปิติศิริธนบูรณ์ SETTAPICHPERFORMING ARTS ACADEMY,คุณพีรดา รัชชากร Miss Tiffany’s Universe ๑๙๘๔,คุณชยเวศ สมวงศ์ รอง Miss LGBT Thailand ๒๐๑๙,คุณสมชัย รัตนวรางกูร CEO  T-Talent Star management ผู้อำนวยการกองประกวด Miss T-Star Thailandและ คุณกิ่ง ใจแกล้ว ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหัวกระบือ ดำเนินรายการโดย ดร.เมลิสา มหาพล มิสไทยแลนด์เวิลด์ ปี ๒๐๐๖ และ คุณสิทธิพลพร คุณชมภู

สำหรับผลการตัดสินการประกวดในประเภทต่าง ๆ  อาทิ นางสาวอธิชา เรนนี่ นางนพมาศ,นายเหมวัต หงส์สิบสอง เทพบุตรเดือนเพ็ญ และ ณภัสสร พรสุรัส นางนพมาศจำแลง,เด็กหญิงลภัสกร แพรวประเสริฐกุล หนูน้อยนพมาศฝ่ายหญิง,เด็กชายอัฑฒ์นนท์ แซ่ลิ้ม หนูน้อยนพมาศฝ่ายชาย และทีมคุณภควัต ชนะเลิศประกวดกระทง

จากการสอบถามผู้เข้าร่วมประกวดในประเภทต่าง ๆ รวมถึงผู้ปกครองที่ส่งบุตรหลานเข้าร่วมประกวดในงาน “สืบสานประเพณีวัฒนธรรมทางสายน้ำ ลอยกระทง ๒๕๖๔” ณ วัดหัวกระบือ เกี่ยวกับประเด็นประกวดแล้วได้อะไร  ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้คือ 

๑.ได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและสืบสานประเพณีวันลอยกระทง ที่มีมาแต่ช้านาน

๒.ได้เพิ่มโอกาสในการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

๓.ได้ทำการบ้านเกี่ยวกับเรื่องราวของวันกระทงลอย เพราะหากผ่านเข้ารอบลึก ๆ จะต้องตอบคำถามจากคณะกรรมการ

๔.ได้มีโอกาสแต่งชุดไทยแบบจัดเต็ม โดยเฉพาะผู้หญิงที่น้อยครั้งจะมีโอกาสได้สวมใส่ 

๕.ได้มีโอกาสประเมินศักยภาพในการเข้าร่วมประกวด ว่าการประกวดในครั้งนี้ตนเองมีข้อดีตรงไหน และข้อผิดพลาดที่ควรปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นตรงไหน

๖.ได้ฝึกความอดทนและอดกลั้น หรือที่เรียกกันว่า “วุฒิภาวะทางด้านอารมณ์” เนื่องจากการประกวดในงานวันลอยกระทง นิยมประกวดกันหลายประเภท ซ่งต้องใช้ระยะในการดำเนินงานนาน

๗.ได้รู้จักสถานที่จัดประกวด โดยเฉพาะวัดวาอารามต่าง ๆ ที่มีประวัติความเป็นมาแตกต่างกันไป อย่างเช่น วัดหัวกระบือสร้างกันตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย มีอายุยาวนานเรื่อยมาถึงปัจจุบันเกือบ ๓๐๐ ปีแล้ว 

๘.ถ้าหากสถานที่จัดงานเป็นวัด โดยส่วนใหญ่ผู้เข้าประกวดหรือคนรอบตัวผู้เข้าประกวด จะได้มีโอกาสร่วมทำบุญต่าง ๆ ของวัด เช่น ร่วมสร้างศาสนสถาน,ช่วยค่าน้ำค่าไฟ และ ไถ่ชีวิตโคกระบือ

๙.การมีโอกาสได้รู้จักเพื่อนใหม่ ๆ โดยถือว่า “ผูกมิตรดีกว่าสร้างศัตรู”

๑๐.การยอมรับความจริง รู้แพ้ รู้ชนะ (รู้อภัย) กับผลการตัดสินจากคณะกรรมการ ใบสมัครหลาย ๆมักจะมีข้อความหนึ่งในผู้เข้าประกวดหรือทีมงานได้เซ็นรับทราบนั่นคือ  “ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด” 

อย่างไรก็ตามการจัดงาน “สืบสานประเพณีวัฒนธรรมทางสายน้ำ ลอยกระทง ๒๕๖๔” ของวัดหัวกระบือในปีนี้นับว่าประสบความสำเร็จและบรรลุตามเป้าประสงค์ เนื่องจากได้รับความร่วมมือที่ดีจากทุกฝ่าย โดยให้ปีหน้าหากไม่มีเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ใด ๆ ทางวัดหัวกระบือ โดย ดร.พระครูวิบูลพัฒนกิตติ์ (สละ กตปุญโญ) เจ้าอาวาสวัด ยังคงเดินหน้าจัดงาน “สืบสานประเพณีวัฒนธรรมทางสายน้ำ ลอยกระทง” และกิจกรรมที่ดี ๆและสร้างสรรค์ต่อไป