การแข่งขัน Microsoft AI for Accessibility Hackathon ประกาศทีมผู้ชนะประจำปี 2566 จากผลงานนวัตกรรมเพื่อความเท่าเทียมของทุกคนในเอเชียแปซิฟิก

สิงคโปร์ – Media OutReach – 3 กรกฎาคม 2566 – กิจกรรม Microsoft AI for Accessibility (AI4A) Hackathon ประจำปี 2566 เป็นการแข่งขันประจำปีที่ชวนทีมนักคิดจากทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมาหาแนวทางจัดการกับปัญหา และสร้างโซลูชันที่เพิ่มศักยภาพ เสริมโอกาสที่เท่าเทียมมากยิ่งขึ้นสำหรับผู้พิการ โดยในปีนี้ มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 119 ทีมจากมหาวิทยาลัยในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ศรีลังกา ไทย และเวียดนาม มาร่วมกันสร้างแอปพลิเคชันที่จัดการกับปัญหาและความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตของผู้พิการ

คำบรรยายภาพ: ทีม Prambanan จากมหาวิทยาลัย Telkom ในอินโดนีเซียที่งาน Microsoft AI for Accessibility Hackathon ประจำปี 2566
คำบรรยายภาพ: ทีม Prambanan จากมหาวิทยาลัย Telkom ในอินโดนีเซียที่งาน Microsoft AI for Accessibility Hackathon ประจำปี 2566

ทีม Prambanan จากมหาวิทยาลัย Telkom ประเทศอินโดนีเซีย ได้พัฒนา Katakan AI (ซึ่งแปลว่า ‘Say AI’ ในภาษาบาฮาซาอินโดนีเซีย) ซึ่งเป็นโซลูชันหนึ่งเดียวที่ช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาทางการได้ยินสามารถสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทีมงานได้ออกแบบแอปพลิเคชันเดสก์ท็อปและแพลตฟอร์มมือถือแบบสแตนด์อโลน รวมถึงปลั๊กอินของเบราว์เซอร์สำหรับเครื่องมือการประชุมเสมือนอื่น ๆ ผ่านการผสานรวมกับฟีเจอร์ของ Azure Cognitive Services, Microsoft Translator และช่องแชท AI โซลูชันแบบครบวงจรนี้มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ผู้พิการทำงานได้คล่องแคล่วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในสภาพแวดล้อมแบบไฮบริด

ส่วนตัวแทนจากประเทศฟิลิปปินส์ ทีม Cognitics จาก Lyceum of the Philippines University – Batangas ได้คิดค้นสมาร์ตแบนด์ [ที่สวมข้อมือ] เพื่อจัดการให้ยากับผู้ป่วยได้ผ่านเทคโนโลยีไซโคเมตริกที่ทำงานผสานกับ AI โดยสมาร์ตแบนด์นี้สามารถตรวจจับเหตุฉุกเฉินและจัดการให้ยาที่จำเป็นกับผู้ป่วยได้ทันที

ทีม A-EYE จาก Universiti Teknologi Malaysia ได้พัฒนาต้นแบบแอปพลิเคชันเพื่อช่วยให้ผู้เดินเท้าที่มีความบกพร่องทางสายตาสามารถข้ามถนนและเดินทางได้อย่างปลอดภัย โดยแอปต้นแบบนี้ใช้ Azure Custom Vision มาแจ้งเตือนให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาไม่ชนกับสิ่งกีดขวางขณะเดินทาง

ทีม WRAP จากสถาบันคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ได้พัฒนา NAVI ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันนำทางที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาเดินทางได้อย่างมั่นใจ NAVI นำเสนอทิศทางด้วยเสียงและใช้เทคโนโลยี AI เพื่อตรวจจับสิ่งกีดขวางและเครื่องหมายบนถนนแบบเรียลไทม์ผ่านกล้องของสมาร์ตโฟน ยิ่งไปกว่านั้น แอปพลิเคชันนี้ยังรองรับคำสั่งด้วยเสียงเพื่อการควบคุมที่สะดวก ทั้งยังใช้งานง่ายด้วยจอแสดงผลขนาดใหญ่และระบบเสียงตอบรับสำหรับทุกคำสั่ง เพื่อให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาใช้งานได้สะดวก

ทีม Hear Me สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งศรีลังกา ได้เปิดตัว Hear Me ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้ AR สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน แพลตฟอร์มแบบอินเทอร์แอคทีฟนี้มอบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ ซึ่งจะช่วยเสริมทักษะการสื่อสารและพัฒนาการทางความคิด และนำเป็นตัวช่วยที่มีประโยชน์ในด้านการเรียนรู้สำหรับเด็กที่สื่อสารผ่านภาษามือ

สำหรับประเทศไทย ทีม DEVA จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นำเสนอ Neon ซึ่งเป็น AI ที่ช่วยให้ผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็นสามารถสร้างและนำเสนอสไลด์พรีเซนเทชั่นได้ด้วยตนเอง ซึ่งนับเป็นแนวคิดที่นำเทคโนโลยีมายกระดับคุณภาพชีวิตและการพึ่งพาตนเองของผู้พิการกลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี

ทีม ATP จาก Royal Melbourne Institute of Technology ในเวียดนาม ได้เปิดตัว AI SpeechCompanion ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีอาการพูดติดอ่าง โซลูชันนี้จะมอบประสบการณ์ที่ปรับแต่งมาให้เหมาะกับความสามารถของแต่ละคน โดยให้พวกเขาจดบันทึก ฝึกพูด และได้รับกำลังใจในการเรียนรู้ที่จะแสดงออกอย่างมั่นใจ ซึ่งจะทำให้พวกเขามีศักยภาพมากขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวัน

Pratima Amonkar ประธานด้านความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่าง (D&I) และบริการเพื่อการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียมของไมโครซอฟท์ เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า ‘ด้วยจำนวนผู้พิการที่มากกว่า 1.3 พันล้านคนทั่วโลก และ 690 ล้านคนในเอเชียแปซิฟิก การเข้าถึงเทคโนโลยีจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน AI ที่เข้าถึงความแตกต่างของผู้คนจะช่วยให้บุคคลทุพพลภาพเป็นส่วนหนึ่งในสังคมอย่างเต็มที่ในแง่มุมต่างๆ ของชีวิต ได้แก่ การศึกษา การจ้างงาน และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม พร้อมทั้งส่งเสริมโอกาสที่เท่าเทียมกัน ลดอคติ และทำลายความไม่เท่าเทียมกันอย่างเป็นระบบ ฉันภูมิใจมากที่ได้เห็นผู้ประกอบการและนักพัฒนารุ่นต่อไปยอมรับความแตกต่างผ่านโครงการต่าง ๆ อย่างเช่น Microsoft AI for Accessibility Hackathon เรามั่นใจว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จ ทุ่มเท และได้รับประโยชน์จากศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงของ AI’

โจทย์ในการแข่งขัน ก่อนก้าวสู่รางวัลชนะเลิศในกิจกรรม Hackathon

องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร 6 องค์กรจาก 7 ประเทศต่างตั้งโจทย์ให้นักศึกษาที่เข้าแข่งขันนำไปเสาะหาข้อมูลเพิ่มเติม โดยแต่ละทีมสามารถสร้างนวัตกรรมโซลูชันและแอปพลิเคชันผ่าน AI บน Microsoft Azure และนำเสนอต่อคณะกรรมการตัดสิน ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์จากหลากหลายสาขา ทั้งในด้านเทคนิคและด้านอื่นๆ ทีมที่จะชนะในแต่ละประเทศต้องนำเสนอถึงความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับการเข้าถึงบริการ แนวคิดที่แตกต่างและไม่ซ้ำใคร และเต็มใจที่จะสร้างคุณค่าให้กับคนพิการ นอกจากนี้ แต่ละทีมยังต้องแสดงให้เห็นถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากแต่ละแนวคิด รวมถึง โมเดลธุรกิจและแผนการทำตลาดของแต่ละโซลูชันอีกด้วย

โจทย์ในการแข่งขันแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ใหญ่ๆ ได้แก่ ชีวิตประจำวัน การจ้างงาน การสื่อสาร และการศึกษา โดยแต่ละหมวดหมู่ล้วนมีความเกี่ยวโยงที่ชัดเจนกับสถานการณ์จริงที่ผู้พิการต้องเผชิญ ความท้าทายในชีวิตประจำวัน ได้แก่ สิ่งกีดขวางผู้พิการทางการมองเห็นตรวจหาไม่เจอ การใช้เครื่องคิดเงินอัตโนมัติ แอปพลิเคชันดิจิทัล อุปกรณ์ทำอาหาร และการดูแลตัวอง ในหมวดหมู่การจ้างงาน ที่มาของปัญหา ได้แก่ การหางานที่เหมาะสม การฝึกอบรม การประเมิน การสัมภาษณ์ และการนำทางในที่ทำงาน ในหมวดหมู่การสื่อสาร นักเรียนต้องหาวิธีอธิบายถึงการแสดงออกทางสีหน้าในการประชุมทางวิดีโอ อรรถบำบัดบำบัดแบบอัตโนมัติ และในหมวดหมู่การศึกษา จะช่วยเหลือให้ชุมชนในชนบทสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้

เกี่ยวกับไมโครซอฟท์
เกี่ยวกับไมโครซอฟท์
ไมโครซอฟท์ (Nasdaq “MSFT” @Microsoft) เป็นผู้ร่วมขับเคลื่อนการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัลในยุคแห่งคลาวด์อัจฉริยะที่ผสานกับนวัตกรรมชาญฉลาดในทุกหนแห่ง ภายใต้พันธกิจของการเป็นกำลังสำคัญให้ทุกคนและทุกองค์กรบนโลกใบนี้ได้บรรลุผลสำเร็จทีดียิ่งกว่า