Lazada

CCTV+: “ฝูโจว” แดนศิวิไลซ์ริมแม่น้ำฝูเหอ

นครฝูโจว ซึ่งในอดีตเคยได้รับการเรียกขานว่า “หลินฉวน” โด่งดังในฐานะ “บ้านของนักปราชญ์และแหล่งกำเนิดของวัฒนธรรม” โดยมีเหล่านักปราชญ์และปรมาจารย์มากพรสวรรค์ที่มีชื่อเสียงขจรขจายทั้งในประเทศจีนและต่างประเทศ ก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมหลินฉวนที่หยั่งรากลึกและสะท้อนผ่านบุคคลที่มีชื่อเสียง การศึกษาที่เจริญรุ่งเรือง และศิลปะที่เฟื่องฟู

ฝูโจวเป็นบ้านเกิดของบุคคลสำคัญมากมาย โดยผู้ที่มีชื่อเสียงมากเป็นพิเศษประกอบด้วย เหยียน ซู (Yan Shu) กวีชื่อดังในสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ, หวัง อันฉือ (Wang Anshi) นักปฏิรูปผู้ยิ่งใหญ่, เจิง กง (Zeng Gong) ปรมาจารย์ด้านการนิพนธ์, ลู่ จิวหยวน (Lu Jiuyuan) ปรมาจารย์ด้านปรัชญาจิตในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ และถัง เซียนซู (Tang Xianzu) ปรมาจารย์ด้านการนิพนธ์อุปรากรจีนในสมัยรางวงศ์หมิง

ฝูโจวยังมีชื่อเสียงด้านการแพทย์แผนจีนโบราณ นับตั้งแต่มีการก่อตั้งโรงเรียนแพทย์ซูเจียง (Xujiang Medicine) ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่โรงเรียนแพทย์ชั้นนำในสมัยโบราณ โดยมีเฉิน จื่อหมิง (Chen Ziming) และเว่ย อี้หลิน (Wei Yilin) เป็นบุคคลสำคัญด้านการแพทย์

ฝูโจวเป็นแหล่งกำเนิดลัทธิขงจื๊อใหม่ โดยลู่ จิวหยวน นักปรัชญาและนักการศึกษาในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ ได้คิดค้นหลักปรัชญาจิตและก่อตั้งโรงเรียน “จิตจักรวาล” (Universal Mind) นอกจากนี้ อู่ เฉิง (Wu Cheng) นักปรัชญาขงจื๊อใหม่และนักการศึกษาในสมัยปลายราชวงศ์ซ่งและต้นราชวงศ์หยวน ซึ่งได้รับการขนานนามว่า “อู่จากใต้และสวี่จากเหนือ” ร่วมกับสวี่ เหิง (Xu Heng) ได้ก่อตั้ง “โรงเรียนเฉาลู่” (Caolu School) ขึ้นมา โดยเฉียน มู่ (Qian Mu) นักปรัชญาชื่อดัง ได้ยกย่องว่าเขาเป็นปรมาจารย์เพียงหนึ่งเดียวหลังจากจู ซี (Zhu Xi) นักปรัชญาขงจื๊อสมัยราชวงศ์ซ่ง

ฝูโจวเป็นแหล่งกำเนิดของอุปรากรจีน โดยถัง เซียนซู ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ปรมาจารย์อุปรากรจีน” และ “เชกสเปียร์แห่งโลกตะวันออก” นอกจากนี้ การแสดงระบำหน้ากากหนานเฟิง เถียวนั่ว (Nanfeng Tiaonuo), กว่างชาง เหมิงซี (Guangchang Mengxi), อี้หวง-ซี (Yihuang-xi), เล่ออัน นั่วอู่ (Le’an Nuowu), หลินฉวน ไช่ชา-ซี (Linchuan Caicha-xi) รวมถึงการแสดงระบำพื้นเมืองและอุปรากรต่าง ๆ ยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ

ในสมัยปลายราชวงศ์ถังและยุคห้าราชวงศ์ วัฒนธรรมเซนเจริญรุ่งเรืองและมีการสร้างวัดมากมายในฝูโจว จนได้รับการขนานนามว่า “ศูนย์กลางนิกายเซนของโลก” ในสมัยนั้น โดยนิกายเซนหลายสายได้ถือกำเนิดและพัฒนาขึ้นที่ฝูโจว

ฝูโจวเป็นต้นกำเนิดของเจ้าแม่มั่วโกว หรือ หม่ากู (Magu) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความมีอายุยืนยาวตามความเชื่อของจีนโบราณ โดยอำเภอหนานเฉิงในฝูโจวได้รับการเรียกขานว่า “ต้นกำเนิดของวัฒนธรรมหม่ากูในจีน” นอกจากนี้ เหยียน เจินชิง (Yan Zhenqing) นักคัดลายมือผู้ยิ่งใหญ่ ยังได้จดจารึกและสร้าง “แท่นบูชาภูเขาหม่ากู” ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นการจารึกอักษรบรรจง (Regular Script) ครั้งแรกของโลก

รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1944874/Civilized_Linchuan_Fuhe_River.jpg
คำบรรยายภาพ – “ฝูโจว” แดนศิวิไลซ์ริมแม่น้ำฝูเหอ

CCTV01.jpg