คณะผู้แทนกระทรวงเกษตรบังกลาเทศเดินทางเยือนสหรัฐระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม – 5 พฤศจิกายน 2565 โดยได้รับการสนับสนุนจากคอตตอน เคาน์ซิล อินเตอร์เนชั่นแนล (Cotton Council International) พร้อมด้วยความพยายามที่สำคัญจากสำนักงานบริการด้านการเกษตรต่างประเทศ (FAS) สังกัดกระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA) ในกรุงธากา จนในที่สุด ก็สามารถโน้มน้าวให้รัฐบาลบังกลาเทศผ่อนปรนข้อกำหนดการรมยาที่บังคับใช้กับฝ้ายนำเข้าจากสหรัฐมายาวนานเกือบ 5 ทศวรรษ
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะขจัดอุปสรรคสำหรับการส่งออกฝ้ายของสหรัฐไปยังบังกลาเทศได้เป็นอย่างมาก ตลอดจนช่วยประหยัดเวลาและเงินของโรงงานในบังกลาเทศ เนื่องจากโรงงานเหล่านี้ต้องการให้สหรัฐเข้ามาเติมเต็มความต้องการนำเข้าเส้นใยฝ้าย อีกทั้งโรงงานในบังกลาเทศต้องจ่ายเงินกว่าล้านดอลลาร์ต่อปีเพื่อให้ครอบคลุมต้นทุนการรมยาที่ไม่จำเป็นสำหรับฝ้ายที่นำเข้าจากสหรัฐ
ผู้ส่งออกของสหรัฐจะยังคงใช้ใบรับรองสุขอนามัยพืชที่สร้างโดย APHIS ต่อไป แต่ภายใต้กฎระเบียบใหม่ ใบรับรองนี้จะมีข้อกำหนดเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่าไม่มีด้วงงวงเจาะสมอฝ้ายที่มีชีวิตอยู่ในฝ้ายมัดของสหรัฐ อีกทั้ง APHIS จะออกคำแนะนำฉบับแก้ไขสำหรับผู้ส่งออก
การตัดสินใจของกระทรวงเกษตรและพาณิชย์ของบังกลาเทศในการยกเลิกข้อกำหนดการรมยา มีขึ้นหลังจากที่สมาชิกคณะผู้แทนกระทรวงเกษตรของบังกลาเทศ 6 ท่านเดินทางเยือนสหรัฐเพื่อดูฝ้าย โดยการเดินทางครั้งนั้นได้รับการสนับสนุนจาก CCI ร่วมกับสภาฝ้ายแห่งชาติ (NCC) คณะผู้แทนฯ ได้รับรู้สาเหตุว่าทำไมจึงไม่มีด้วงงวงเจาะสมอฝ้ายที่มีชีวิตในฝ้ายมัดของสหรัฐ รวมทั้งการทบทวนโครงการกำจัดด้วงงวงเจาะสมอฝ้าย (Boll Weevil Eradication Program) ที่ประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมฝ้ายของสหรัฐ ตลอดจนเทคนิคการเก็บเกี่ยวฝ้ายที่ทันสมัยและกระบวนการหีบฝ้ายที่ได้มาตรฐาน
จากการวิเคราะห์ตลาดโลกของหน่วยงานบริการด้านการเกษตร สังกัดกระทรวงเกษตรสหรัฐ ในเดือนพฤษภาคม 2566 นั้น ปัจจุบันบังกลาเทศเป็นประเทศที่นำเข้าฝ้ายมากเป็นอันดับ 2 ของโลก แม้ว่าบังกลาเทศจะผลิตฝ้ายในประเทศได้บางส่วน แต่คิดเป็นจำนวนเพียงไม่ถึง 1% ของอุปสงค์ทั้งหมด
บังกลาเทศติดอันดับตลาดส่งออกฝ้าย 10 อันดับแรกของสหรัฐในปี 2565 โดยมีมูลค่าการส่งออก 477.07 ล้านดอลลาร์ (https://www.fas.usda.gov/regions/bangladesh)
คอตตอน เคาน์ซิล อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ ซีซีไอ (Cotton Council International หรือ CCI) คือสมาคมการค้าที่ไม่แสวงหาผลกำไรซึ่งมุ่งส่งเสริมเส้นใยฝ้ายสหรัฐอเมริกา รวมทั้งผลิตผลิตภัณฑ์ฝ้ายทั่วโลกภายใต้เครื่องหมายการค้า คอตตอน ยูเอสเอ (COTTON USA(TM)) การเข้าถึงของเราขยายไปกว่า 50 ประเทศผ่านสำนักงาน 20 แห่งทั่วโลก ด้วยประสบการณ์กว่า 65 ปี ซีซีไอมีพันธกิจในการทำให้ฝ้ายสหรัฐอเมริกาเป็นเส้นใยที่โรงงาน ผู้ผลิต แบรนด์ ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภคเลือกใช้ สร้างมูลค่าเพิ่มระดับพรีเมียมที่มอบความสามารถในการกำไรทั่วทั้งอุตสาหกรรมฝ้ายของสหรัฐ และผลักดันการเติบโตของการส่งออกเส้นใย เส้นด้าย และผลิตภัณฑ์จากฝ้ายอื่น ๆ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ cottonusa.org
โลโก้ – https://mma.prnewswire.com/media/2080013/CCI_Logo_Tagline_Lockup_R2_stacked_alt_blue_Logo.jpg