Lazada

“หัวเว่ย” เสนอโมเดล “หนึ่งคลาวด์ หนึ่งเครือข่าย บวกบริการสาธารณะ” เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแห่งชาติ

ระหว่างการประชุมหัวข้อ “ปลดปล่อยพลังแห่งดิจิทัล เร่งการเปลี่ยนแปลงบริการสาธารณะ” (Unleash Digital, Accelerating Public Services Transformation) ที่งานหัวเว่ย คอนเนกต์ ประจำปี 2565 หรือ HUAWEI CONNECT 2022 ในกรุงเทพฯ หัวเว่ยได้ให้ความสำคัญกับสถานการณ์ทางอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในภาครัฐ การรับมือเหตุฉุกเฉิน การศึกษา และการดูแลสุขภาพ พร้อมเสนอโมเดล “หนึ่งคลาวด์ หนึ่งเครือข่าย บวกบริการสาธารณะ” (One Cloud, One Network + Public Services) เพื่อช่วยรัฐบาลสร้างรากฐานดิจิทัลแห่งชาติ ส่งเสริมการสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแห่งชาติ และเร่งการเปลี่ยนแปลงบริการสาธารณะ

ในยุคดิจิทัล ประชาคมโลกจะมุ่งเน้นไปที่การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล และส่งเสริมการสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล โดยคุณไซมอน โจว (Simon Zhou) รองประธานแผนกโซลูชันสาธารณะของหัวเว่ย กล่าวว่า “การขึ้นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลระดับประเทศเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลในระดับชาติ”

การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จของประเทศและรัฐบาล ถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการปรับปรุงความสามารถด้านบริการสาธารณะ โดยคุณโก๊ะ ฮง เอง (KOH HONG ENG) หัวหน้านักวิทยาศาสตร์แผนกโซลูชันสาธารณะของหัวเว่ย กล่าวว่า “ข้อมูลคือ ‘น้ำมันดิบ’ ในยุคใหม่ ที่จำเป็นต้องได้รับการขัดเกลาและสร้างขึ้น เพื่อช่วยให้บริการของรัฐบาลเป็นไปในเชิงรุก เฉพาะบุคคล และยึดผู้คนเป็นศูนย์กลาง”

ระหว่างการประชุม หัวเว่ยได้นำเสนอ 4 โซลูชันสำหรับสถานการณ์ต่าง ๆ โดยในด้านรัฐบาล โซลูชันโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแห่งชาติได้ถูกออกแบบมาเพื่อลูกค้าภาครัฐ โดยหัวเว่ยได้ใช้ความสามารถด้านไอซีทีที่ครอบคลุมในการประสานเครือข่ายคลาวด์ เพื่อสนับสนุนการประมวลผลขั้นพื้นฐานและบริการเครือข่ายความเร็วสูง เพื่อให้บริการดิจิทัลมีความครอบคลุมและรัฐบาลกำกับดูแลได้สอดประสานกัน ด้วยเป้าหมายในการ “เพิ่มประสิทธิภาพของฐานรากและกรุยทาง”

ในด้านการศึกษา โซลูชันเครือข่ายวิทยาเขตที่สอดประสานกัน (Converged Campus Network) ได้อธิบายถึงการใช้ “วิทยาเขตไร้สาย เครือข่ายวิทยาเขตแบบครบวงจร และการปฏิบัติการและบำรุงรักษา (O&M) อัจฉริยะ” เพื่อสนับสนุนนวัตกรรมการสอนและการวิจัยที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังมุ่งเป้าไปที่การปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดการวิทยาเขต และเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในแวดวงการศึกษา ส่วนโซลูชันห้องเรียนอัจฉริยะใช้หัวเว่ย ไอเดียฮับ (Huawei IdeaHub) เป็นทางเข้า และทำงานร่วมกับพันธมิตร เพื่อมอบประสบการณ์การสอนแบบออนไลน์และออฟไลน์ที่เป็นนวัตกรรม

ในด้านการดูแลสุขภาพอัจฉริยะ โซลูชันถ่ายภาพทางการแพทย์แบบออลออปติคอล (All-Optical Medical Imaging) ที่อาศัยประโยชน์จากความสามารถด้าน E2E ICT ของหัวเว่ย จะสร้างโซลูชันโดยรวมที่ประกอบด้วย “พื้นที่โรงพยาบาลแบบออลออปติคอล + ศูนย์ข้อมูลแอคทีฟ-แอคทีฟ + อีวิวเวอร์ (eViewer)” เพื่อลดความหน่วงในการอ่านภาพ และอ่านภาพได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที ในด้านการรับมือเหตุฉุกเฉินนั้น โซลูชันรับมือเหตุฉุกเฉินอัจฉริยะ (Smart Emergency Response) ใช้ศูนย์บัญชาการแบบสอดประสาน และเครือข่ายบรอดแบนด์ฉุกเฉิน eLTE เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับมือเหตุฉุกเฉิน และรองรับการสื่อสารฉุกเฉินข้ามแผนกและหลายบริการ และยังเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ช่วยตรวจจับและจัดการกับวิกฤตฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ทันที รวมทั้งปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของผู้คน

TH.jpg