Lazada

บทความ : Data Driven Business

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดบรรยายพิเศษ Soft Skill โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ด้าน IT (NON DEGREE), RE SKILL- UP SKILL รุ่นที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ณ ห้อง Auditorium 1 อาคาร 40 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษ คือ ดร.ธรรม์ธีร์ สุกโชติรัตน์ (เรือบิน) CEO JIB Digital Consult และประธานกรรมการบริหาร U Legal Drive จำกัด บรรยายในหัวข้อ “Data Driven Business” พอสรุปประมวลความได้ ดังนี้:
ดร.ธรรม์ธีร์ สุกโชติรัตน์ จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทุนศึกษาต่อปริญญาเอกด้าน Data Science ที่มหาวิทยาลัยเท็กซัส เมืองอาลิงตัน สหรัฐอเมริกา มีประสบการณ์ทำงานใน Seattle Silicon Valley และเป็นที่ปรึกษาอยู่ในสหรัฐอเมริการวม 10 ปี ต่อมาได้ย้ายกลับมาประเทศไทยเป็นที่ปรึกษาหลายหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง (www.itax.in.th) ดร. ธรรม์ธีร์เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิก Fintech หลายบริษัทในประเทศไทย และเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง 4 ฟินเทคชั้นนำได้แก่ iTAX, Noon, Wealth Inc.,และ JIB Digital Consult และในปัจจุบันยังอยู่เบื้องหลังของความสำเร็จของบริษัท Fintech ต่างๆ อีกหลายบริษัท ดร.ธรรมธีร์ ได้เล่าต่อไปว่า ด้วยปัจจุบันบริษัทต่างๆ ถูก Disrupt ไปมากมาย เช่น สื่อ เป็นต้น ในยุคที่ไวรัส COVID-19 ระบาดนี้ มีตัวอย่างเพื่อนคนหนึ่งเขา Live สด เล่นดนตรีออกสื่อ โดยไม่ต้องไปแสดง ณ สถานที่จริง อย่างนี้ก็จัดเป็น Digital Transformation การจัดกิจกรรมต่างๆ สามารถ Transform ผ่าน แอปพลิเคชัน Zoom ได้ “กิจกรรมใด ที่ไม่ต้องเจอตัวกันสามารถ Transform ได้หมด” เช่น e-Commerce หรือกิจกรรม Events ต่างๆ อุตสาหกรรมการแพทย์ ในช่วงที่ไวรัส COVID-19 ระบาดหนักนี้ ก็ได้รับผลกระทบ โรงพยาบาลคนก็มาน้อยลง สมัยก่อนคนไปโรงพยาบาลกันมาก เดี๋ยวนี้คนไปโรงพยาบาลก็ลดลง และเกิด Platform ใหม่ๆ ขึ้นมาเรียกว่า Telemedicine ไม่ต้องมีการจับตัวกัน เจ็บป่วยเล็กๆ น้อย ก็ไม่จำเป็นไปหาหมอ ก็ใช้เทคโนโลยี Telemedicine แทน ทางบริษัท JIB ก็พยายามทำเช่นกัน ในช่วงไวรัส COVID-19 ระบาดนี้ บริษัท JIB มียอดขายเพิ่มขึ้นมาก เช่น ตัวที่ช่วยยกของจากชั้นวางสินค้า (Self) ก็ใช้หุ่นยนต์ไปช่วยหยิบของให้ว่าจะให้ไปหยิบช่องไหน สินค้าเบอร์หมายเลขอะไร ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถทำได้รวดเร็วกว่าคนทำมาก
การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) มีองค์ประกอบหลายอย่างที่ต้องนำมาช่วยในกระบวนการทำงาน ได้แก่ (1). คน (People) คนต้องมีความรู้ความเข้าใจ มี Mindset พร้อมที่เรียนรู้ มี Skill ที่ดี ที่จะทำงานร่วมกันและมีความสนุกกับการทำงาน (2). เทคโนโลยี (Technology) จะใช้ Platform อะไร ปัจจุบันเทคโนโลยี Advance ไปถึงระดับ AI ซึ่งจะประกอบไปด้วย Hardware, Software และ algorithms (3). ข้อมูล (Data) “AI จะฉลาดแค่ไหน ก็ต้องกินดาต้าเป็นอาหาร” หัวใจของเทคโนโลยี ถ้ามีเงินก็สามารถซื้อได้ แต่ Data ซื้อไม่ได้ (Data บางอย่างหาซื้อไม่ได้ ต้องเก็บเอง) ถ้าเป็นข้อมูลสถิติก็อาจหาซื้อได้ แต่ Data บางอย่างหาไม่ได้ Data เป็นหัวใจของ Digital Transformation ข้อมูลที่สำคัญคือ ข้อมูลของลุกค้า และนำมาข้อมูลมาใช้และทำการวิเคราะห์ ทำให้เกิด Business Model ที่ดี สิ่งที่บริษัทต่างคิดกันก็คือ “ความสามารถในการแข่งขัน สามารถแข่งขันในตลาดได้ มีประสิทธิภาพ” ลูกค้าเอาระบบของเราไปใช้แล้วต้องเกิดความพึงพอใจ การที่จะเข้าใจลูกค้าได้นั้น ต้องมีข้อมูลทั้งหมด
ข้อมูลขับเคลื่อนองค์กร (Data Drive Organization) องค์กรสามารถขับเคลื่อนไปได้ด้วยข้อมูล เริ่มจาก Mindset คือ คน ให้เต็มไปด้วยพื้นฐานข้อมูล ก่อนทุกการตัดสินใจ ต้องรู้ว่า พื้นฐานของข้อมูลคืออะไร มีสถิติอะไร มีตัวเลขอะไรรองรับหรือไม่ การตั้งคำถามเป็นสิ่งสำคัญของ Data Driven คำถามต้องครบถ้วนทุกด้าน เพราะมีส่วนช่วยในการตัดสินใจอย่างยิ่ง เช่น จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ คำถามที่เราเคยได้ยินคือ Test และ Startup ส่วนใหญ่ต้องผ่านการ Test สำหรับ Startup มี 2 อย่างคือ: (1). Startup ที่เกิดขึ้นเอง (2). Startup ที่เกิดจาก Corporate เช่น บริษัท JIB ก่อนจะทำการ Test ต้องมี Design การทำ Test มีทั้งทำแบบราคาถูก และราคาแพง การทำ Report อย่าเพิ่ง Fix แต่ถ้าเป็นคำถามที่พบบ่อยๆ ก็อาจพอทำได้ การ Drive Organization ทำให้เป็นธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence: BI) อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ คือ Facebook เราสามารถ Set ได้หมดเลยว่าจะเอาใคร อายุเท่าไร Personalize แบบนี้มีอยู่ใน Facebook เช่น 1 แสนคน และเราสามารถกำหนดงบประมาณได้เลยว่าจะใช้งบประมาณเท่าไร ทำให้ Target ของเราชัดเจนมากยิ่งขึ้น และมีประสิทธิภาพ ต่อมา คือ Pro-Action คือ การรู้ใจเขาว่าเขาต้องการอะไร เช่น การมีสินค้าให้กับลูกค้าและให้เขาคลิกดู และสามารถสอบถามเขา ซึ่งจะทำให้ลูกค้าเขามองว่าใส่ใจเขา ดังนั้น Customer Experience สำคัญมาก และเป็น Keyword คำหนึ่ง เช่น การ Refund เงินคืน เช่น บัตรเครดิต เขา charged ผิด Pro-Action ต้องบอกเขาว่า สินค้าจะถูกส่งมาถึงบ้านกี่วัน หรือเราบอกลูกค้าว่า สินค้าจะล่าช้าไป 3 วัน ลูกค้าก็จะมีความรู้สึกที่ดี
เมื่อเรามี Data แล้วเราก็สามารถลด Cost หรือต้นทุนได้ และเราก็สามารถ Focus ลูกค้าได้ เช่น Netflix เขาก็ทำ Data เวลาเราเข้าไป เราจะเห็นภาพยนตร์ไม่เหมือนกัน และจะมี Re-comment ต่างๆ ว่าครั้งต่อไปจะดูภาพยนตร์เรื่องอะไร ภายในนั้นคือ Data ล้วน ๆ การวางคำ การวางตำแหน่งโฆษณาก็มีผลต่อการซื้อ Conversion คือ การที่คนคลิกแล้วซื้อสินค้า เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เราก็ควรจะรู้ว่าจะวางโปสเตอร์แบบไหน ในยุคนี้ เรื่องของ Data ไม่ต้องทำคนเดียว ตัวอย่างของ Netflix เขาก็มี Partner เป็นพวกเกี่ยวกับเกม “การประชุม ทำให้เสียเวลา” เวลาประชุม ถ้าไม่เกี่ยวกับเรา ก็ยกเอาเครื่องคอมพิวเตอร์มานั่งทำงานได้เลย Netflix ทำการประมูลราคา (Bid) Keyword ด้วยเงิน จำนวน 1 ล้านเหรียญสหรัฐ
Facebook ทำเงินจาก Data จำนวนมหาศาล Facebook รู้ใจเรา ส่วน Google Plus ได้ล้มเลิกไป เพราะว่าไม่ประสบความสำเร็จ เรื่องของการทำ Data นั้น การใช้ Big Data จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 250% Data เป็นเหมือนน้ำมัน เช่นเดียวกับการขุดน้ำมันขึ้นมาใช้ เริ่มต้นด้วยการใช้ Hardware และ Software ไม่ว่าจะเป็น Amazon, Google และ Facebook ล้วนใช้ Data ทั้งสิ้น เมื่อทำ Data แล้ว ค้นหาอะไรก็เจอ ดังนั้น การเรียงโฆษณาก็สำคัญมาก การค้นหาอะไรก็เจอ Google ทำ SEO คือ จำลองว่า คนค้นหาอะไรก็เจอ เพราะเขามี Data ส่วน Amazon ค้นหาสินค้าอะไรก็เจอ เพราะ Data เป็น Value หาอะไรก็เจอ บริษัท Microsoft ก็ทำ Cloud เกือบทุกองค์กรเดี๋ยวนี้มีทำ Data Transform และ Data คือน้ำมันและน้ำมันเมื่อขุดทุกนาที ล้วนมีวันหมด แต่ข้อมูลขุดแล้วไม่มีวันหมด สมัยก่อนใช้เวลานานมาก เดี๋ยวนี้ใช้เวลาเพียงวันเดียว เช่น Facebook ใน 1 นาที มีคนเข้ามา 1 ล้านคน ส่วน Netflix ใน 1 นาที มีคนเข้ามา 6 แสนกว่าคนที่เข้ามาชมภาพยนตร์
สิ่งที่สำคัญในการทำธุรกิจ คือ เรื่องของทิศทางแนวโน้ม (Trend) ในปี ค.ศ.2019 Netflix มีคนเข้ามาชมภาพยนตร์ เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า ต่อมาในปี ค.ศ.2020 Twitter มาแรงมาก สำหรับ Trend ใหม่ในตอนนี้ก็คือ TikTok ตนเองดูแล้วประทับใจมาก คิดได้อย่างไร Data เกิดขึ้นมา เราสามารถดุดเอามาใช้ได้หมด อยู่ที่ว่า ดูดเอาไปทำอะไร Big Data จะประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน คือ (1). Volume ปริมาณข้อมูลมาก (2). Variety ความหลากหลาย คือ แบบมีโครงสร้าง (Structure) เช่น CRM, ERP และแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructure) เช่น Social ถ้าองค์กรไหนไม่เอา Unstructure มาใช้ 90:10 นั่นคือโอกาส และ (3). Velocity ความรวดเร็ว หรือ Realtime สามารถดุได้บ่อยๆ Take Active ได้เร็ว เช่น JIB มีข้อมูลดูได้แบบ Realtime เมื่อพนักงานคนไหนมี Performance ผิดก็จะมีขึ้นตัวหนังสือสีแดง เพราะว่าการดูแลลูกค้าหน้างานสำคัญมาก ต้องใช้ Customer Service ให้มากๆ แต่ก็มีบางบริษัทไม่ Realtime ไม่สามารถจะแข่งขันกับเขาได้ และขอเพิ่มอีก 2 V. คือ (4). Value คุณค่า การทำ Value ที่ดีต้องสามารถ Justify ได้ และ (5). Veracity ความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งจะช่วยทำให้ช่วยการตัดสินใจที่ถูกได้อย่างดีด้วย.
บทความ โดย ผศ.สุพล พรหมมาพันธุ์
อาจารย์ที่ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม