Lazada

เมืองกุ้ยหยาง มณฑลกุ้ยโจว ประกาศยุทธศาสตร์เปิดรับยุคดิจิทัล มุ่งใช้เทคโนโลยียกระดับคุณภาพชีวิต

คณะกรรมการผู้จัดมหกรรมอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้าจีน (China International Big Data Industry Expo Executive Committee) ประจำปี 2566 เปิดเผยว่า เมืองกุ้ยหยางพร้อมส่งเสริมการผสานรวมและนำบิ๊กดาต้าไปใช้ประโยชน์ เพื่อเร่งการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม โดยทุกวันนี้มีเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ขณะที่คุณภาพชีวิตของพลเมืองก็ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

เดินทางอย่างชาญฉลาด เยี่ยมชมได้ทั้งเมือง

หลิน เหลียง (Lin Liang) หนุ่มจีนรายหนึ่ง ได้ขึ้นรถเมล์ไฟฟ้าสาย 73 ที่ป้ายรถเมล์บนถนนซือเฟิงในเมืองกุ้ยหยาง และกล่าวถึงความสะดวกสบายในการชำระเงินว่า “หยิบมือถือออกมา เปิดแอปกุ้ยโจว ตง (Guizhou Tong) ขึ้นรถเมล์ สแกนโค้ด และจ่ายเงินด้วยตี้ (di) ได้เลย”

หลิว ซิน (Liu Xin) มักเปิดแอปกุ้ยหยาง สมาร์ต ปาร์คกิง (Guiyang Smart Parking) ก่อนออกเดินทางจนติดเป็นนิสัย เพื่อเช็คหาที่จอดรถใกล้ ๆ กับจุดที่จะไป โดยกล่าวว่า “คุณก็แค่ยกมือถือขึ้นมาเช็คสถานะของที่จอดรถแต่ละจุด ทั้งยังเช็คที่จอดว่างและค่าจอดได้ด้วย”

มือถือในมือ คลิกเดียวก็จ่ายเสร็จ

หวัง เมี่ยว (Wang Miao) ในเขตหยุนหยาน กล่าวว่า “ห้องอ่านหนังสือที่ใช้เทคโนโลยีบริการแทนคนแห่งนี้ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ยืมและซื้อหนังสือได้สะดวกสบายมาก”

หวัง หยิน (Wang Yin) ผู้ที่รับผิดชอบเบื้องหลังห้องอ่านหนังสือแห่งนี้ เปิดเผยว่า ห้องอ่านหนังสือแห่งนี้ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ เพราะมีฟังก์ชันและบริการแบบเดียวกับร้านหนังสือทั่วไป โดยเป็นแพลตฟอร์มบริการตนเองที่นำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) คลาวด์คอมพิวติง การสื่อสารด้วยอินเทอร์เน็ต การตรวจสอบติดตามจากทางไกล และเทคโนโลยีอื่น ๆ มารวมกัน เพื่อเปิดโอกาสในการแบ่งปันทรัพยากรและข้อมูลต่าง ๆ กับร้านหนังสือในมณฑลกุ้ยโจว สร้างร้านหนังสือในบ้านที่ผู้อ่านหาหนังสืออ่านและซื้อบริการได้ด้วยตนเอง

การชำระเงินเพียงคลิกเดียวได้กลายเป็นที่นิยมในเมืองกุ้ยหยาง

ในซูเปอร์มาร์เก็ตและห้างขนาดใหญ่นั้น เคาน์เตอร์ชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวนเพิ่มขึ้นจนแซงช่องชำระเงินแบบเดิมแล้ว โดยเจ้า นานา (Zhao Nana) ชาวจีนในพื้นที่ กล่าวว่า “จ่ายเงินเร็ว ไม่ต้องรอคิวนาน ตัวเลือกที่ดี อิสระที่มากกว่าเดิม! ช่องชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ทำให้การบริโภคเป็นเรื่องที่สะดวกกว่าเดิมมาก”

โรงพยาบาลแม่และเด็กกุ้ยหยาง (Guiyang Maternal and Children Hospital) มีบัญชีสาธารณะให้ได้คลิกดู โดยเมื่อเลือกเมนูลงทะเบียนผู้ป่วยนอกแล้ว ก็จะเห็นข้อมูลการขึ้นทะเบียนของแพทย์ทั้งหมดในโรงพยาบาลแห่งนี้ รวมถึงสาขาที่เชี่ยวชาญด้วย โดยหยาง เสี่ยวจวน (Yang Xiaojuan) กล่าวว่า “การเลือกแพทย์และเวลาปรึกษาแพทย์ด้วยตนเองนั้นช่วยประหยัดเวลาได้อย่างมาก”

กุ้ยหยางเมืองดิจิทัล บริหารธุรกิจได้ผ่านสมาร์ตโฟน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กุ้ยหยางได้ส่งเสริมการสร้าง “กุ้ยหยางเมืองดิจิทัล” (Digital intelligence Guiyang) มาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้บริหารจัดการบริการต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน เช่น ประกันสังคม ประกันสุขภาพ การศึกษา น้ำ ไฟฟ้า ก๊าซ และการสื่อสาร ได้ผ่านสมาร์ตโฟน ช่วยให้ชาวกุ้ยหยางเสียเวลาน้อยลง ปล่อยให้ข้อมูลทำงานแทน

ที่มา: คณะกรรมการผู้จัดมหกรรมอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้าจีน ประจำปี 2566

ลิงก์ภาพประกอบข่าว:

ลิงก์: https://iop.asianetnews.net/view-attachment?attach-id=440077

คำบรรยายภาพ: เด็ก ๆ เล่นปาร์กัวร์ โดยอาศัยเทคโนโลยีตรวจจับการเคลื่อนไหว

Guiyang_1.jpg

ข่าวประชาสัมพันธ์ถูกโพสต์ โดย: Media123

ทางเวป krapalm.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหาข่าว และการเขียนข่าวหรือโพสต์ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ เว็บเป็นเพียงสื่อกลาง ที่เปิดให้เจ้าของข่าวประชาสัมพันธ์หรือตัวแทนโดยชอบธรรมได้โพสต์ด้วยตัวเอง หากข่าวมีความผิดพลาด หรือต้องการให้ลบ สามารถแจ้งทีมงานได้