Lazada

หัวเว่ยจัดการประชุมสุดยอด “โกลบอล เรล ซัมมิต” ประจำปี 2565 ที่กรุงเทพฯ

หัวเว่ย (Huawei) จัดการประชุมสุดยอดโกลบอล เรล ซัมมิต (Global Rail Summit) ประจำปี 2565 โดยรวมผู้นำในอุตสาหกรรม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก ลูกค้ารายสำคัญ และองค์กรที่มีอำนาจ ร่วมหารือเกี่ยวกับอนาคตของอุตสาหกรรมรถไฟในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การประชุมสุดยอดนี้มุ่งหวังที่จะกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลขององค์กรการรถไฟในภูมิภาคและทั่วโลก โดยหัวเว่ยมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศล่าสุดมาใช้ เพื่อช่วยเมืองต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน สร้างแรงผลักดันใหม่สำหรับการพัฒนาชุมชนเมืองและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในรูปแบบดิจิทัล

การประชุมสุดยอดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมเอเชีย แปซิฟิก เรล (Asia Pacific Rail) ประจำปี 2565 โดยจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “การขับเคลื่อนระบบดิจิทัลในรางแห่งอนาคตเพื่อสร้างมูลค่าใหม่ร่วมกัน” การประชุมเอเชีย แปซิฟิก เรล เป็นงานที่มีมาอย่างยาวนานในภูมิภาคนี้ เป็นตัวกลางในการรวบรวมผู้นำในอุตสาหกรรมกว่า 25,000 รายตลอดช่วง 23 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ หัวเว่ยยังมีการออกบูธในงานนี้ เพื่อนำเสนอกลุ่มผลิตภัณฑ์โซลูชันอุตสาหกรรมรถไฟที่ทันสมัยของหัวเว่ยเอง

แอรอน หวัง (Aaron Wang) รองประธานอาวุโสกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย กล่าวว่า “ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชันเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำระดับโลก หัวเว่ยขอนำเสนอโซลูชันรางรถไฟอัจฉริยะและรถไฟภายในเมืองด้วยสถาปัตยกรรมบริการเต็มรูปแบบ โดยอิงจากการเชื่อมต่อที่หลากหลายและแพลตฟอร์มดิจิทัลแบบรวมศูนย์ ก่อให้เกิดระบบรางรถไฟดิจิทัลและระบบธุรกิจอัจฉริยะ”

เซียง สี่ (Xiang Xi) รองประธานหน่วยธุรกิจการขนส่งทั่วโลกของหัวเว่ย กล่าวว่า “เราเห็นการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของระบบดิจิทัลในการขนส่งทางรถไฟ ทั้งรางรถไฟและรถไฟในเมืองต่างเปลี่ยนจากระบบเฉพาะสถานีไปสู่การใช้โครงสร้างพื้นฐานระบบรางบนคลาวด์เพื่อเชื่อมต่อบริการต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการผลักดันสู่ระบบที่ชาญฉลาดและบูรณาการมากขึ้น ซึ่งเราคาดการณ์ว่าจะมีการขยายตัวในระดับใหญ่ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่หัวเว่ยได้ริเริ่มการออกแบบและเปิดตัวโซลูชันที่ครอบคลุมสำหรับอุตสาหกรรมแล้ว”

การประชุมสุดยอดโกลบอล เรล ซัมมิต ประจำปี 2565 มีวาระต่าง ๆ มากมาย ทั้งนวัตกรรม การทำให้เป็นระบบดิจิทัล และการขนส่งทางรถไฟที่รองรับอนาคต

หลี่ จงเห่า (Li Zhonghao) ผู้อำนวยการสมาคมรถไฟใต้ดินแห่งประเทศจีน ได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ของจีนเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับระบบรถไฟใต้ดิน ขณะที่การรถไฟแห่งประเทศไทยและซีอาร์เอสซี อินเทอร์เนชันแนล (CRSC International) ได้ร่วมพิจารณากลยุทธ์ในการปรับรูปแบบการเชื่อมต่อ การนำนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ และการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารที่แข็งแกร่งสำหรับทางรถไฟ

นอกจากนี้ การประชุมสุดยอดโกลบอล เรล ซัมมิต ยังได้เปิดตัวสมุดปกขาวว่าด้วยระบบการสื่อสารเคลื่อนที่สำหรับรถไฟแห่งอนาคต (FRMCS) โดยกล่าวถึงแนวโน้มล่าสุดและแนวปฏิบัติใหม่ ๆ ในระบบการสื่อสารเคลื่อนที่สำหรับระบบรถไฟและรถไฟใต้ดิน มุ่งเป้าไปที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจและผู้นำในอุตสาหกรรม พร้อมสรุปเทคโนโลยีที่โดดเด่นที่สุดบางส่วนในอุตสาหกรรม รวมถึงแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการปรับใช้โซลูชันการสื่อสารระดับแนวหน้า

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้แบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดหลายประการ และร่วมจัดแสดงโซลูชันของตนที่บูธภายในงานเอเชีย แปซิฟิก เรล โดยหนึ่งในไฮไลท์คือโซลูชันเครือข่ายสื่อสารไวไฟ 6 ของรถไฟภายในเมืองแบบยานพาหนะสู่ภาคพื้นดิน (Urban Rail Wi-Fi 6 Vehicle-to-Ground Communication Network) โซลูชันนี้ช่วยให้ส่งข้อมูลแบบเกือบเรียลไทม์สำหรับการขนส่งทางราง เครือข่ายการสื่อสารระหว่างยานพาหนะสู่ภาคพื้นดินนี้เป็นวิธีการใหม่ในการแบ่งปันข้อมูล รับรองความปลอดภัย และส่งเสริมประสิทธิภาพของรถไฟ รถไฟสามารถสื่อสารกับสถานีและศูนย์บัญชาการได้แม้วิ่งด้วยความเร็วสูง ขจัดความล่าช้าในการรับส่งข้อมูลได้เกือบทั้งหมด

การประชุมสุดยอดนี้แสดงให้เห็นถึงฉันทามติของอุตสาหกรรม เกี่ยวกับความจำเป็นในการเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างรวดเร็ว หัวเว่ยตั้งตารอที่จะร่วมมือกับลูกค้าในอุตสาหกรรมและพันธมิตรในระบบนิเวศ นำเสนอโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่เป็นนวัตกรรมใหม่ เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมการขนส่งทางรางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล โซลูชันรางอัจฉริยะคาร์บอนต่ำของหัวเว่ยนำเสนอความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมการพัฒนาเมือง และสร้างมูลค่าใหม่ให้แก่อุตสาหกรรมเพื่อสร้างเมืองดิจิทัลร่วมกัน

ดาวน์โหลดเอกสารสมุดปกขาว FRMCS ได้ที่: https://e.huawei.com/en/material/wireless/ab9bbc5ad15144bca82e16c6059d823d

รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1816779/image_986294_34652236.jpg

1.jpg